SIGN IN YOUR ACCOUNT TO HAVE ACCESS TO DIFFERENT FEATURES

FORGOT YOUR PASSWORD?

FORGOT YOUR DETAILS?

AAH, WAIT, I REMEMBER NOW!

Siam Collection

  • LOGIN
  • หน้าแรก
  • พระเครื่องและวัตถุมงคล
    • พระมหากษัตริย์
    • พระเกจิอาจารย์
    • พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
    • เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
    • ล็อกเก็ตและภาพถ่าย
    • เครื่องรางของขลัง
    • ปันกันชม
  • ศิลปะและของสะสม
  • สินค้า
    • สินค้าพร้อมจำหน่าย
    • สินค้าโปรโมชั่น
    • สินค้ายอดนิยม
    • สินค้าแนะนำ
    • สินค้าฝากขาย
    • สินค้าโชว์
    • สินค้าทั้งหมด
  • ประมูล
  • บทความ
  • เกี่ยวกับเรา
    • ติดต่อเรา
    • รับเช่า
    • รับทำเว็บไซต์พระเครื่อง
    • โฆษณากับเรา
    • สารบัญเว็บ
    • ข่าว
  • สั่งซื้อ-ชำระเงิน
    • วิธีซื้อสินค้า – วิธีชำระเงิน
    • วิธีประมูล – วิธีชำระเงินประมูล
    • แจ้งยืนยันการชำระเงิน
  • สมาชิก
    • My account
    • สมัครสมาชิก
  • No products in cart.
เข้าสู่ระบบ
  • Home
  • พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
  • รัชกาลที่ 9
  • ทรงสร้างและทรงเสด็จฯ เททอง
  • พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๒)
scadmin
วันอังคาร, 23 กุมภาพันธ์ 2021 / Published in ทรงสร้างและทรงเสด็จฯ เททอง, พระพุทธชินสีห์, พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์, รัชกาลที่ 9

พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๒)

บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา
ที่มา:  ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

พระกริ่ง ๗ รอบ วัดบวรนิเวศวิหาร ฉลองพระชนมายุ ๗ รอบ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

หนังสือ “ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร” ได้บันทึกไว้ว่า … “พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองหล่อ“ พระกริ่ง ๗ รอบ” หรือ “พระกริ่งพระพุทธชินสีห์” แทนพระองค์ “สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก” ผู้เป็นสมเด็จพระบรมราชอุปัชฌายาจารย์ เนื่องจากทรงพระประชวร

พระกริ่ง ๗ รอบ และวัตถุมงคลอื่นในชุดนี้ วัดบวรนิเวศวิหารเป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบำเพ็ญพระกุศล ฉลองพระชนมายุครบ ๗ รอบ พระนักษัตร ๘๔ พรรษาของ “สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก” อีกทั้งยังเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ฉลองพระชนมายุครบ ๗ รอบ พระนักษัตร ๘๔ พรรษาของ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

รวมทั้งถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในมหามงคลโอกาสที่ “สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” เสด็จออกทรงผนวช ในวาระนี้ด้วย

หนังสือ “จดหมาย เหตุทรงพระผนวช” มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย จัดพิมพ์ถวายสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชฯ เพื่อประทานในงานฉลองพระชนมายุครบ ๗ รอบ พระนักษัตร ๘๔ พรรษา ในวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ และในหนังสือ “ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร สมัยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงครองวัด” ระบุถึงรายละเอียดการจัดสร้างพระกริ่ง ๗ รอบ และวัตถุมงคลอื่นๆ อันประกอบด้วย พระพุทธรูป พระพุทธชินสีห์ ครอบน้ำพระพุทธมนต์ และเหรียญพระพุทธชินสีห์ใบมะขาม

ด้วยการจัดสร้างในครั้งนั้นถือว่ามีจำนวนค่อนข้างมาก (ในสมัยปี พ.ศ. ๒๔๙๙) และเจตนาการจัดสร้างมิได้เป็นการส่วนพระองค์หรือเป็นการภายใน

ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร สมัยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงครองวัด หน้า ๑๐๐ ระบุว่า …

”พิธีหล่อพระ ทำการเริ่มพิธีตั้งแต่เย็นวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙ พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ พระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนถวายสักการะพระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรฯ ไวยาวัจกร ถวายเทียนชนวนที่สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงจุดมาแล้ว ทรงรับเทียนชนวนนั้นจุดเทียนชัย เวลา ๒๐.๓๖ น. ในพิธีหล่อพระพุทธชินสีห์จำลอง แทนสมเด็จพระสังฆราชฯ ซึ่งประชวรไม่สามารถเสด็จมาให้พระสงฆ์สวดคาถาจุดเทียนชัย”

มวลสารสำหรับหล่อพระครั้งนี้ประกอบด้วย แผ่นยันต์ลงอักขระและโลหะที่ใช้ผสมสำหรับหล่อพระก็ล้วนแต่เป็นโลหะมงคลทั้งสิ้น อาทิ เศษชิ้นส่วนพระพุทธรูปโบราณที่ชำรุด ทองเหลืองเนื้อแดง ขันลงหิน เงินบริสุทธิ์ และทองคำบริสุทธิ์ ที่นำมารีดเป็นแผ่นเพื่อลงอักขระที่เรียกว่า แผ่นทองคำเปลว

วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ เวลา ๐๗.๓๕ น. พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ยังศาลาหน้าพระอุโบสถด้านทิศตะวันตก ไวยาวัจกรวัดทูลเกล้าฯ ถวายแผ่นทองคำเปลว ๘๔ แผ่น ทรงวางแผ่นทองคำเปลวลงในเบ้าเวลา ๐๗.๔๑ น. ทรงถือสายสิญจน์ซึ่งโยงจากเบ้าเททองหล่อพระพุทธชินสีห์จำลองแทนสมเด็จพระสังฆราชฯ พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา

ตามที่หนังสือ “ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร” บันทึกไว้อีกว่า “การเสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระแทนสมเด็จพระบรมราชอุปัชายาฌาจารย์ครั้งนั้นด้วยพระราชหฤทัยโสมนัส”


พระกริ่ง ๗ รอบที่หล่อนี้มี ๒ แบบ คือ

  • ๑. เป็นพระบูชาหน้าตัก ๔ นิ้วครึ่ง และ
  • ๒. เป็นพระกริ่งหน้าตัก ๑.๗ เซนติเมตร มีจำนวนการสร้างเพียง ๕๐๐ องค์ เท่านั้น

วัตถุมงคลรุ่นนี้กล่าวได้ว่ามีคุณสมบัติพิเศษถึง ๕ ประการ คือ

  • ๑. เป็นพระกริ่งสำคัญรุ่นเดียวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เททอง
  • ๒. เป็นพระกริ่งที่สร้างโดยสมเด็จพระสังฆราชรูปที่ ๑๓
  • ๓. สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นพระราชอุปัชฌายาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • ๔. เป็นพระกริ่งที่สร้างร่วมกันระหว่างประมุขแห่งศาสนจักรและประมุขแห่งอาณาจักร
  • ๕. เป็นพระกริ่งที่จำลองรูปพระพุทธชินสีห์ พระพุทธรูปสำคัญประจำวัดบวรนิเวศวิหาร

“พระพุทธชินสีห์” แปลตามความหมายว่า พระผู้ชนะพระยาราชสีห์ หรือพระผู้ชนะซึ่งงามสง่าประดุจพระยาราชสีห์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญพระองค์หนึ่งของหัวเมืองฝ่ายเหนือ สร้างขึ้นคราวเดียวกับพระพุทธชินราช และพระศาสดา ในปี พ.ศ. ๑๕๐๐ โดยพระเจ้าศรีธรรม ไตรปิฎกมหาราช แห่งเมืองเชียงแสน ประดิษฐาน ณ พระวิหารด้านเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก

จนถึงต้นสมัยรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ โปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่มุขหลังของพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๒

สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ครั้งเมื่อยังทรงผนวชและครองวัดบวรนิเวศวิหารอยู่ ทรงเคารพนับถือพระพุทธ ชินสีห์มาก พระองค์ทรงทูลขอพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เพื่ออัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาเป็นพระประธานในพระอุโบสถ และโปรดให้กะไหล่รัศมีองค์พระด้วยทองคำ พระเนตรฝังเพชรที่พระอุณาโลม แล้วปิดทองทั้งองค์พระ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๓ ในปี พ.ศ. ๒๓๙๗ โปรดให้หล่อฐานด้วยทองสำริด ปิดทองใหม่ทั้งองค์พระและฐาน

กล่าวสำหรับพระกริ่ง ๗ รอบ มีลักษณะองค์พระเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะแบบสุโขทัย มีพุทธลักษณะค่อนข้างอวบอ้วนแบบพระกริ่งจีน ส่วนบัวที่ฐานเป็นบัวเล็บช้างตามแบบอย่างพระกริ่งจีนใหญ่ ด้านหลังองค์พระมีกลีบบัว ๒ คู่ และตรงบัวคู่ล่างมีเลข ๗ ไทย ลึกลงในเนื้อพระ ปรากฏให้เห็น ทำให้พระกริ่ง ๗ รอบ มีเอกลักษณ์เฉพาะ จนกลายเป็นที่มาของชื่อที่ใช้เรียกพระกริ่งรุ่นนี้ ใต้ฐานมีรอยอุดกริ่ง รอยอุดมีขนาดใหญ่กว้างประมาณขนาดแท่งดินสอ

พระกริ่ง ๗ รอบ จำลองแบบมาจากพระพุทธชินสีห์ พระประธานในอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งนายช่างผู้ออกแบบปั้นหุ่นคือ นายช่างมนตรี (มาลี) พัฒนางกรู แห่งพัฒนช่าง

พระกริ่งรุ่นดังกล่าวได้รับความนิยมและแสวงหากันมากในวงการนักสะสมพระเครื่อง แต่ด้วยจำนวนการสร้างน้อย ราคาเช่าบูชาจึงค่อนข้างสูงและหายาก


Post Views: 798
Tagged under: พระเครื่อง ร.9 ทรงสร้าง, รัชกาลที่ 9

What you can read next

พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๑๒ – ตอนที่ ๑)
เหรียญที่ระลึก ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป พุทธศักราช ๒๕๐๓
พระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” บนพระเครื่อง (2)

หมวดหมู่บทความ : บันทึกเพื่อศึกษา

  • บทความ (ทั้งหมด) OK
  • ประวัติการจัดสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคล OK
  • พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ OK
  • พระเกจิอาจารย์ OK
    • ประวัติพระเกจิอาจารย์ OK
    • หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร OK
    • หลวงพ่อน้อย ชุตินฺธโร OK
    • หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม OK
    • หลวงพ่อทรง ฉันทโสภี OK
  • พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ OK
  • เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ OK
  • อาจารย์ฆราวาส OK
  • เครื่องรางของขลัง OK
  • ล็อกเก็ตและภาพถ่าย OK
  • ศิลปะและของสะสม OK
  • ธรรมะและบทสวดมนต์ OK
  • มุมนักสะสม OK

บทความล่าสุด

  • เย็นศิระเพราะพระบริบาล ๘๐ พรรษา มหากษัตริย์คู่แผ่นดินสยาม

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ...
  • โครงการ “เพราะแผ่นดินนี้ คือ แผ่นดินเกิด” ปี ๒๕๕๑

    โครงการ “เพราะแผ่นดินนี้ คือ แผ่นดินเกิด” ปี ๒๕...
  • โครงการ “เพราะแผ่นดินนี้ คือ แผ่นดินเกิด” ปี ๒๕๔๘

    โครงการ “เพราะแผ่นดินนี้ คือ แผ่นดินเกิด” ปี ๒๕...
  • อยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูล

    ...
  • เครื่องรางของขลังคืออะไร ?

    ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ควา...

บทความยอดนิยม

  • จตุคามรามเทพ รุ่นโคตรเศรษฐี (7,137)
  • ประวัติท้าวเวสสุวรรณ วัดจุฬามณี (4,496)
  • ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่พรหมมา เขมจาโร วัดสวนหินผานางคอย อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี (4,433)
  • ปาฏิหาริย์ “หลวงพ่อสมปรารถนา” แค่ภาพถ่ายยังศักดิ์สิทธิ์ (3,844)
  • หลวงปู่ทวดเบ้าทุบ หล่อโบราณ รุ่น “ชนะคน” วัดสุทัศน์จัดสร้าง ปี 2538 (3,579)
  • ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร วัดโฆสิตาราม (วัดบ้านแค) ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท (3,528)
  • รายละเอียดและจำนวนการจัดสร้างวัตถุมงคลจตุคามรามเทพ รุ่น โคตรเศรษฐี (3,522)
  • ล็อกเก็ตเเละรูปหล่อหลวงพ่อกวยช่วยสร้างพระอุโบสถ (3,473)
  • ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อน้อย ชุตินธโร วัดเนินเวียง (เวียงสวรรค์) ต.บางมะฝ่อ อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ (3,418)
  • จตุคามรามเทพ รุ่นอภิปัญญามหาเศรษฐี (2,977)
  • พระนักธรรม หลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน จ.อ่างทอง (2,973)
  • ปาฏิหาริย์สมเด็จเหม็นหลวงพ่ออุ้น เรื่องเล่าจากประสบการณ์จริงของ “ทวี เฮงคราวิทย์” (2,944)
  • ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อชาญณรงค์ อภิชิโต ภิกขุ วัดรัชฎาธิษฐานราชวรวิหาร (วัดเงิน) แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร (2,774)
  • พิธีมหาพุทธาภิเษก จตุคามรามเทพ รุ่นโคตรเศรษฐี (2,617)
  • เปิดที่มาพระสมเด็จเหม็น หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง วัตถุมงคลชื่อดังเพชรบุรี (2,472)

หมวดหมู่สินค้า

  • พระเครื่องและวัตถุมงคล
    • พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
    • ล็อกเก็ตและภาพถ่าย
    • พระเกจิอาจารย์
    • พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
    • เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
    • พระดี น่าบูชา
  • ศิลปะ รูปภาพ และของสะสม
  • หนังสือ (ศิลปะ-ของสะสม)
  • เหรียญในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงผนวช วัดพนัญเชิง
    600 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า
  • ล็อกเก็ตในหลวง รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ รุ่นพระมหามณฑป
    950 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า
  • ล็อกเก็ตสมเด็จย่าและสมเด็จพระพี่นาง รุ่นพระมหามณฑป
    800 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า
  • ล็อกเก็ตในหลวง รัชกาลที่ 9
    750 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า
  • เหรียญหล่อ วชิราลงกรโณ ภิกขุ ปี 2521
    500 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า
  • เหรียญในหลวง รัชกาลที่ 9 เฉลิมพระชนมายุครบ 75 พรรษา เนื้อทองแดง
    450 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า
  • เหรียญรัชกาลที่ 5 ที่ระลึกเสด็จประพาสยุโรป (100 ปี ไกลบ้าน)
    500 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า
  • หนังสือ “A Visionary Monarch” เป็นหนังสือเกี่ยวกับในหลวง รัชกาลที่ 9
    1,500 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า
  • ล็อกเก็ตสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    500 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า

พระเครื่องและของสะสม

  • พระเครื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์
  • พระเครื่องและวัตถุมงคลพระเกจิอาจารย์
  • พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
  • เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
  • ล็อกเก็ตและภาพถ่าย
  • เครื่องรางของขลัง
  • ศิลปะ รูปภาพ และของสะสม
  • ปันกันชม (โชว์ของสะสม)

สินค้าในร้าน

  • สินค้าพร้อมจำหน่าย
  • สินค้าโปรโมชั่น
  • สินค้ายอดนิยม
  • สินค้าแนะนำ
  • สินค้าฝากขาย
  • สินค้าโชว์
  • สินค้าทั้งหมด
  • สินค้าที่ปิดการขาย

สยามคอลเล็คชั่น

  • เกี่ยวกับเรา – ติดต่อเรา
  • แจ้งยืนยันการชำระเงิน
  • วิธีซื้อสินค้า – วิธีชำระเงิน
  • วิธีประมูล – วิธีชำระเงินการประมูล
  • รับเช่า
  • รับทำเว็บไซต์พระเครื่อง
  • โฆษณากับเรา
  • สมัครสมาชิก

ติดต่อเรา

โทร. 063 639 2524
เฟสบุ๊ค : @SiamCollection.in.th
ไลน์ : @siamcollection

  • GET SOCIAL
Siam Collection

© 2021. All rights reserved.

Flag Counter
Flag Counter
TOP
สอบถาม