SIGN IN YOUR ACCOUNT TO HAVE ACCESS TO DIFFERENT FEATURES

FORGOT YOUR PASSWORD?

FORGOT YOUR DETAILS?

AAH, WAIT, I REMEMBER NOW!

Siam Collection

  • LOGIN
  • หน้าแรก
  • พระเครื่องและวัตถุมงคล
    • พระมหากษัตริย์
    • พระเกจิอาจารย์
    • พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
    • เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
    • ล็อกเก็ตและภาพถ่าย
    • เครื่องรางของขลัง
    • ปันกันชม
  • ศิลปะและของสะสม
  • สินค้า
    • สินค้าพร้อมจำหน่าย
    • สินค้าโปรโมชั่น
    • สินค้ายอดนิยม
    • สินค้าแนะนำ
    • สินค้าฝากขาย
    • สินค้าโชว์
    • สินค้าทั้งหมด
  • ประมูล
  • บทความ
  • เกี่ยวกับเรา
    • ติดต่อเรา
    • รับเช่า
    • รับทำเว็บไซต์พระเครื่อง
    • โฆษณากับเรา
    • สารบัญเว็บ
    • ข่าว
  • สั่งซื้อ-ชำระเงิน
    • วิธีซื้อสินค้า – วิธีชำระเงิน
    • วิธีประมูล – วิธีชำระเงินประมูล
    • แจ้งยืนยันการชำระเงิน
  • สมาชิก
    • My account
    • สมัครสมาชิก
  • No products in cart.
เข้าสู่ระบบ
  • Home
  • พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
  • รัชกาลที่ 9
  • ทรงสร้างและทรงเสด็จฯ เททอง
  • พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๔)
scadmin
วันอังคาร, 23 กุมภาพันธ์ 2021 / Published in ทรงสร้างและทรงเสด็จฯ เททอง, พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์, รัชกาลที่ 9

พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๔)

บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา
ที่มา:  ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

พระเครื่องฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ

ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ พระพุทธศาสนายุกาลล่วงพ้นเป็นเวลา ๒,๕๐๐ ปี นับตั้งแต่พุทธปรินิพพาน หรือการเสด็จดับขันธปรินิพพานของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือเดือนวิสาขะ

ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ รัฐบาลสมัยนั้น นำโดย จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้จัดงานเฉลิมฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ รวมทั้งการก่อสร้างพุทธมณฑล อ.ศาลายา จ.นครปฐม พร้อมด้วยพระประธานแห่งพุทธมณฑล ตลอดไปจนถึง “วัตถุมงคล ๒๕ พุทธศตวรรษ”

วัตถุมงคลที่เรียกชื่อกันว่า “พระ ๒๕ พุทธศตวรรษ” เป็นอีกหนึ่งวัตถุมงคล ที่ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช” ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธี ทั้งเททองและกดพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์ ตลอดทั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีพุทธาภิเษก ในช่วงต้นแห่งการสร้างวัตถุมงคลด้วยพระองค์

การจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนั้น คณะกรรมการได้นำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระราชวโรกาส เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธรูป และทรงกดพิมพ์พระพิมพ์เนื้อดิน เป็นปฐมฤกษ์

หนังสือ “พุทธมณฑลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” หน้า ๑๑๑-๑๑๒ ได้บันทึกเหตุการณ์ครั้งนั้น ความว่า …

“วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๐๐ เวลา ๑๖ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ มายัง วัดสุทัศนเทพวราราม เสด็จขึ้นบนพระวิหาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระศรีศากยมุนี แล้วเสด็จฯ ไปยังพระอุโบสถทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ ถวายศีลจบแล้วเจริญพระพุทธมนต์ ทรงจุดเทียน มหามงคล โหรบูชาฤกษ์ เวลา ๑๗ นาฬิกา ๘ วินาที ถึงเวลา ๑๗ นาฬิกา ๑๗ นาที เสด็จฯ ไปยังมณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถ ทรงเททองหล่อ “พระพุทธรูปทองคำแบบพุทธลีลา ๔ องค์” และทรงพิมพ์ “พระเครื่องฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ” ชนิด “พระเนื้อดินผสมผงเกสร ๓๐ องค์” เป็นปฐมฤกษ์ โหรลั่นฆ้องชัย เจ้าพนักงานประโคมสังข์แตร และดุริยางค์ สมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ ๒๕ รูป เจริญชัยมงคลคาถา พระราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณหลั่งน้ำพระมหาสังข์ เสด็จฯ กลับเข้าพระอุโบสถ สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ ถวายอดิเรกจบแล้วเสด็จฯ กลับ พระสงฆ์ ๒๕ รูป เจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว “พระคณาจารย์ ๑๐๘ รูป” นั่งปรกปลุกเสกบรรจุพุทธาคมต่อตลอดคืน”

จากบันทึกการจัดสร้าง “พระเครื่องฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ” ได้ระบุชัดเจนว่า ประกอบพิธี ณ วัดสุทัศนเทพวราราม ทั้งหมดตั้งแต่การเสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองหล่อ “พระพุทธรูปลีลาทองคำ ๔ องค์” และทรงกดพระพิมพ์เนื้อดินเป็นปฐมฤกษ์จำนวน ๓๐ องค์ จากนั้นอีก ๓ เดือน หลังการจัดสร้างพระครบตามจำนวนแล้ว คณะกรรมการจึงจัดพิธีพุทธาภิเษกที่พระวิหารพระศรีศากยมุนี โดยมี พระคณาจารย์ชื่อดัง ๑๐๘ รูป นั่งปรกปลุกเสกภายในวิหารคด

กล่าวได้ว่า ในสมัยรัตนโกสินทร์ ไม่มีพิธีกรรมการจัดสร้างพระเครื่องครั้งใดที่ยิ่งใหญ่เฉกเช่นพิธีสร้าง “พระฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ” เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ อีกแล้ว

ด้วยเป็นการสร้างจำนวนนับล้านองค์ และเป็นการสร้างด้วยเจตนาบริสุทธิ์ อีกทั้ง พระเกจิคณาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกมากถึง ๑๐๘ รูป

 

พระเครื่องฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ประกอบด้วย

๑. พระลีลา ๒๕ พุทธศตวรรษ เป็นพระพุทธรูปบูชา ปางลีลา ขนาดความสูง ๑๐ นิ้ว ใต้ฐานบัวลงไปเป็นฐานอีกชั้นหนึ่งประทับด้วย ตราครุฑ ฝีมือการออกแบบปั้นโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร

๒. เหรียญพระลีลา ๒๕ พุทธศตวรรษ จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ เนื้อชิน เนื้อเงิน

๓. เหรียญเสมาพระลีลา ๒๕ พุทธศตวรรษ เนื้อทองคำ

๔. พระลีลา ๒๕ พุทธศตวรรษ เนื้อแร่ (ผสมผงตะไบพระกริ่ง วัดสุทัศน์)

ทั้งนี้ “พระเครื่องฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ” ที่จัดสร้างทุกเนื้อและทุกแบบ มีจำนวนรวมกัน ทั้งสิ้น ๔,๘๔๒,๕๐๐ องค์

นอกจากให้ประชาชนได้เช่าบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลและนำรายได้ไปสมทบทุนสร้างพุทธมณฑลแล้ว ยังนำไปบรรจุกรุตามวัดและศาสนสถานสำคัญต่างๆ เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา

จำนวน ๔,๘๔๒,๕๐๐ องค์ มีความหมาย คือ

๑. เลข ๔ ในหลักล้าน เป็นจุดเริ่มต้นมีความหมายว่า “สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมศาสดาเอกของโลก” ตรัสรู้ “อริยสัจสี่” คือ “ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค” คือหลักความเป็นจริงอันเป็นสิ่งประเสริฐทำให้ห่างไกลจากศัตรูซึ่งก็คือ (กิเลส)

๒. เลข ๘ และเลข ๔ ในหลักแสนและหลักหมื่น มีความหมายว่า “พระอริยสัจสี่” (ความจริง ๔ ประการ ของพระอริยเจ้า) ที่สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ขออธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือจำนวน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ตรงกับความจริงอันประเสริฐ (๔ ประการ) ที่สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ แต่ต้องการให้จำนวนตัวเลขปิดท้ายตรงกับจำนวน พระพุทธศาสนายุกาล (อายุของพระพุทธศาสนา) ๕,๕๐๐ ปี จึงขยับ เลข ๘ มาอยู่ที่หลักแสน และเลข ๔ มาอยู่ที่หลักหมื่น

๓. เลข ๒ และเลข ๕ ในหลักพันและหลักร้อย ก็คือจำนวนปีที่พระพุทธศาสนายุกาล (อายุของพระพุทธศาสนา) ได้ยืนยงดำรงคงอยู่มาถึง ๒,๕๐๐ ปี แสดงให้เห็นว่า “พระอริยสัจสี่” หรือ “ความจริงอันประเสริฐ” ที่ สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมศาสดาเอกของโลก ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองและทรงนำมาประกาศสั่งสอนเผยแพร่ภายในระยะเวลา ๔๕ ปีแห่งพระชนม์ชีพของพระองค์ ได้มีอายุยืนยาวมาถึง ๒,๕๐๐ ปีแล้ว ภายหลังพุทธปรินิพพานเป็นต้นมา

พระเครื่องฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ได้มีการนำไปบรรจุกรุ ตามพระอารามสำคัญทั่วพระราชอาณาจักร ๑,๖๐๑,๔๗๔ องค์ นอกจากนั้น ให้ประชาชนบูชา ๓,๒๔๐,๘๔๖ องค์ นับเป็นจำนวนมากมายมหาศาล

ปัจจุบัน พระเครื่องฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ยังพอมีให้ผู้ที่สนใจได้บูชา สอบถามได้ที่สำนักงานพุทธมณฑล ถ.พุทธมณฑลสาย ๔ ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม


Post Views: 764
Tagged under: พระเครื่อง ร.9 ทรงสร้าง, รัชกาลที่ 9

What you can read next

โครงการ “เพราะแผ่นดินนี้ คือ แผ่นดินเกิด” ปี ๒๕๕๑
พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๑๔ – ตอนที่ ๒)
พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๗)

หมวดหมู่บทความ : บันทึกเพื่อศึกษา

  • บทความ (ทั้งหมด) OK
  • ประวัติการจัดสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคล OK
  • พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ OK
  • พระเกจิอาจารย์ OK
    • ประวัติพระเกจิอาจารย์ OK
    • หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร OK
    • หลวงพ่อน้อย ชุตินฺธโร OK
    • หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม OK
    • หลวงพ่อทรง ฉันทโสภี OK
  • พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ OK
  • เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ OK
  • อาจารย์ฆราวาส OK
  • เครื่องรางของขลัง OK
  • ล็อกเก็ตและภาพถ่าย OK
  • ศิลปะและของสะสม OK
  • ธรรมะและบทสวดมนต์ OK
  • มุมนักสะสม OK

บทความล่าสุด

  • เย็นศิระเพราะพระบริบาล ๘๐ พรรษา มหากษัตริย์คู่แผ่นดินสยาม

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ...
  • โครงการ “เพราะแผ่นดินนี้ คือ แผ่นดินเกิด” ปี ๒๕๕๑

    โครงการ “เพราะแผ่นดินนี้ คือ แผ่นดินเกิด” ปี ๒๕...
  • โครงการ “เพราะแผ่นดินนี้ คือ แผ่นดินเกิด” ปี ๒๕๔๘

    โครงการ “เพราะแผ่นดินนี้ คือ แผ่นดินเกิด” ปี ๒๕...
  • อยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูล

    ...
  • เครื่องรางของขลังคืออะไร ?

    ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ควา...

บทความยอดนิยม

  • จตุคามรามเทพ รุ่นโคตรเศรษฐี (7,138)
  • ประวัติท้าวเวสสุวรรณ วัดจุฬามณี (4,496)
  • ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่พรหมมา เขมจาโร วัดสวนหินผานางคอย อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี (4,433)
  • ปาฏิหาริย์ “หลวงพ่อสมปรารถนา” แค่ภาพถ่ายยังศักดิ์สิทธิ์ (3,847)
  • หลวงปู่ทวดเบ้าทุบ หล่อโบราณ รุ่น “ชนะคน” วัดสุทัศน์จัดสร้าง ปี 2538 (3,579)
  • ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร วัดโฆสิตาราม (วัดบ้านแค) ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท (3,528)
  • รายละเอียดและจำนวนการจัดสร้างวัตถุมงคลจตุคามรามเทพ รุ่น โคตรเศรษฐี (3,522)
  • ล็อกเก็ตเเละรูปหล่อหลวงพ่อกวยช่วยสร้างพระอุโบสถ (3,473)
  • ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อน้อย ชุตินธโร วัดเนินเวียง (เวียงสวรรค์) ต.บางมะฝ่อ อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ (3,418)
  • จตุคามรามเทพ รุ่นอภิปัญญามหาเศรษฐี (2,978)
  • พระนักธรรม หลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน จ.อ่างทอง (2,973)
  • ปาฏิหาริย์สมเด็จเหม็นหลวงพ่ออุ้น เรื่องเล่าจากประสบการณ์จริงของ “ทวี เฮงคราวิทย์” (2,944)
  • ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อชาญณรงค์ อภิชิโต ภิกขุ วัดรัชฎาธิษฐานราชวรวิหาร (วัดเงิน) แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร (2,778)
  • พิธีมหาพุทธาภิเษก จตุคามรามเทพ รุ่นโคตรเศรษฐี (2,617)
  • เปิดที่มาพระสมเด็จเหม็น หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง วัตถุมงคลชื่อดังเพชรบุรี (2,472)

หมวดหมู่สินค้า

  • พระเครื่องและวัตถุมงคล
    • พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
    • ล็อกเก็ตและภาพถ่าย
    • พระเกจิอาจารย์
    • พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
    • เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
    • พระดี น่าบูชา
  • ศิลปะ รูปภาพ และของสะสม
  • หนังสือ (ศิลปะ-ของสะสม)
  • เหรียญในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงผนวช วัดพนัญเชิง
    600 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า
  • ล็อกเก็ตในหลวง รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ รุ่นพระมหามณฑป
    950 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า
  • ล็อกเก็ตสมเด็จย่าและสมเด็จพระพี่นาง รุ่นพระมหามณฑป
    800 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า
  • ล็อกเก็ตในหลวง รัชกาลที่ 9
    750 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า
  • เหรียญหล่อ วชิราลงกรโณ ภิกขุ ปี 2521
    500 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า
  • เหรียญในหลวง รัชกาลที่ 9 เฉลิมพระชนมายุครบ 75 พรรษา เนื้อทองแดง
    450 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า
  • เหรียญรัชกาลที่ 5 ที่ระลึกเสด็จประพาสยุโรป (100 ปี ไกลบ้าน)
    500 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า
  • หนังสือ “A Visionary Monarch” เป็นหนังสือเกี่ยวกับในหลวง รัชกาลที่ 9
    1,500 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า
  • ล็อกเก็ตสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    500 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า

พระเครื่องและของสะสม

  • พระเครื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์
  • พระเครื่องและวัตถุมงคลพระเกจิอาจารย์
  • พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
  • เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
  • ล็อกเก็ตและภาพถ่าย
  • เครื่องรางของขลัง
  • ศิลปะ รูปภาพ และของสะสม
  • ปันกันชม (โชว์ของสะสม)

สินค้าในร้าน

  • สินค้าพร้อมจำหน่าย
  • สินค้าโปรโมชั่น
  • สินค้ายอดนิยม
  • สินค้าแนะนำ
  • สินค้าฝากขาย
  • สินค้าโชว์
  • สินค้าทั้งหมด
  • สินค้าที่ปิดการขาย

สยามคอลเล็คชั่น

  • เกี่ยวกับเรา – ติดต่อเรา
  • แจ้งยืนยันการชำระเงิน
  • วิธีซื้อสินค้า – วิธีชำระเงิน
  • วิธีประมูล – วิธีชำระเงินการประมูล
  • รับเช่า
  • รับทำเว็บไซต์พระเครื่อง
  • โฆษณากับเรา
  • สมัครสมาชิก

ติดต่อเรา

โทร. 063 639 2524
เฟสบุ๊ค : @SiamCollection.in.th
ไลน์ : @siamcollection

  • GET SOCIAL
Siam Collection

© 2021. All rights reserved.

Flag Counter
Flag Counter
TOP
สอบถาม