บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา
ที่มา: ampoljane.com
ผู้เขียน: อำพล เจน
นาคาธิบดีสีสัตตนาคบาดาล (8)
เรื่องอัศจรรย์ของหลวงปู่พรหมา ที่ได้แสดงให้หลวงปู่คำพันธ์เห็นว่า การเดินทางไปบิณฑบาตที่อำเภอธาตุพนม แล้วกลับมาทันฉันเช้าที่วัดธาตุมหาชัยนั้นสามารถทำได้
โดยข้อเท็จจริงแล้วไม่มีทางทำได้
ถึงจะอาศัยรถยนต์เป็นพาหนะทั้งขาไปและขากลับก็ทำไม่ได้ ให้เหยียบคันเร่งจนมิดตลอดเส้นทางก็ทำไม่ได้ ระหว่างวัดธาตุมหาชัย อำเภอปลาปาก กับอำเภอธาตุพนมมีระยะทางเกินกว่า 60 กิโลเมตร
อย่าว่าแต่สมัยปี 2515 ซึ่งเส้นทางทุรกันดารอย่างยิ่ง ต่อให้สมัยปัจจุบันนี้ถนนรนแค่มดีแล้วก็ยังไม่มีทางทำได้
หลวงปู่พรหมาได้กล่าวกับหลวงปู่คำพันธ์เพียงประโยคเดียวสั้นๆ
“นี่คือวิชาที่มีอยู่ในตำราที่อยากจะสอนให้”
ประโยคนี้เป็นเหตุให้หลวงปู่คำพันธ์เดินอกจากวัดธาตุมหาชัยตามหลวงปู่พรหมาไปยังวัดบ้านม่วงโดยไม่ลังเลสงสัยอีกต่อไป
ในปีนั้น (2515) หลวงปู่พรหมาได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านม่วง ตำบลโคกสูง อำเภอปลาปาก ซึ่งอยู่ห่างจากวัดธาตุมหาชัยประมาณ 10 กิโลเมตร หลวงปู่คำพันธ์ได้ติดตามมาฝากตัวเป็นศิษย์รับการถ่ายทอดวิชา แต่มิได้อยู่จำพรรษาด้วย หากแต่ใช้วิธีเทียวไปเทียวมาแทบทุกวัน ระหว่างวัดธาตุมหาชัยกับวัดบ้านม่วงมิได้ขาดตลอดพรรษา ซึ่งท่านก็ได้รับเมตตาจากหลวงปู่พรหมาสั่งสอนแนะนำวิชาให้โดยไม่ปิดบังอำพราง
หลวงปู่คำพันธ์สำนึกในเมตตาของหลวงปู่พรหมาและรู้คุณของครูบาอาจารย์อยู่เต็มหัวใจ ท่านได้ขอร้องพ่อใหญ่จำปา กอมสิน ชาวบ้านม่วงที่เป็นเพื่อนรักของท่านให้คอยอุปัฏฐากหลวงปู่พรหมาตลอดเวลาที่อยู่วัดบ้านม่วง พ่อใหญ่จำปาก็รับทำธุระนี้ด้วยความยินดี
ครั้นออกพรรษาแล้ว หลวงปู่พรหมาได้เดินทางออกจากวัดบ้านม่วงไปโดยไร้ร่องรอยและหายสาปสูญไปตั้งแต่บัดนั้น
ก่อนที่หลวงปู่พรหมาจะจากไป ได้ฝากตำราวิชานี้ไว้กับพ่อใหญ่จำปาเพื่อเอาไว้ถวายหลวงปู่คำพันธ์ ซึ่งหลวงปู่พรหมาท่านคงพิจารณาแล้วเห็นว่า พ่อใหญ่จำปาเป็นคนซื่อตรง ไว้วางใจได้ และยังเป็นผู้ที่ไม่รู้หนังสือ เมื่อฝากตำราไว้กับพ่อใหญ่จำปา ก็มั่นใจได้ว่าจะไม่รู้จักว่าเป็นหนังสืออะไร
หลังจากพ่อใหญ่จำปาได้ถวายตำราที่หลวงปู่พรหมาฝากไว้ให้หลวงปู่คำพันธ์แล้ว ในพรรษาปีถัดมา หลวงปู่คำพันธ์จึงอยู่จำพรรษาที่วัดบ้านม่วงเพื่อศึกษาเล่าเรียนวิชาจากตำรา อีกทั้งทบทวนข้อศึกษาอบรม แนะนำ ที่ได้รับจากหลวงปู่พรหมาอย่างตั้งอกตั้งใจและเอาจริงเอาจัง
ตำราเล่มนี้มีชื่อว่า วิชา 32 ธนู ซึ่งแค่เรียนได้เพียงธนูใดธนูหนึ่งก็สามารถแสดงฤทธิ์เหนือธรรมชาติได้อย่างน่าอัศจรรย์
เล่ากันว่าตลอดพรรษา หลวงปู่พรหมากับพ่อใหญ่จำปาได้ทดลองวิชากันในหลายลักษณะ โดยเฉพาะวิชาธนูหินและธนูไฟที่หลวงปู่คำพันธ์ได้สอนให้กับพ่อใหญ่จำปานั้นเป็นที่เลื่องลือกันมาก
พ่อใหญ่จำปาสามารถใช้ฝ่ามือตบใส่ต้นไม้ใหญ่ๆ เพียงครั้งเดียว ต้นไม้นั้นก็โค่นล้มลงมา
หรือกำถ่านไฟที่กำลังลุกแดงไว้ในมือจนกระทั่งไฟถ่านมอดดับคามือโดยไม่เป็นอะไร
เรียกว่าวิชาธนูหินและธนูไฟ ซึ่งอยู่ติดตัวพ่อใหญ่จำปาจนตลอดชีวิต
แต่แปลกที่พ่อใหญ่จำปาไม่ยอมถ่ายทอดวิชานี้ให้กับใครเลย แม้กระทั่งหลวงพ่อผายซึ่งเป็นลูกชายของพ่อใหญ่จำปาเอง
หลวงพ่อผายเล่าว่า เคยขอเรียนกับพ่อใหญ่จำปา แต่ท่านไม่สอน กลับบอกว่า ถ้าเจ้าอยากเรียนให้ไปขอเรียนกับหลวงปู่คำพันธ์เท่านั้น เพราะท่านเป็นผู้เดียวที่จะพิจารณาว่าควรสอนหรือไม่สอนใคร
“ทำไมจึงอยากเรียน”
“ทีแรกไม่คิดอยาก ไม่เคยรู้ว่าพ่อของอาตมาจะมีวิชาอาคมดี เห็นแค่เป็นคนแก่คนเก่าของหมู่บ้าน แต่วันหนึ่งก็เกิดเหตุ”
หลวงพ่อผายเล่าว่า สมัยนั้นยังไม่ทันบวช ยังเป็นฆราวาส พ่อใหญ่จำปาชวนไปตัดไม้มาปลูกเรือน หลวงพ่อผายกำลังเอาขวานฟันต้นหนึ่งซึ่งไม่ใหญ่นัก คือ ราวโคนขาของคนเรา ยังฟันไม่ขาด ข้างหลังก็มีไม้ขนาด 1 คนโอบล้มตึงลงมา
เห็นพ่อใหญ่จำปายันอยู่ตรงนั้นด้วยมือเปล่า ๆ แถมยังคุยเขื่องอีกด้วย
“ต้นที่ลูกกำลังโค่นนั้น พ่อแค่เอานิ้วดีดก็ล้มแล้ว”
หลวงพ่อผายจึงเกิดอัศจรรย์ในพ่อของท่านเอง แต่เมื่อไปขอเรียนกับหลวงปู่คำพันธ์ก็ได้รับคำปฏิเสธไม่สอนให้
ปัจจุบันหลวงพ่อผายพำนักอยู่วัดบ้านม่วง ส่วนพ่อใหญ่จำปาเสียชีวิตไปก่อนหลวงปู่คำพันธ์นานแล้ว
ในสมัยที่หลวงปู่คำพันธ์ศึกษาวิชา 32 ธนู และทดลองวิชากับพ่อใหญ่จำปานั้น กล่าวกันว่าไม่ใคร่มีใครได้เห็นหลวงปู่แสดงฤทธิ์ แต่พ่อใหญ่จำปานั้นคนเห็นกันมาก
กระนั้นก็ยังมีครั้งหนึ่งซึ่งสามเณรทองและสามเณรสมาน (ขณะ พ.ศ. 2515-2516) ได้ประสพและไม่เคยลืมจนตลอดชีวิต จนกระทั่งได้เล่าให้ลูกหลานฟังสืบต่อกันมา
ระหว่างพรรษาที่วัดบ้านม่วงนั้น หลวงปู่ได้เรียกสามเณรทอง และสามเณรสมานไปที่ห้วยวังจานด้วยกัน ซึ่งบริเวณนั้นเป็นห้วงน้ำกว้างใหญ่ น้ำใส ลึกราวๆ 4 เมตร ห้วยนี้อยู่ห่างจากวัดธาตุมหาชัยราวๆ ครึ่งกิโลเมตร
เมื่อไปถึงริมฝั่งห้วยวังจาน หลวงปู่ได้สั่งและกำชับสามเณรทองกับสามเณรสมานว่า ให้นั่งรออยู่บนบก ไม่ต้องลงไปในน้ำ เดี๋ยวตัวหลวงปู่จะลงไปทำธุระในน้ำ ให้รออยู่บนนี้ ห้ามไปไหน พอสั่งกำชับแน่ชัดเป็นที่เข้าใจแล้ว หลวงปู่ก็เดินลงน้ำจมหายไป
สามเณรทั้ง 2 ปฏิบัติตามคำสั่งของหลวงปู่อย่างเคร่งครัด นั่งคอย นอนคอย จนทนไม่ไหวถึงออกอาการกระสับกระส่าย กระวนกระวาย ไม่รู้ว่าหลวงปู่ทำไมหายลงไปใต้น้ำนานจนเกินไปขนาดนั้น
สามเณรสมานซึ่งต่อมาคือ พ่อตาของมหาฮงผู้เป็นศิษย์ใกล้ชิดปรนนิบัติหลวงปู่คำพันธ์ตั้งแต่เป็นเณรจนเป็นมหา ได้บอกว่า
“หลวงปู่หายลงไปในน้ำห้วยวังจานเกิน 1 ชั่วโมง”
ในที่สุดก็ทนรอไม่ไหว เกรงว่าหลวงปู่อาจจะเป็นอะไรไป อาจจะมรณภาพอยู่ใต้น้ำไปแล้ว จึงตัดสินใจชวนกันกระโดยน้ำตามลงไปดู
ปรากฏว่าเมื่อดำน้ำลงไปแล้ว กลับเห็นหลวงปู่นั่งขัดสมาธิอยู่บนก้อนหินใต้น้ำนิ่งอยู่ พอเข้าไปใกล้ท่านก็ลืมตาขึ้นแล้วโบกมือไล่สามเณรทั้งสองให้ถอยกลับคืนไป
หลังจากนั้นสักพักใหญ่หลวงปู่จึงกลับคืนมาขึ้นฝั่ง
เรื่องอัศจรรย์นี้สามเณรทั้ง 2 ไม่เคยลืมเลือนตลอดชีวิต
วิชาที่หลวงปู่ใช้ลงไปอยู่ใต้น้ำได้เป็นเวลานับชั่วโมงหรือ 2 ชั่วโมงนี้ จะเป็นวิชาธนูอะไรก็ไม่ทราบ แต่ก็นับได้ว่าเป็นเรื่องอภินิหารที่สามเณรทั้ง 2 มีวาสนาได้ประสพกับตาตนเองอย่างแท้จริง
ปัจจุบันสามเณรทองเสียชีวิตไปแล้วก่อนหลวงปู่มรณภาพหลายปี ส่วนสามเณรสมานก็เสียชีวิตไปแล้วเช่นกัน คงเหลือแต่มหาฮงเป็นผู้สืบทอดเรื่องราวน่าอัศจรรย์นี้ต่อมา
ในตำรา 32 ธนูนี้ ก็ปรากฏการบันทึกศาสตร์วิชาทำรูปพญานาคอยู่ด้วย ดังนั้นรูปพญานาคนี้จึงควรค่าแก่การเคารพบูชาเป็นอย่างยิ่ง
ต่อไปจะแสดงรายละเอียดของมวลสาร และองค์ปลุกเสกตามลำดับ
มวลสารนาคาธิบดีสีสัตตนาคบาดาล (พญาศรีสัตตนาคราช) มี 77 รายการ ดังนี้
1. ผงรูปศาลเจ้า 3 ศาล วารินฯ พิบูลฯ อุบลฯ
2. ผงพระปิดตาดินเก้าบัง ลป.คำพันธ์
3. เปลือกไม้เจ้าแม่ตะเคียนทองคู่ หน้าแก่งสะพือ
4. ผงไม้พญารากเดียว + ไม้ไหม้ไฟดอนปู่ตา พิบูลฯ และรังผึ้งร้าง
5. ผงจิตกาธาร ลป.เทสก์ วัดหินหมากเป้ง
6. ผงไม้กุฏิสำเร็จตัน
7. กระเบื้องมุงหลังคากุฏิหลวงปู่เสาร์
8. กระเบื้องหลังคาโบสถ์วัดอำมาตย์ (หลวงปู่เสาร์มรณภาพที่นี่)
9. คดหิน ลป.คำพันธ์ อธิษฐานจิต (มาจากจังหวัดน่าน, ภูซาง)
10. ผงมูลโคอุสุภราช
11. ผงกระเทาะออกมาจากผิวพระประธานโบราณ
12. ผงพระสมเด็จรุ่นแรกวัดแก่งคอย
13. ผงเก่าของเจ้าคุณอุบาลีฯ สิริจันโท วัดบรมนิวาสฯ
14. ปฐวีธาตุ ลป.คำพันธ์ บดผสมลงไป
15. กิ่งโพธิตายพราย
16. กิ่งมะขามตายพราย
17. หินสถูปเจดีย์วัดแก่งคอย
18. กิ่งลำดวนวัดแก่งคอย
19. ดินโพนโพธิ์ วัดแก่งคอย
20. ผงธูปจากวัดทั่วโลก
21. ดินจากทั่วโลก 5 ทวีป
22. ผงพระกรุเก่าอยุธยา
23. ดินภูหล่น
24. ดินสังเวชนียสถาน 4 แห่ง (อินเดีย)
25. ดินเมรุ หลวงปู่หนุ่ย
26. กิ่งโพธิ + ใบโพธิสำเร็จลุน
27. ดินเกล็ดถ้ำ ลป.พรหมา
28. ผงนิลกาฬ ลผ.อุตตมะ
29. ดินพระธาตุท่าอุเทน
30. ผงพระกำแพงศอก ลป.ดูลย์ + ลป.สาม
31. ผงขี้เถ้าธนบัตรพันล้าน ลผ.ดำ
32. ผงอิฐหินปราสาทบายน (นครวัด)
33. ดินพระธาตุพนม
34. แร่เหล็กน้ำพี้ + ผงงาช้าง ลผ.เปิ่น วัดบางพระ
35. ผงยาวเสนา ลผ.เปิ่น วัดบางพระ
36. ผงอิทธิเจ วัดราชผาติการาม
37. ผง ลผ.จ่าง วัดเขื่อนเพ็ชร
38. ผงดอกวาสนาของอำพล เจน
39. ผงยอดปราสาท วัดพระแก้ว
40. ผงรังต่อ ลป.คำพันธ์
41. ผง ลป. เครื่อง วัดสระกำแพงใหญ่
42. ผงไม้แก่นจันทน์หอม
43. ดินพระธาตุจอมทอง
44. ผง ลพ.ทวด ปี 2500 วัดช้างไห้
45. ผงงาช้างแมมมอธ ลผ.อุตตะมะ
46. ผงแร่ ลป.อ่อน วัดลุมพินี
47. ผงแร่เกาะล้าน
48. ผงดินดำ ลผ.ทวด
49. ผง 108 อาจารย์ (รวบรวมไว้เก่า)
50. ผงไม้จันทน์หอม ลผ.อุตตมะ
51. ผงพระหักบุเรงนองหลังกบของเก่า
52. ผงเกสรดอกไม้ อจ.ตึง วัดสมเด็จ
53. ผงว่าน 108 ลผ.อุตตมะ
54. ผงว่าน 108 ของ อจ.มะแฮ
55. ผงเกล็ดพระมหาธาตุนภเมทนีดล
56. ผลเกล็ดพระมหาธาตุเจดีย์นภพลภูมิสิริ
57. ผงดินพุทธคยา + 7 วัดในอินเดีย
58. ผงดินรัตนะ ลผ.สง่า วัดหนองม่วง
59. ทรายเสก ลผ.แช่ม วัดดอนยายหอม
60. ผงกามเทพ
61. ผงหลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง
62. ผงเม็ดพระศกพระพุทธรูปโบราณในอุโบสถสร้างเมืองลาว
63. น้ำมนต์ ลป.พรหมา
64. น้ำมนต์ ครูบาดวงดี
65. น้ำมนต์ ลผ.คูณ
66. น้ำมนต์ ลผ.อุตตมะ
67. น้ำมนต์ ลผ.แช่ม วัดดอนยายหอม
68. น้ำมนต์ ลป.สิม วัดถ้ำาผาปล่อง
69. น้ำมนต์ ลผ.เกษม เขมโก
70. น้ำมนต์ ลป.เปลี้ย วัดชอนสารเดช
71. น้ำมนต์ ลป.คำพันธ์
72. น้ำมนต์ 100 ปี วัดบวรนิเวศ
73. น้ำมนต์ ลผ.สมชาย วัดเขาสุกิม
74. น้ำมนต์หลวงตามหาบัว วัดบ้านตาด
75. ผง ลป.แหวน ดอยแม่ปั๋ง
76. ผงหินอาถรรพณ์ สามเหลี่ยมมรกต
77. ผงลบกระดาน อจ.หอม
ผสมมวลสาร 12.00 น. วันที่ 18 เมษายน 2549
รายละเอียดเกี่ยวกับองค์ปลุกเสกเอาไว้ฉบับหน้าค่อยคุยกัน