FORGOT YOUR DETAILS?

บันทึกเพื่อศึกษา

บทความเกี่ยวกับพระเครื่องและวัตถุมงคล บันทึกไว้เพื่อการศึกษา บางบทความคัดลอกมาจากเว็บไซต์และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ บทความใดที่นำมาลงเผยแพร่โดยมิได้แจ้งให้ผู้เขียนหรือเจ้าของสิทธิ์ทราบก่อน แอดมินต้องกราบขออภัย และขออนุญาตคัดลอกมาเผยแพร่ต่อด้วยนะครับ

บทความเกี่ยวกับพระเครื่อง และของสะสมเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์

บทความเกี่ยวกับพระเครื่องและวัตถุมงคล ของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ

บทความเกี่ยวกับพระเครื่องและวัตถุมงคล ของเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์

◎ ชาติภูมิ “หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร” หรือ “สําเร็จแก้ว” เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๐ ปี ฉลู ที่บ้านกุศกร อําเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องรวมท้อง ๔ คน หญิง ๒ คน ชาย ๒ คน สําเร็จแก้ว (หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร) เป็นลูกชายคนสุดท้อง บิดาชื่อ นายแก้ว หรือ จานแก้ว มารดาชื่อ นางสีดา นามสกุล อ่อนจันทึก
ความรักความศรัทธากลายมาเป็นของสะสมที่มีคุณค่าทางใจ นักธุรกิจหนุ่มใหญ่ด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาพอสมควร จนมาอยู่ในจุดที่มีความเจริญก้าวหน้าทางธุรกิจ วิสิษฐ กอวรกุล ประธานบริหาร บริษัทในเครือ JW Group บริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งคอนโดมิเนียม อาคารพาณิชย์ บ้านเดี่ยว และปีหน้าเขากำลังจะเปิดโรงแรมย่านดอนเมืองอีกด้วย เขามีความรักความศรัทธาในองค์พญาครุฑมานานกว่า 20 ปี ตั้งแต่รุ่นหนุ่ม ยังไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเท่าที่ควร จนมาถึงวันที่เขามีพร้อมเกือบทุกสิ่ง
“พระอาจารย์วราห์ ปุญญวโร” หรือ “พระครูวิศิษฏ์พิทยาคม” บิดาของท่านเป็นชาวไทยมุสลิม ส่วนมารดาเป็นชาวไทยพุทธ ในวัยเยาว์ท่านจึงนับถือทั้งสองศาสนา จนกระทั่งอายุได้ ๒๓ ปี ท่านได้ตั้งจิตอธิษฐานกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ครอบครัวพ้นภัยพิบัติ ซึ่งเมื่อประสบผลสำเร็จตามที่ให้สัญญาไว้ ท่านจึงเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๒๘ ณ พัทธสีมาวัดโพธิทอง หลังบวชเรียนแล้ว ท่านได้ออกธุดงค์ไปตั้งแต่เหนือสุดจรดใต้สุด เพื่อศึกษาวิชาทางธรรม และร่ำเรียนวิชาคาถาอาคม จากพระเกจิอาจารย์หลายสำนัก อาทิเช่น หลวงปู่มุจลินทร์ ที่มาสอนวิชา ทางนิมิต, หลวงปู่เขียน วัดตะคล้อ จ.นครสวรรค์ และหลวงปู่ใหญ่ เกจิชื่อดังแห่งภาคอีสาน เมื่อร่ำเรียนวิชาจนอาคมกล้าแกร่ง ท่านจึงกลับมาอยู่ที่วัดโพธิทอง เพื่อสงเคราะห์ญาติโยมที่เดินทางมาพึ่งบารมี
หากย้อนกลับไปในช่วงปี ๒๕๔๔ – ๒๕๔๕ เหล่าลูกศิษย์ในยุคนั้นมักจะสอบถามหลวงพ่ออิฏฐ์อยู่บ่อยๆ ว่าเมื่อไหร่จะสร้างเหรียญท้าวเวสสุวรรณโณปางยักษ์ให้ลูกศิษย์เอาไว้ใช้บ้าง (ในตอนนั้นเหรียญที่ท่านสร้างจะเป็นเหรียญปางเทพ เช่น เหรียญรุ่นแรกปี ๒๕๓๒ ปางพรหมาสุติเทพ และเสมาคว่ำปางพระไพศรพณ์ ในปี ๒๕๓๗ นอกจากนั้นก็จะมีเหรียญพระเหนือพรหม เป็นต้น) จึงเป็นปฐมบทที่ทำให้หลวงพ่ออิฏฐ์ท่านคิดจะออกแบบเหรียญ เป็นท้าวเวสสุวรรณโณปางยักษ์ขึ้นเป็นครั้งแรก
“หลวงพ่ออิฏฐ์ ภทฺจาโร” นาม พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ สมโภชน์ ฉายา ภทฺทจาโร สถานะเดิม ชื่อสมโภชน์ นามสกุล อมรรัตนบดี เกิด วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ บิดาชื่อ นายพจน์ น้อยมา มารดาชื่อ นางประนอม ฮะประสาน เกิดที่บ้านเลขที่ ๗๘ ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม บรรพชา วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๔ ณ วัดบางกะพ้อม ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐ ณ วัดจุฬามณี ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม นามพระอุปัชฌาย์ พระครูโกวิทสมุทรคุณ วัดจุฬามณี นามพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสมุทรบรรณวัฒน์
ฉบับที่แล้วผมได้เสนอวัตถุมงคลของท่านอาจารย์อิฏฐ์ ต่อท่านผู้อ่านไปแล้วจำนวน 16 รายการ สำหรับตอนสุดท้ายนี้ ผมขอเสนอวัตถุมงคลที่เหลือ และบทสรุปเกี่ยวกับท่านท้าวเวสสุวรรณโณ และท่านอาจารย์อิฏฐ์ อีกครั้งหนึ่ง 17. รูปหล่อลอยองค์เจ้าแม่กวนอิม พ.ศ. 2536 ลักษณะเป็นรูปหล่อขนาดเล็กกระทัดรัด ความสูง 2.2 ซม. เป็นพิมพ์เจ้าแม่กวนอิมนั่งยกเข่าข้างขวาเล็กน้อย บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย มือขวาถือพวงลูกประคำ มือซ้ายถือคนโท หล่อด้วยชนวนพระชัยวัฒน์ ปี 2482 วัดสุทัศน์ล้วนๆ จำนวนสร้าง 38 องค์
ก่อนที่จะต่อเรื่องวัตถุมงคล ผมขอแก้ไขข้อผิดพลาดสักนิด นั่นคือตอนที่ 1 ผมเรียนต่อท่านผู้อ่านว่า สวรรค์มี 7 ชั้น ความจริงไม่ใช่ครับ มีแค่ 6 ชั้นเท่านั้นเอง อีกเรื่องหนึ่งคือชื่อของท่านท้าวฯ ที่ตอนที่ 1 – 2 ผมเขียนเป็น เวสสุวัณโณ แต่ตอนที่ 3 และตอนนี้ผมเขียนเป็น เวสสุวรรณโณ ท่านอาจารย์บอกว่าใช้ได้ทั้ง 2 คำ แต่นิยมใช้เวสสุวรรณโณมากกว่า นอกจากนี้ผมขอแสดงความยินดีต่อชาวตำบลบางช้าง ที่ท่านอาจารย์อิฏฐ์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอุปัชฌาย์องค์ใหม่ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2537 ซึ่งนับเป็นอุปัชฌาย์หนุ่มที่มีความสามารถสูง ทำให้การอุปสมบทบุตรหลานในเขตตำบลบางช้างสะดวกขึ้น เอาละครับ เรามาว่าเรื่องวัตถุมงคลกันต่อ
ท่านอาจารย์อิฏฐ์ เริ่มสร้างวัตถุมงคลมาตั้งแต่สมัยเป็นสามเณร เพราะท่านเริ่มฝึกฝนวิชาการด้านคาถาอาคมมาตั้งแต่สมัยนั้น ในระยะแรกๆ ท่านสร้างพระบ้าง ทำผ้ายันต์บ้าง ท่านผู้อ่านทราบไหมครับว่า ท่านทำออกมาแล้วไม่มีใครอยากได้ของท่านเลย เพราะทุกคนเห็นท่านเป็นแค่เณร หรือยังเป็นเด็กอยู่นั่นเอง ไม่มีใครเชื่อว่าท่านทำของออกมาแล้วจะขลัง ตอนนั้นท่านเขียนผ้ายันต์ไว้ประมาณ 8 – 9 ผืน เขียนด้วยลายมือของท่านเอง เป็นผ้ายันต์ขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 1.5 – 2 เมตร แล้วท่านก็แจกเขาไว้ตามร้านค้าที่รู้จักมักคุ้น และให้ลูกศิษย์ไปบ้าง แต่ละคนก็รับไว้ด้วยเกรงว่าท่านจะเสียน้ำใจ ป้จจุบันผู้ที่เป็นเจ้าของต่างหวงกันอย่างสุดใจขาดดิ้น เพราะท่านคงไม่ทำให้ใครอีกแล้ว
ตอนที่แล้วผมได้เรียนต่อท่านผู้อ่านถึงคุณวิเศษของท่านท้าวเวสสุวัณโณ ไว้อย่างชนิดหมดเปลือก ต่อจากนี้ไปผมจะเสนอเรื่องราวและวัตถุมงคลขององค์ผู้สร้างท่านท้าวเวสสุวัณโณที่เข้มขลังและศักดิ์สิทธิ์แห่งเดียวเท่านั้นในยุคปัจจุบัน พระครูวินัยธรอิฏฐ์ ภทฺทจาโร นามเดิม สมโภชน์ นามสกุล น้อยมา เกิดปีวอก พ.ศ. 2499 เป็นชาวอัมพวาโดยกำเนิด มีน้องสาว 2 คน เมื่อโยมแม่เสียชีวิต ขณะอายุได้ 9 ขวบ ท่านจึงเข้าไปอยู่ในกรุงเทพฯ กับญาติ เพื่อเรียนนาฎศิลป์ที่ช่อง 7 สี อยู่ได้ 1 ปี ท่านพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ทางที่ท่านต้องการ ประกอบกับไม่สามารถอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่กดดันได้ เนื่องจากท่านยังเด็กมาก จึงเดินทางกลับบ้าน และเดินเข้าเดินออกอยู่ในวัดบางกะพ้อมบ้าง วัดจุฬามณีบ้าง จนกลายเป็นลูกศิษย์วัดไปโดยปริยาย พออายุได้ 15 ปี จึงบวชเป็นสามเณร ณ วัดบางกะพ้อม เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2514 และเริ่มต้นเขียนอักษรขอมกับหลวงพ่อปึก (พระครูสมุทรวิริยาภรณ์) วัดสวนหลวง อำเภออัมพวา
พระอาจารย์อิฏฐ์ วัดจุฬามณี บทความที่ผมนำมาเสนอต่อท่านผู้อ่านนี้ เป็นบทความเก่าที่เคยลงในนิตยสารพระเครื่องลานโพธิ์ ถ้าผมจำไม่ผิดน่าจะประมาณ พ.ศ. 2537 ก่อนที่จะลงเรื่องราวต่างๆ ผมขอเล่าที่มาพอสังเขปก่อนนะครับ เมื่อผมเปิดเว็บราชันดำ (www.rachandam.com) เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณขององค์จตุคามรามเทพ ผมก็มีความตั้งใจว่าจะนำบทความเกี่ยวกับวัตถุมงคลและเกจิอาจารย์ที่ผมเคารพศรัทธา ที่ผมเคยเขียนลงในนิตยสารพระเครื่องต่างๆ มาลงในเว็บนี้ เพื่อเสนอต่อผู้สนใจทุกท่าน
“หลวงพ่อชาญณรงค์ อภิชิโต ภิกขุ” หรือ “พระอาจารย์อภิชิโต ภิกขุ” (ชาญณรงค์ ศิริสมบัติ) ผู้เป็นทั้งศิษย์น้องและศิษย์ของ “พระครูเทพโลกอุดร” ผู้มีพลังจิตแก่กล้า สร้างความอัศจรรย์เสกใบไม้ให้กลายเป็นนกต่อหน้านักข่าวหนังสือพิมพ์ จนเป็นข่าวดังครึกโครมมาก ผู้คนจากทั่วทุกสารทิศต่างเดินทางมาพิสูจน์ มาขอให้ท่านแสดงฤทธิ์จนแทบไม่ได้พักผ่อน ภายหลังท่านจึงออกธุดงค์เข้าป่าเพื่อหลีกหนีผู้คน แต่นั้นมาท่านจึงเก็บตัวเงียบไม่ออกสู่สังคมอีก ท่านเป็นผู้สำเร็จคุณวิเศษทางจิตจริง เรื่องราวของท่านล้วนอภินิหารดุจดังนิยาย ทั้งการได้พบพระอาจารย์ลึกลับนามว่า “หลวงตาดำ” ผู้เป็นอาจารย์ใหญ่ ภายหลังท่านยังได้พบ “พระครูเทพโลกอุดร” ภายในสถานที่ฝึกวิชาอันลี้ลับที่เรียกว่า “ในดง” ทำให้ท่านมีความเก่งกล้าวิชามาตั้งแต่สมัยเป็นสามเณร ท่านกับสหายเคยเดินทางไปทั่ว เพื่อทดลองวิชาอาคมกับพระคณาจารย์ในสมัยนั้น จนพระเกจิอาจารย์ยุคสงครามโลกขนานนามท่านอีกชื่อว่า “เณรน้อยอยุธยา”
“หลวงพ่อพระราชพรหมยาน” หรือ “หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ” วัดจันทาราม (ท่าซุง) อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี เป็นพระอริยสงฆ์ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือด้านการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ตามปูมประวัติหลังมรภาพสังขารของท่านมิได้เน่าเปื่อย และได้มีการเก็บรักษาไว้ที่วัดท่าซุงจนถึงปัจจุบันนี้ ได้มีการกล่าวกันว่า คนที่ต้องการเป็นศิษย์ของ “หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ” ไม่ต้องขออนุญาต แม้ว่าไม่เคยเห็นหน้าค่าตากันเลยสักครั้งก็รับเป็นศิษย์ได้ เพียงแต่ขอให้ได้มีการปฏิบัติตนผ่านตามเงื่อนไขบางประการ จะได้กล่าวในตอนท้ายบทความนี้ พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร) เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2460 ตำบลสาลี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เดิมชื่อ สังเวียน สังข์สุวรรณ เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 5 คน ของนายควง (บิดา) และนางสมบุญ (มารดา) สังข์สุวรรณ
“พระราชพรหมยาน” หรือ “หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง” พระเกจิดัง เล่าเรื่องของฝากจากพญายมราช เรื่องการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับแบบได้อานิสงส์มากที่สุด หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ถ้าพูดถึงความศักดิ์สิทธ์ของพระสงฆ์ที่คนเคารพนับถือมากที่สุด คงจะไม่มีใครไม่รู้จัก พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ เป็นพระภิกษุนิกายเถรวาท ฝ่ายมหานิกาย อดีตเจ้าอาวาสวัดจันทาราม (ท่าซุง) จังหวัดอุทัยธานี มีชื่อเสียงในด้านการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน จนได้วิชามโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) หลังการมรณภาพ สังขารร่างกายของท่านมิได้เน่าเปื่อยอย่างศพของคนทั่วไป และได้มีการเก็บรักษาไว้ที่วัดท่าซุงจนถึงปัจจุบันนี้
“นอนอยู่อยุธยา มานั่งที่ไชโย โตที่วัดอินทร์ จำศีลที่วัดระฆัง” นี่คือคำกล่าวขานที่บอกต่อๆ กันมาถึงอริยสงฆ์ 5 แผ่นดิน สมเด็จพระพุฒาจารย์โต (โต พฺรหฺมรํสี) ซึ่งยังคงทิ้งปริศนาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ครุ่นคิดว่าแท้จริงแล้วท่านเป็นหน่อเนื้อกษัตริย์เป็นโอรสนอกเศวตฉัตรในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชอย่างที่มีการบันทึกต่อๆ กันมาหรือไม่ ในต้นรัตนโกสินทร์เป็นที่รู้กันว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์โต เป็นพระนักเทศน์และนักสอนธรรมะชนิดที่ไม่มีพระรูปใดในสยามเทียบได้ นอกจากนี้ท่านยังเป็นสมณะที่ไม่ยินดีในสมณศักดิ์ เป็นผู้สมถะ มักน้อย ไม่มีความทะยานในลาภ ยศ วัตถุ ไม่เรี่ยไร ไม่สะสมข้าวของ ปัจจุบันมีตำนานต่างๆ ที่กล่าวถึงท่านปรากฏอยู่มากมาย
TOP