FORGOT YOUR DETAILS?

บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วัตถุมงคลที่เสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีต่างๆ เป็นปฐมฤกษ์ ๑๒. วัตถุมงคลชุด ภ.ป.ร. สร้างศาลาพระราชศรัทธา วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร พ.ศ. ๒๕๓๕ วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๓๓ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ไปทรงประกอบพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินที่วัดปทุมวนาราม ก่อนเสด็จฯ มายังลานปฏิบัติธรรมที่สร้างขึ้นชั่วคราว Post Views: 622
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วัตถุมงคลที่เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีต่างๆ เป็นปฐมฤกษ์ ๙. พระกริ่ง พระชัยวัฒน์พระพุทธนวราชบพิตร วัดตรีทศเทพวรวิหาร พ.ศ. ๒๕๓๐ ในกาลมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบพระนักษัตร ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ คณะกรรมการวัดตรีทศเทพ ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตหล่อจำลอง “พระพุทธนวราชบพิตร” ขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง ๖๑x๙ นิ้ว เพื่อประดิษฐานเป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถที่สร้างใหม่ พร้อมทั้งได้ขอพระบรมราชานุญาตจัดสร้าง “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์พระพุทธนวราชบพิตร” เพื่อสมนาคุณแก่ผู้บริจาคทรัพย์ร่วมสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ Post Views: 926
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ๕. เหรียญพระไพรีพินาศและพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เหรียญกำลังแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๑๙ “เหรียญพระไพรีพินาศ” และ “พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้น “เหรียญพระไพรีพินาศ” พระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ และอาสาสมัครรักษาดินแดน ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันประเทศชาติ ส่วน “พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” สำหรับพระราชทานแก่หน่วยทหาร เพื่อเป็นที่เคารพสักการะของทหาร ณ ฐานที่ตั้ง Post Views: 370
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วัตถุมงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีต่างๆ เป็นปฐมฤกษ์ ยังมีอีกหลายรุ่นด้วยกัน มีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้ ๑. พระพุทธรูป ภ.ป.ร. พระกริ่ง ภ.ป.ร. เหรียญพระบรมรูปทรงพระผนวช ครั้งที่ ๒ และวัตถุมงคลพระผงและเหรียญพระรูปเหมือนสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พ.ศ. ๒๕๑๕ Post Views: 408
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วัตถุมงคลอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ตอนที่ ๒ ๕. “เหรียญพระรูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)” จัดสร้างเป็น ๒ แบบด้วยกัน คือ ขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒.๔ ซ.ม. และขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕ ซ.ม. โดยอาจารย์สนั่น ศิลากร เป็นผู้ออกแบบ มอบให้กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ เป็นผู้ผลิต สำหรับเหรียญทั้งสองขนาดนี้มีเนื้อทองคำ ขนาดละ ๑,๐๐๐ เหรียญ เนื้อเงิน ขนาดละ ๒,๕๑๔ เหรียญ และเนื้อทองแดง ขนาดละ ๘๔,๐๐๐ เหรียญ Post Views: 451
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วัตถุมงคลอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ตอนที่ ๑ “วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร” หรือ “วัดระฆังฯ” ตั้งอยู่ฝั่งธนบุรี ตรงข้ามกับท่าช้างวังหลวง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ เป็นวัดเก่าแก่สร้าง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ “วัดบางว้าใหญ่” ในอดีต สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงปฏิสังขรณ์และยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกซึ่งอัญเชิญมาจากนครศรีธรรมราชขึ้นที่วัดแห่งนี้ Post Views: 547
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ๒๕๑๕ (ตอนที่ ๒) ซึ่งการดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคลนั้น คณะกรรมการ ประกอบด้วย “สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ทิม)” เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระธรรมปาโมกข์” เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ พล.อ.ประภาส จารุเสถียร รองหัวหน้าคณะปฏิวัติในขณะนั้น เป็นประธานฝ่ายฆราวาส Post Views: 441
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ๒๕๑๕ (ตอนที่ ๑) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนสราญรมย์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ ใกล้กับทำเนียบองคมนตรี เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามโบราณราชประเพณี และเพื่ออุทิศถวายแด่พระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ พร้อมทั้งทรงรับเข้าอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ สืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ Post Views: 330
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วัตถุมงคลฉลอง ๑๐๐ ปี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ตอนที่ ๒ ๔. พระชัยวัฒน์จุฬาลงกรณ์ สร้างรูปแบบเดียวกับพระกริ่งจุฬาลงกรณ์ทุกประการ ตอกโค้ดรูปอุณาโลม ตอกไว้ที่ใต้ฐาน มีขนาดเล็กกว่าพระกริ่ง แต่ไม่บรรจุเม็ดกริ่ง จัดสร้างจำนวน ๕,๐๐๐ องค์ ด้วยเนื้อนวโลหะเพียงเนื้อเดียว Post Views: 492
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วัตถุมงคลฉลอง ๑๐๐ ปี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ตอนที่ ๑ ธรรมเนียมหนึ่งของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ การสถาปนาพระอารามประจำรัชกาล เพื่อฉลองพระราชศรัทธาและถือเป็นการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา Post Views: 331
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วัตถุมงคลฉลอง ๑๐๐ ปี วัดมกุฏกษัตริยาราม (ตอนที่ ๒) พระกริ่งวชิรมงกุฎ พุทธลักษณะเป็นศิลปะประยุกต์ ผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและอินเดีย มีทั้งปางมารวิชัยและปางประทานพร แบ่งออกเป็น ๓ ขนาด คือ Post Views: 518
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วัตถุมงคลฉลอง ๑๐๐ ปี วัดมกุฏกษัตริยาราม (ตอนที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๑๑ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก มีอายุนับตั้งแต่การสถาปนาพระอาราม เวียนมาบรรจบครบ ๑๐๐ ปี วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๑๑ ประกอบกับสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (จวน อุฏฐายี) ทรงเจริญพระชนมายุ ๗๐ พรรษา ในวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๑๑ Post Views: 286
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร” หรือ “วัดโพธิ์” เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย และเป็นวัดประจำรัชกาลในรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี Post Views: 497
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ พระสมเด็จจิตรลดา พระกำลังแผ่นดิน “พระสมเด็จจิตรลดา” หรือ “พระกำลังแผ่นดิน” เป็นพระเครื่องที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสร้างด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง พระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และพลเรือน ในช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๑๓ “พระดีที่มีคุณค่าไม่ต่างจากเพชร” ใครๆ ก็อยากได้มีไว้ในครอบครอง ที่เป็นขวัญกำลังใจ มหามิ่งมงคลของพสกนิกรไทยทั้งประเทศ Post Views: 228
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ เหรียญทรงผนวช ปี ๒๕๐๘ วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๐๘ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล พระชนมายุเสมอสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก โดยทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการกุศล ๔ อย่าง อันเรียกว่า “จาตุรงคมงคล” Post Views: 275
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา:  ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ พระพุทธรูป ภ.ป.ร. และพระกริ่ง ภ.ป.ร. วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. ๒๕๐๘ หนังสือ “จาตุรงค มงคล” วัดบวรนิเวศวิหาร โดยเสด็จพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในมหามงคลสมัยพระชนมายุเสมอด้วยสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๐๘ ตั้งแต่หน้า ๒๐๓-๒๐๔ และหน้า ๑๐๖-๒๐๗ มีใจความว่า … Post Views: 299
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา:  ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ พระพุทธรูป ภปร รุ่นแรก (กฐินต้น) พ.ศ. ๒๕๐๖ วัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เป็นพระอารามหลวงที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และเป็นวัดที่เก่าแก่วัดหนึ่งที่มีอายุเกินกว่า ๑๐๐ ปี อีกทั้งมีความสำคัญต่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ เป็น สามเณรเจริญ คชวัตร กระทั่งได้ย้ายมาประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร Post Views: 197
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา:  ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ พระพุทธรูปฉลอง ๗๒ ปี โรงพยาบาลศิริราช พ.ศ. ๒๕๐๕ ย้อนหลังกลับไปในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ โรงพยาบาลศิริราช ได้จัดสร้างพระพุทธรูปฉลอง ๗๒ ปี โรงพยาบาลศิริราช พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย ที่มีความงดงามบริสุทธิ์ เป็นพระพุทธรูปนั่ง ปางประทานพร อันเป็นสิริมงคล มีความหมายว่า “พระพุทธรูปแห่งความสุขสบายใจ” และประทานพรให้แก่ผู้สักการบูชา Post Views: 326
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา:  ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ พระเครื่องฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ พระพุทธศาสนายุกาลล่วงพ้นเป็นเวลา ๒,๕๐๐ ปี นับตั้งแต่พุทธปรินิพพาน หรือการเสด็จดับขันธปรินิพพานของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือเดือนวิสาขะ ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ รัฐบาลสมัยนั้น นำโดย จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้จัดงานเฉลิมฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ รวมทั้งการก่อสร้างพุทธมณฑล อ.ศาลายา จ.นครปฐม พร้อมด้วยพระประธานแห่งพุทธมณฑล ตลอดไปจนถึง “วัตถุมงคล ๒๕ พุทธศตวรรษ” Post Views: 338
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา:  ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ พระบูชาพระพุทธชินสีห์และเหรียญพระพุทธชินสีห์ใบมะขาม ฉลองพระชนมายุครบ ๗ รอบ ๘๔ พรรษา สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ในงานบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชนมายุครบ ๗ รอบ ๘๔ พรรษา สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ระหว่างวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ได้บันทึกไว้ในหนังสือตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร สมัยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงครองวัด หน้า ๑๐๙ ความว่า … Post Views: 256
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา:  ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ พระกริ่ง ๗ รอบ วัดบวรนิเวศวิหาร ฉลองพระชนมายุ ๗ รอบ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ หนังสือ “ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร” ได้บันทึกไว้ว่า … “พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองหล่อ“ พระกริ่ง ๗ รอบ” หรือ “พระกริ่งพระพุทธชินสีห์” แทนพระองค์ “สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก” ผู้เป็นสมเด็จพระบรมราชอุปัชฌายาจารย์ เนื่องจากทรงพระประชวร Post Views: 320
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา:  ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ประเทศไทยเมื่อครั้งยังเป็นราชอาณาจักรสยาม ตั้งแต่ครั้ง กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี ตราบมาจนถึง กรุงรัตนโกสินทร์ มีความผูกพันกับพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง Post Views: 371
TOP