×

Archives

  • February 2021

Categories

  • ประวัติการจัดสร้าง
  • พระในหลวง
  • ล็อกเก็ตและภาพถ่าย

Meta

  • Log in
  • Entries feed
  • Comments feed
  • WordPress.org

SIGN IN YOUR ACCOUNT TO HAVE ACCESS TO DIFFERENT FEATURES

FORGOT YOUR PASSWORD?

FORGOT YOUR DETAILS?

AAH, WAIT, I REMEMBER NOW!

Siam Collection

  • SUPPORT
  • LOGIN
  • No products in cart.
  • Home
  • SC SHOP
  • พระในหลวง
  • พระเครื่อง
  • ล็อกเก็ต
  • เทพเจ้า
  • บทความ
  • Home
  • พระในหลวง
  • พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๑๐)
Avatar
scadmin
Tuesday, 23 February 2021 / Published in พระในหลวง

พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๑๐)

บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา
ที่มา: ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

“วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร” หรือ “วัดโพธิ์” เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย และเป็นวัดประจำรัชกาลในรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี

ทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศสยาม เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาองค์ความรู้หลายแขนง ทั้งการแพทย์แผนไทย ตำราหมอนวดและฤๅษีดัดตน ตลอดจนวิชาความรู้ด้านต่างๆ เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้ศึกษาหาความรู้อย่างเสรี เป็นแหล่งเล่าเรียนวิชาความรู้ของมหาชน ไม่เลือกชั้นบรรดาศักดิ์

ส่งผลให้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้เสนอจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) พิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกในระดับนานาชาติ และยูเนสโกได้ประกาศรับรองจารึกวัดโพธิ์เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกในทะเบียนนานาชาติ (International Register) ในการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกของยูเนสโก ครั้งที่ ๑๐ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณ เมืองแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร

ย้อนหลังกลับไปในปี พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๐๙ สมเด็จพระวันรัต (ปุ่น ปุณณสิริ) เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ในยุคนั้น (พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช) มีพระดำริจัดตั้ง “มูลนิธิ” เพื่อนำดอกผลมาเป็นค่าใช้จ่ายในการบูรณะพระอาราม

จึงดำเนินการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตโดยความช่วยเหลือของ “พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤติยากร” ประธานองคมนตรีในขณะนั้น นำความขึ้นกราบบังคมทูลถึงความจำเป็น

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตและพระราชทานนามมูลนิธิว่า “มูลนิธิทุนพระพุทธยอดฟ้า” พร้อมทั้งทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์อีกด้วย

สมเด็จพระวันรัต (ปุ่น ปุณณสิริ) ได้จัดประชุมกรรมการเรื่องการระดมทุนมาจัดตั้งเป็นกองทุนมูลนิธิ โดยที่ประชุมมีมติให้จัดงานทอดผ้าป่ามหากุศล ๘๔,๐๐๐ กอง พร้อมมีการจัดทำวัตถุมงคลที่ระลึกสมนาคุณแก่ผู้บริจาค คือ “พระกริ่งและเหรียญวัตถุมงคล”

สำหรับพระกริ่ง ถวายพระนามว่า “พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า” ด้วยมูลเหตุที่มูลนิธินี้ได้รับพระราชทานนามว่า “มูลนิธิทุนพระพุทธยอดฟ้า” ดังนั้น เพื่อให้สมกับพระนาม จัดสร้างด้วยเนื้อทองคำ น้ำหนักไม่น้อยกว่า ๒ บาท สำหรับสมนาคุณผู้บริจาคตั้งแต่ ๕,๐๐๐ บาท ขึ้นไป จัดสร้างจำนวน ๑,๒๕๐ องค์

ความเป็นสิริมงคลของพระนามพระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า ในพระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณณสิริมหาเถระ) ได้บันทึกพระเกียรติคุณของพระองค์ท่าน ว่า “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงกอบกู้ชาติและสร้างชาติ พร้อมทรงรักษาชาติไว้ด้วยความเหนื่อยยาก อีกทั้งพระองค์ท่านทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐและยิ่งใหญ่แก่ชาติไทย”

วันประกอบพิธีเททองหล่อพระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ วันอาทิตย์ที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๐๙ อันเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพระราชพิธีพระราชทานถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นโบราณราชประเพณีทุกปี

การเสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระกริ่งในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ มีพระมหากรุณาธิคุณทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทรงประกอบพิธีเททองครบทุกช่อ และได้พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า ครบตามจำนวน ๑,๒๕๐ องค์ จึงเสด็จฯ กลับ

โดยมีพระเกจิคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกปลุกเสก อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อเต๋า วัดสามง่าม, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์, หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง เป็นต้น

พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า จัดสร้างด้วยพิธีกรรมอันเข้มขลัง พร้อมสูงยิ่งด้วยคุณค่าด้วยทองคำ และมีการลงอักขระเลขยันต์มงคล พร้อมบรรจุพระพุทธคุณโดยพุทธาภิเษกตลอด ๓ เดือน แห่งการเข้าพรรษา ตามตำราโบราณของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ทุกประการ

และหลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททอง และทำการตกแต่งพร้อมบรรจุเม็ดกริ่งแล้ว ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้ง

พร้อมกับนำทองชนวนที่เหลือมารวมกับทองคำอีกจำนวนหนึ่งที่ผ่านพิธีพุทธาภิเษกตลอดพรรษากาล เพื่อนำไปจัดสร้าง “เหรียญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” โดยมอบหมายให้กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ ดำเนินการ

เหรียญดังกล่าว แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ เหรียญทองคำและเหรียญเงิน จัดสร้างเป็นเหรียญทรงเสมา ส่วนเหรียญทองแดง จัดสร้างเป็นเหรียญทรงกลม ทั้งเหรียญทรงเสมาและเหรียญทรงกลม จัดสร้างแบบมีหูห่วง

ด้านหน้าเหรียญทั้ง ๒ แบบ ตรงกลางเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชครึ่งพระองค์ ทรงฉลองพระองค์จักรพรรดิบรมขัตติยราชภูมิตาภรณ์ ในลักษณะนูนต่ำ มีความสวยงามคมชัด ขอบเหรียญด้านบน เขียนอักษรความว่า “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก” ใต้พระบรมรูปฯ เขียนอักษรความว่า “๖ เมษายน ๒๕๑๐”

ด้านหลังเหรียญทั้ง ๒ แบบ เป็นตราสัญลักษณ์มูลนิธิพระพุทธยอดฟ้า ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทาน เป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎครอบตราพระมหาจักรี แวดล้อมด้วยฉัตรเครื่องสูง ๗ ชั้น ทั้งด้านซ้ายและขวา มีเปลวพระอุณาโลมขนาบซ้ายขวาระหว่างพระมหาพิชัยมงกุฎและฉัตรเครื่องสูง ๗ ชั้น ด้านบนมีอักษรความว่า “มูลนิธิทุนพระพุทธยอดฟ้าในพระบรมราชูปถัมภ์” ด้านล่างตรง “พระมหาจักรี” มีอักษรว่า “วัดพระเชตุพน”

นอกจากนี้ยังมีการสร้างเหรียญพระพุทธรูปพระพุทธยอดฟ้า ที่เรียกว่า “เหรียญพระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า” เป็นเหรียญลักษณะกลม มีหูห่วง ด้านหน้าเหรียญเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ เช่นเดียวกับพระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า ด้านข้างมียันต์อุณาโลมทั้งซ้ายขวา ส่วนด้านหลังเป็นตรามูลนิธิ สำหรับแจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้มาร่วมงานทอดผ้าป่า

รวมไปถึงพระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า ขนาดบูชาหน้าตัก ๕ นิ้ว เนื้อทองคำ สำหรับทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙

โดยวัตถุมงคลทั้งหมดได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกและมังคลาภิเษกอีกครั้ง เมื่อวันที่ ๕-๖ เมษายน ๒๕๑๐ เนื่องจากวันที่ ๖ เมษายนของทุกปี เป็นวันที่ระลึกพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ ที่ผู้คนทั่วไปเรียกว่า “วันจักรี” วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จัดพิธีทอดผ้าป่า ๘๔,๐๐๐ องค์ พร้อมทั้งพิธีพุทธาภิเษกและมังคลาภิเษกวัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้นทั้งหมด

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงพระสุหร่าย และทรงเจิมวัตถุมงคล จากนั้นทรงเป็นประธานในการมีพระราชดำรัสกล่าวนำประชาชนถวายผ้าป่า

นับว่าพระกริ่งและเหรียญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เป็นอีกวัตถุมงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงประกอบพิธีเททอง รวมทั้งทรงประกอบพิธีพุทธาภิเษก เป็นอีกหนึ่งวัตถุมงคลที่ทรงคุณค่า


Post Views: 12
Tagged under: พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, พระเครื่อง ร.9 ทรงสร้าง, รัชกาลที่ 9

What you can read next

พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๑)
พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๔)
พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๗)

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Categories

  • ประวัติการจัดสร้าง
  • พระในหลวง
  • ล็อกเก็ตและภาพถ่าย

Recent Posts

  • พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๑๓ – ตอนที่ ๒)

    บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระ...
  • พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๑๓ – ตอนที่ ๑)

    บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระ...
  • พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๑๒ – ตอนที่ ๒)

    บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระ...
  • พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๑๒ – ตอนที่ ๑)

    บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระ...
  • พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๑๑ – ตอนที่ ๒)

    บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระ...

POST TAGS

กรมหลวงวชิรญาณสังวร นางเลิ้งอ๊าร์ต ผงจิตรลดา พระกริ่งจุฬาลงกรณ์ พระปรมาภิไธย พระพุทธชินสีห์ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธวชิรมงกุฏ พระวชิรมงกุฏ พระสมเด็จจิตรลดา พระเครื่องที่ผสมผงจิตรลดา พระเครื่อง ร.9 ทรงสร้าง พระในหลวง รัชกาลที่ 9 รัชกาลที่ 9 ทรงผนวช ล็อกเก็ต ล็อกเก็ตรัชกาลที่ 9 สมเด็จพระสังฆราช

© 2021. All rights reserved.

TOP