SIGN IN YOUR ACCOUNT TO HAVE ACCESS TO DIFFERENT FEATURES

FORGOT YOUR PASSWORD?

FORGOT YOUR DETAILS?

AAH, WAIT, I REMEMBER NOW!

Siam Collection

  • LOGIN
  • No products in cart.
  • Home
  • SC SHOP
  • พระในหลวง
  • พระเครื่อง
  • ล็อกเก็ต
  • เทพเจ้า
  • บทความ
  • Home
  • ล็อกเก็ตและภาพถ่าย
  • ป้าพวงเพชร เสือสง่า แห่งร้านนางเลิ้งอาร์ต
Avatar
scadmin
Tuesday, 23 February 2021 / Published in ล็อกเก็ตและภาพถ่าย

ป้าพวงเพชร เสือสง่า แห่งร้านนางเลิ้งอาร์ต

บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา
ที่มา: มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
บทความโดย: วลัยลักษณ์ ทรงศิริ  (เรียบเรียงเมื่อ 26 เม.ย. 2559)
อ้างอิง: Facebook Page สร้างประวัติศาสตร์สังคมย่านเมืองเก่ากรุงเทพฯ วันที่ ๒๓ มิ.ย. ๒๕๕๘

ภาพจาก https://readthecloud.co

ป้าพวงเพชร เสือสง่า แห่งร้านนางเลิ้งอาร์ต

ป้าพวงเพชร เสือสง่า แห่งร้านนางเลิ้งอาร์ต วันนี้อายุราว 84 ปี แล้ว ลูกชายเล่าว่า เริ่มลดทอนความทรงจำลงบ้าง ต้องทานยาบำรุงและดูแลใกล้ชิดแล้ว

เราจำได้ว่า วันหนึ่งในช่วงการชุมนุมที่มีอยู่เสมอๆ รอบที่ทำงานแถวสะพานวันชาติ ก็เห็นคุณป้าคนหนึ่งขี่รถสกู๊ตเตอร์สามล้อวิ่งฉิวไปบนถนนพระสุเมรุหลายครั้ง บางครั้งถึงกับอ้าปากค้าง ป้าแว๊นลิ่วผ่านหน้าเราไปอย่างรวดเร็ว ใครๆ ก็บอกว่า ป้าร้านนางเลิ้งอาร์ตไง เป็นภาพคุ้นเคยในช่วงปีหลังๆ ของการชุมนุม ป้ามาแถวที่ชุมนุมจากนางเลิ้งบ่อยๆ

วันที่เข้าไปคุยกับป้าพวงเพชร ความน่ารักยังมีอยู่เสมอในรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ ป้าอารมณ์ดี และยังนั่งเฝ้าเก๊ะลิ้นชักเงินแบบที่เคยทำมาหลายสิบปี ควบคุมรายรับรายจ่ายของร้านตั้งแต่แต่งงานเข้ามาอยู่กับสามีผู้สืบทอดกิจการร้านถ่ายรูปและทำล็อกเกตหินตั้งแต่เมื่อเกือบหกสิบปีที่แล้ว

สามีของป้ารับสืบทอดร้านนางเลิ้งอาร์ตมาจากเครือญาติ และมีวิชาการทำล็อกเกตหินภาพลงสีสวยงาม เป็นงานฝีมือปราณีตที่คู่ควรกับงานช่างฝีมือทำกรอบเงินทองหรือล้อมเพชร ชิ้นหนึ่งๆ แพงสมควรกับฝีมือ และยังเป็นรายได้สำคัญของร้าน ที่สืบฝีมือกันภายในครอบครัว จนทำให้ทุกวันนี้ร้านนางเลิ้งอาร์ตยังคงเปิดร้านได้เสมอๆ ไม่มีอะไรต้องร้อนใจ แม้สภาพแวดล้อมและสังคมเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว แต่งานช่างฝีมือล็อกเกตหินยังคงมีผู้สั่งทำอยู่เรื่อยๆ

เจ้าของร้านชื่อนายหม่อยหยุ่น แซ่เหงี่ยว เป็นชาวจีนที่ไปเติบโตที่เกาะมาริตัส แถบแอฟริกา จึงมีความรู้ภาษาอังกฤษดี เมื่อเข้ามาอยู่เมืองไทยก็ได้โอนสัญชาติและเปลี่ยนชื่อเป็นนายอาจ ศิลปวณิช เคยเป็นลูกจ้างร้านทองมาก่อน แล้วจึงได้ออกมาเปิดร้านถ่ายรูปตามความสนใจของตัวเอง ในสมัยนั้นล็อกเกตเป็นเครื่องประดับที่กำลังเป็นที่นิยม แต่ต้องส่งไปทำที่ต่างประเทศ เขาจึงเริ่มต้นศึกษาวิธีการทำอย่างจริงจังจนเป็นผลสำเร็จ และหลานของท่านนี้ก็คือสามีป้าพวงเพชรนี่เอง

ป้ายังคงใช้นามสกุล ‘เสือสง่า’ และลูกก็ยังคงใช้นามสกุลนี้ ป้ากำเนิดจากการเป็นลูกสาวชาวจีนแต้จิ๋วที่โพธาราม อายุเพียงสองเดือน คณะลิเกดอกดิน เสือสง่า ไปแสดงที่โพธาราม ก็รับลูกสาวชาวจีนขาวๆ คนนี้มารับเป็นหลานบุญธรรม ‘แม่ละออง’ ครูลิเกเช่นกัน ลูกสาวของตาดอกดินเลี้ยงป้าพวงเพชรมาแต่นั้น ป้าเติบโตอยู่ในโรงลิเก แน่นอนย่อมกลายเป็นนางเอกลิเก ได้วิชาความรู้ เพลงราชนิเกลิงจากตาดอกดินและใช้ชีวิตแบบคนไทยๆ ในสังคมแวดล้อมแบบคนลิเก

ราวอายุ ๒๖ ปี หลังจากย้ายมาอยู่ที่แถบถนนพะเนียง ซึ่งยังมีบ้านคณะลำตัดดังๆ อีกหลายคณะ ป้าไปเรียนตัดเสื้อที่แถววัดสระเกศ และครูมักฝากฟิล์มมาล้างอัดภาพที่ร้านดังนางเลิ้งอาร์ต ก็พบพ่อม่ายอายุมากกว่าสิบกว่าปี เป็นคนจีนเชื้อสายแคะ ที่มีฝีมือและทำร้านถ่ายรูปอยู่แล้ว ต่อมาก็แต่งงานกันและมีลูกอีก ๕ คน หลายสิบปีมาแล้ว เมื่อสามีคุณป้าเสียชีวิตไป ป้าก็ออกท่องเที่ยวต่างประเทศกับคณะทัวร์ต่างๆ ใช้ชีวิตคล่องแคล่วกระฉับกระเฉง และดูมีความสุขด้วยอารมณ์และการหยอกเย้าขี้เล่น คนอยู่ใกล้ก็ดูสนุกและมีความสุขไปด้วย

ป้าเป็นแม่บ้านเต็มตัว และควบคุมเก๊ะเงินอย่างเบ็ดเสร็จ เราสังเกตชีวิตความเป็นอยู่ของป้าที่ใช้ชีวิตเป็นคนไทยพื้นบ้านมากกว่าคนเชื้อสายจีน อีกทั้งสามีป้าก็ไม่นิยมไหว้เจ้า ป้าทำบุญตักบาตร ร้องลิเกระดับนางเอก ทั้งๆ ที่ป้าและครอบครัวรูปลักษณ์ภายนอกดูเป็นคนเชื้อจีนเต็มขั้น

นางเลิ้งอาร์ต สถานทำภาพล็อกเก็ต, Nang-Loeng Art (make locket place), Published: นสพ.กรุงเทพฯ วารศัพท์ ๐๖/๐๑/๒๔๗๖,
Krungthep Varasab Daily News 06/01/1933, Image Source: Kyoto University Library (ภาพจาก Facebook Page 77PPP)

งานล็อกเก็ตหินทำทีละชิ้น และเป็นงานสั่งทำ ใช้ล็อกเกตที่สั่งทำมาคราวละมากๆ เป็นเซรามิคแบบหนึ่ง แล้วใช้ภาพถ่ายแล้ววาดภาพไฮไลท์เพิ่มเติมอย่างละเอียดมากๆ ด้วยสีหรือลงทองคำคุณภาพสูง แล้วใช้ฟิล์มกระจกเคลือบอีกชั้น ทำให้ต้องระมัดระวังเวลาใช้ที่อาจเป็นรอยได้ ผู้คนจึงมักใช้ออกงานสำคัญๆ กันเท่านั้นเอง

บางทีอาจจะมีบ้านเมืองเพียงไม่กี่แห่งเช่นในกรุงเทพฯ หรือเมืองไทย ที่ผู้คนต่างชาติพันธุ์ถูกหลอมรวมจนกลายเป็นคนสยามหรือคนไทยได้อย่างน่าทึ่ง


Post Views: 29
Tagged under: นางเลิ้งอ๊าร์ต, ล็อกเก็ต

What you can read next

นางเลิ้งอ๊าร์ต : ตระกูลช่างทำจี้ล็อกเก็ตเจ้าแรกของเมืองไทย

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Categories

  • ประวัติการจัดสร้าง
  • พระในหลวง
  • ล็อกเก็ตและภาพถ่าย

Recent Posts

  • พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๑๓ – ตอนที่ ๒)

    บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระ...
  • พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๑๓ – ตอนที่ ๑)

    บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระ...
  • พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๑๒ – ตอนที่ ๒)

    บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระ...
  • พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๑๒ – ตอนที่ ๑)

    บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระ...
  • พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๑๑ – ตอนที่ ๒)

    บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระ...

POST TAGS

กรมหลวงวชิรญาณสังวร นางเลิ้งอ๊าร์ต ผงจิตรลดา พระกริ่งจุฬาลงกรณ์ พระปรมาภิไธย พระพุทธชินสีห์ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธวชิรมงกุฏ พระวชิรมงกุฏ พระสมเด็จจิตรลดา พระเครื่องที่ผสมผงจิตรลดา พระเครื่อง ร.9 ทรงสร้าง พระในหลวง รัชกาลที่ 9 รัชกาลที่ 9 ทรงผนวช ล็อกเก็ต ล็อกเก็ตรัชกาลที่ 9 สมเด็จพระสังฆราช

© 2021. All rights reserved.

TOP