FORGOT YOUR DETAILS?

หนึ่งเดียวเท่านั้น … ที่มีผงพระทนต์ของในหลวง รัชกาลที่ ๙ และผงจิตรลดา เป็นมวลสารหลัก พระองค์ที่นำมาลงแบ่งปันกันชมนี้ เป็นพระพิมพ์ใหญ่ เนื้อพิเศษ (เนื้อกรรมการ) สีน้ำตาล แก่ส่วนผสมของกระเบื้องหลังคาโบสถ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และผงจิตรลดา ด้านหน้าโรยผงตะไบพระกริ่งทองคำ เห็นเป็นเกล็ดทองคำกระจายอยู่ ส่วนด้านหลังมีพลอยสีเขียว สีขาว สีน้ำเงินเข้ม และผงตะไบพระกริ่งทองคำฝังกระจายอยู่ในองค์พระ สร้างเฉพาะกรรมการเป็นพิเศษ ไม่เกิน 20 องค์ เท่านั้น สภาพสวยมาก หายากมากๆ พระรุ่นนี้ ชั่วโมงนี้คนเริ่มหายากขึ้นเรื่อยๆ คนเริ่มเก็บสะสมบูชากันเยอะขึ้นมากแล้วครับ Post Views: 236
พระกริ่งของพระราชา มหามงคลแห่งแผ่นดิน (๑) พระกริ่ง ๗ รอบ หรือ พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ จัดสร้างในมหามงคลโอกาสฉลองพระชนมายุครบ ๗ รอบ ของ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เมื่อครั้งเสด็จฯ ออกทรงพระผนวช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นพระกริ่งที่ทรงด้วยคุณวิเศษเป็นมงคลอย่างสูงสุด และปรากฏขึ้นเพียงครั้งเดียวในแผ่นดิน คือ เป็นพระกริ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งทรงพระผนวช เสด็จฯ ทรงเททองด้วยพระองค์เอง แทนสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ซึ่งทรงพระประชวร ไม่สามารถทรงประกอบพิธีหลวงและพิธีเททองได้ Post Views: 84
ประวัติพระพุทธชินสีห์ Post Views: 120
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: postsod.com | เผยแพร่เมื่อ ๒๑ ฤษภาคม ๒๕๖๓ ขอบคุณข้อมูลจาก: tsood ผู้แนะนำข้อมูลหลวงพ่อสมปรารถนาเพิ่มเติม: อารามไผ่เขียว การไหว้พระเป็นการเคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การสวดมนต์อธิษฐานจิตต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ศรัทธา ที่มีความเชื่อว่าคอยปกป้องคุ้มครอง ชี้นำทางชีวิต เพื่อเป็นการขอบคุณ แสดงความเคารพ และขอพร พระพุทธรูป หรือ รูปเคารพแทนพระพุทธเจ้า ในตำนานเรื่องพระแก่นจันทน์ ได้พรรณนาเรื่องพระพุทธรูปองค์แรกไว้ว่า ครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษาเพื่อโปรดพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์แห่งเมืองสาวัตถี ทรงรำลึกถึงพระพุทธองค์เป็นอย่างมาก จึงโปรดฯ ให้ช่างหาไม้แก่นจันทน์หอมที่ดีที่สุด มาแกะสลักเป็นพระพุทธรูปอันงดงาม มีพุทธลักษณะคล้ายพระพุทธองค์ แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานยังพระราชมณเฑียร Post Views: 576
“ทุกอย่างอยู่ที่ศรัทธา ถึงจะมีหรือไม่มีพระทนต์ ก็คงไม่แตกต่างกัน แต่ถ้าศรัทธาก็ยินดีจะให้ ขอเพียงให้อาจารย์และทันตแพทย์ทุกคนเป็นคนดี และช่วยสั่งสอนลูกศิษย์และคนอื่นให้เป็นคนดีต่อไป” Post Views: 491
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วัตถุมงคลที่เสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีต่างๆ เป็นปฐมฤกษ์ นอกจากวัตถุมงคลที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีต่างๆ เป็นปฐมฤกษ์ แล้วก็ยังมีวัตถุมงคลที่ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดสร้างและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์และผู้แทนพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี หรือร่วมประกอบพิธีแทนพระองค์ Post Views: 865
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา:  ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ พระพุทธรูป ภ.ป.ร. และพระกริ่ง ภ.ป.ร. วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. ๒๕๐๘ หนังสือ “จาตุรงค มงคล” วัดบวรนิเวศวิหาร โดยเสด็จพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในมหามงคลสมัยพระชนมายุเสมอด้วยสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๐๘ ตั้งแต่หน้า ๒๐๓-๒๐๔ และหน้า ๑๐๖-๒๐๗ มีใจความว่า … Post Views: 294
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา:  ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ พระบูชาพระพุทธชินสีห์และเหรียญพระพุทธชินสีห์ใบมะขาม ฉลองพระชนมายุครบ ๗ รอบ ๘๔ พรรษา สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ในงานบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชนมายุครบ ๗ รอบ ๘๔ พรรษา สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ระหว่างวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ได้บันทึกไว้ในหนังสือตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร สมัยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงครองวัด หน้า ๑๐๙ ความว่า … Post Views: 250
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา:  ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ พระกริ่ง ๗ รอบ วัดบวรนิเวศวิหาร ฉลองพระชนมายุ ๗ รอบ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ หนังสือ “ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร” ได้บันทึกไว้ว่า … “พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองหล่อ“ พระกริ่ง ๗ รอบ” หรือ “พระกริ่งพระพุทธชินสีห์” แทนพระองค์ “สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก” ผู้เป็นสมเด็จพระบรมราชอุปัชฌายาจารย์ เนื่องจากทรงพระประชวร Post Views: 316
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา:  ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ประเทศไทยเมื่อครั้งยังเป็นราชอาณาจักรสยาม ตั้งแต่ครั้ง กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี ตราบมาจนถึง กรุงรัตนโกสินทร์ มีความผูกพันกับพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง Post Views: 361
TOP