วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง
- เพื่อเป็นทุนในการซื้อที่ดิน ของสำนักสงฆ์ป่าคูเมือง จ.ชัยภูมิ เพื่อให้สามารถจัดตั้งเป็นวัดได้ และสร้างถนนตลอดจนเสนาสะต่างๆ
- เพื่อร่วมสมทบทุนสร้างวิหารหลวงพ่อขาว วัดดอนกระต่ายทอง อ.ไชโย จ.อ่างทอง
- ร่วมสมทบทุนในการสร้างหอสงฆ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น เพื่อเป็นสถานที่ดูแลภิกษุสงฆ์ที่อาพาส โดยให้ถูกต้องตามพระวินัย
- เพื่อสมทบในการสาธารณกุศลและบำรุงเสนาสนะต่างๆ ถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจริญพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา และถวายกุศลแด่องค์จตุคามรามเทพ ตามปณิธานแห่งพระโพธิสัตว์
คติที่มาของในการออกแบบ
หากย้อนกลับไปเมื่อครั้งเริ่มสร้างศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราชในราวปี 2528-2532 วัตถุมงคลชิ้นแรกที่มีการจัดสร้างนั่นก็คือ เศียรองค์พ่อ ที่ถอดแบบจากบานประตูไม้ที่ทางขึ้นพระบรมธาตุฯ ที่วิหารทรงม้า โดยทำการหล่อเป็นปูนปลาสเตอร์ขึ้น ซึ่งเป็นรูปต้นแบบของการแกะสลักยอดเสาหลักเมืองตามที่องค์พ่อได้บอกกล่าวในครั้งนั้น เมื่อทำการหล่อต้นแบบแล้วได้นำไปให้องค์พ่อดู ปรากฏว่าท่านได้นำรูปหล่อปูนปลาสเตอร์นั้นเข้าไปกอดและพูดว่า แต่ก่อนมีเพชรนิลจินดาประดับอยู่เต็มไปหมด แต่พวกมันมาเอาของกูไปจนไม่เหลือ (จากข้อเขียนของคุณสุวัฒน์ เหมอังกูร) สำหรับรูปบานประตูไม้แกะสลัก ที่วิหารทรงม้า ภายในวัดพระบรมธาตุฯ บานที่นำมาถอดแบบหล่อปูนปลาสเตอร์นั้น ลักษณะรูปแบบคือมี 2 เศียร 4 กร ถืออาวุธ 4 อย่าง คือ ตรี จักร ไม้เท้าหรือคันศร และสายประคำ
ในทางโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นงานปฏิมากรรมแกะสลักที่มีลักษณะผสมระหว่างคติทางพราหมณ์ บางคนก็ว่าเป็นพระนารายณ์ และคติทางพุทธมหายาน ซึ่งเป็นรูปนิรมานกายของพระโพธิสัตว์ ที่มีลักษณะเป็น 2 เศียร หรือเป็นร่างแปลงธรรมตัวแทนแห่งการรวมกันเป็นหนึ่งของท้าวจัตตุคาม และ ท้าวรามเทพ จึงเกิดเป็นลักษณะ ๒ เศียร ๔ กร แต่มีเพียงสองเท้า เพื่อสื่อแสดงถึงความเป็นเทวะตามอย่างคติทางพราหมณ์ แม้แต่การสร้างพระผงสุริยันจันทราหรือน้ำตาลแว่นอันโด่งดังนั้น หากสังเกตให้ดีจะพบว่าได้นำรูปบานประตูไม้แกะสลักดังกล่าว ทำเป็นรูปองค์พ่อนั่งชันเข่า เป็นประธานอยู่ท่ามกลางวัฎจักรนักษัตร 12 ราศี และรายล้อมด้วยพระราหู 8 ตน
จากรูปแบบดังกล่าว ทางคณะผู้สร้างเล็งเห็นถึงความสำคัญของรูปลักษณ์นี้ จึงนำมาเป็นต้นแบบเค้าโครงหลักของการจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่น มหาปาฏิหาริย์มั่งมีทรัพย์ โดยอ้างอิงเข้ากับศิลปะศรีวิชัย อันเป็นศิลปะแห่งดินแดนอาณาจักรทะเลใต้ ซึ่งเชื่อว่า องค์จตุคามรามเทพ เป็นกษัตริย์ผู้มีอำนาจแผ่ไพศาลปกครองในดินแดนแห่งนี้
รูปแบบลักษณะ
ด้านหน้า เป็นรูปองค์จตุคามรามเทพปางมหาปาฏิหาริย์ 2 เศียร 4 กร ถืออาวุธครบ ด้วยรูปแบบศิลปะศรีวิชัย ประทับนั่งบนดอกบัว อันแสดงถึงความเป็นพระโพธิสัตว์ มีพญานาคราช 5 เศียร ปกป้องเพื่อคอยอารักขา ด้านล่างเป็นเกลียวคลื่นน้ำ หมายถึงดินแดนแห่งทะเลใต้ คืออาณาจักรศรีวิชัยนั่นเอง ฝ่าเท้าขององค์พ่อเหยียบลงบนตัวพญานาค บ่งบอกถึงการทรงอำนาจบารมีอันยิ่งใหญ่เหนือแผ่นดินแผ่นน้ำ ด้านหลังองค์พ่อคือก้อนเมฆ หมายถึงท้องฟ้า รวมความแล้ว คือ องค์จตุคามรามเทพ บารมีแผ่ไพศาลทั่วพื้นฟ้าจรดแผ่นน้ำ ทรงมหาปาฏิหาริย์อันยิ่งใหญ่เหนือฟ้าเหนือดิน
ด้านหลัง เป็นรูปดวงตราพญาราหู 8 ตน ประจำในทิศใหญ่ทิศน้อยทั้ง 8 ทิศ หรือ ความหมายอีกนัยหนึ่งคือ นามวันทั้ง 8 เพื่อคอยกลืนกินสิ่งไม่ดี เคราะห์ร้ายทั้งหลาย คอยปกป้องอันตรายทั้ง 8 ทิศ ไม่ให้กล้ำกลายเข้ามา รายล้อมอยู่รอบวัฏจักรนักษัตร 12 ราศี อันเป็นสัญญลักษณ์แห่งนามปี คือ ความเจริญก้าวหน้ารุ่งเรืองขึ้นในทุกๆ ปี และมีเม็ดประคำจำนวน 32 เม็ด หมายความถึงอาการวัตรทั้ง 32 ประการ คือความบริบูรณ์ของอาการ 32 ไร้โรคาพยาธิ ตรงกลางเป็นรูปพระบรมธาตุฯ อันเป็นสัญญลักษณ์ที่สำคัญในทางพระพุทธศาสนาและเมืองนครศรีธรรมราช ใจกลางปรากฏเป็นยันต์อักขระ 3 ตัว คือ หัวใจธรณี หัวใจมนุษย์ หัวใจฟ้า นับเป็นปฐมอักขระแห่งยันต์ของพระสายจตุคามรามเทพก็ว่าได้ ซึ่งถือเป็นยันต์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ตามคติธรรมของชาวศรีวิชัยแต่ครั้งโบราณ และสถิตย์อยู่ด้านหลังของพระผงสุริยันจันทรา รวมถึงพระพุทธสิหิงค์ที่สร้างในปี 2530 ระหว่างพระราหูจะมีอักขระอุณาโลม นับเป็นการรวมเอาคติธรรมทางโหราศาสตร์และดาราศาสตร์อันลึกซึ้งของชาวชวากะ ให้เข้ารวมกันอย่างกลมกลืนและเป็นหนึ่งเดียว
นอกจากนี้ ยังมีมวลสารต่างๆ อีกมากมายหลากหลายชนิด ได้รับความเมตตาจากท่านผู้ใหญ่หลายท่าน ที่มอบมวลสารต่างๆ เพื่อใช้ในการจัดสร้างพระในครั้งนี้ โดยมีรายละเอียดของมวลสารดังต่อไปนี้
- ผงจิตรลดา (กำลังแผ่นดิน) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โดยสมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงประทานแก่ท่านเจ้ากรมสื่อสาร ทหารอากาศ พล.อ.ท. จิโรจน์ ฉายะพงษ์ เพื่อจัดสร้างพระพุทธสิหิงค์ ส.ทอ.
- ผงข้าวที่เหลือจากการเสวย และดอกไม้บูชาพระ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนิน ณ.วัดศรีดอนมูล จ.เชียงใหม่
- ผงธูปที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ผงพระพุทธสิหิงค์ของกรมการสื่อสารทหารอากาส พิธี 60 ปี ธรรมศาสตร์ ณ. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ผงอธิษฐานจิตจาก 600 คณาจารย์ ในงานพิธีสมโภชน์ 600 ปี เจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่
- ผงพระธาตุ 500 อรหันต์ จากถ้ำตับเตา จ.เชียงใหม่
- ผงพระธาตุพระสิวลีและพระอรหันตสาวก
- ดินสังเวชนียสถานทั้ง 4 จากชมพูทวีป
- ผงวิเศษจากถ้ำพระธรรมมาสน์ จ.พิษณุโลก
- ผงตะไบแผ่นทองชนวนพระพุทธสิหิงค์ ส.ทอ. จากพระคณาจารย์ 140 รูป ทั่วประเทศ อาทิ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ, หลวงพ่ออุตตมะ กาญจนบุรี
- ผงว่าน 108 ชนิด
- ผงว่านยาจากการสร้างพระกลีบบัว ของหลวงปู่หล้า (ตาทิพย์) วัดป่าตึง จ.เชียงใหม่
- ผงพุทธคุณทั้ง 5, ผงสูรย์-จันทร์, ผงสูญนิพพาน และผงมหาจักรพรรดิ ของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา
- ทรายเสก 8 พิธีมหาพุทธาภิเษก
- ผงว่าน 108 และดินกากยายักษ์ ของครูบากองแก้ว วัดต้นยางหลวง จ.เชียงใหม่
- ข้าวสารดำและข้าวสารหิน
- ผงดินถ้ำบาดาล ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
- ผงธูปและดอกไม้บูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ
- ผงธูปและดอกไม้บูชาพระ วิหารสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา
- ผงธูปและดอกไม้บูชาพระหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา
- ผงก้นกรุ จ.พระนครศรีอยุธยา
- ปูนองค์พระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่
- ดินพระธาตุศรีจอมทอง จ.เชียงใหม่
- ผงธูปและดอกไม้บูชาพระ ณ วิหารสมเด็จพระพุทธาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
- ผงเศษหยก, เครือสาวหลง, กะลาตาเดียว
- ผงธูป, ผงทอง และดอกไม้ ศาลพระกาฬ จ.ลพบุรี
- ผงธูปในวิหารพระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์ จ. เชียงใหม่
- ผงฤาษีพนมไพร อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด
- ผงไม้งิ้วดำ, กาหลงรัง
- แร่เหล็กไหล, หินเขี้ยวหนุมาน
- ผงเกษรดอกไม้มงคล
- ผงชนวนพระกริ่งวัดชิโนรส กรุงเทพฯ
- ผงธูปและปฐวีธาตุ หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ วัดพระธาตุมหาชัย จ.นครพนม
- ผงระฆังเงิน ขุดพบในกรุวัดร้าง จ.พระนครศรีอยุธยา
- ผงวัดสามปลื้ม, ผงพระวัดปากน้ำรุ่น 1, 2, 3, 4
- แป้งเสก หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข จ.สิงห์บุรี
- ผงกาฝากทั้ง 9 อาทิ มะรุม, มะยม, รัก, คูณ ฯลฯ
- ผงยันต์เกราะเพชร หลวงพ่อปาน สุนันโท วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา
- ผงอิทธะเจ หลวงพ่อเดิม พุทธสโร วัดหนองโพธิ์ จ.นครสวรรค์
- ผงพุทโธ หลวงพ่อเภา วัดถ้ำตะโก จ.ลพบุรี
- ผงพุทธคุณ หลวงปู่รุ่ง วัดเชิงท่า จ.ลพบุรี
- ผงพรายกุมาร หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ จ.ระยอง
- ผงญาณวิลาศ หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี
- ผงพระกรุสมเด็จสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)
- ผงพระกรุวัดเงิน คลองเตย กรุงเทพฯ
- ผงพระโคนสมอเนื้อดิน
- ทรายทองคำพระธาตุพนม จ.นครพนม
- ผงกรุทับข้าว จ.สุโขทัย
- ผงพระรอด, พระคง วัดมหาวัน จ.ลำพูน
- ผงกรุนาดูน อ.นาดูน จ.มหาสารคาม
- ผงยาจินดามณี หลวงปู่บุญ, หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม
- ผงบ่อดินเทวดา และผงวิเศษ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดอรัญญวิเวก จ.นครพนม
- ผงพระ หลวงปู่หลอด ปโมทิโต วัดใหม่เสนานิคม กรุงเทพฯ
- ดินกากยายักษ์, ดินที่ฝังรก และผงธูป หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ จ.ปัตตานี
- ชันนะโรงใต้ฐาน พระเสตังคมุณี (พระแก้วขาว) วัดเชียงมั่น จ.เชียงใหม่
- ผงพระวัดป่าชัยวัน จ.ขอนแก่น พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม วัดป่าสาลวันและพระกรรมฐานกว่า 100 รูป อธิษฐานจิต
- ยาเส้น หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา
- ข้าวก้นบาตรหลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดภูจ้อก้อ จ.มุกดาหาร
- ผงพระสมเด็จบางขุนพรหมที่ชำรุดเมื่อคราวเปิดกรุ พ.ศ. 2500
- ผงแป้งเสกและน้ำมันจันทร์ หลวงปู่หล้า (ตาทิพย์) วัดป่าตึง จ.เชียงใหม่
- ผงแป้งเสกหลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
- ผงพุทธคุณทั้ง 5 หลวงปู่เลี้ยง สุชาโต วัดหนองเต่า จ.ลพบุรี
- ผงพุทธคุณล้วน หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท
- พลอยเสกและทับทิมเสก หลวงปู่เกษม เขมโก, หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศา ฯลฯ
- น้ำมนต์หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา
- น้ำมนต์หลวงปู่มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
- น้ำมนต์ 108 วัด
- น้ำอบไทยเสก หลวงปู่เกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง
- น้ำมันว่าน 108 ชนิด ปี พ.ศ. 2528 วัดหนองแวงเมืองเก่า จ.ขอนแก่น
- น้ำมันชาตรี หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
- น้ำผึ้งเสาร์ 5
- ไคลเสมา, ดินโบสถ์ วัดทรายขาว จ.ปัตตานี
- สีผึ้ง หลวงปู่หล้า (ตาทิพย์), หลวงปู่ดู่, หลวงปู่จันทร์โสม
- ดินใจกลางประเทศ ซึ่งหลวงปู่ทวดเคยมาพักจำพรรษา ณ วัดราชานุวาส จ.พระนครศรีอยุธยา
- ข้าวสารเสก ครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร วัดพระธาตุดอนเรือง ประเทศพม่า
- ทรายเสก หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
- ลูกแก้วมณีนพรัตน์, สายสิจญ์เปิดโลก, กระจกโลงแก้ว หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา
- หมากพูล และไม้โลง หลวงพ่อสนธิ์ วัดไทรย์ จ.อ่างทอง
- ดอกไม้บูชา หลวงปูเลี้ยง สุชาโต วัดหนองเต่า จ.ลพบุรี
- ผงศักดิ์สิทธิ์ หลวงปู่กอง จันทวังโส วัดสระมณฑล จ.พระนครศรีอยุธยา
- อิฐเจดีย์ยุทธหัตถี อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี
- อิฐพระสถูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมืองงาย จ.เชียงใหม่
- อิฐพระสถูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมืองหาง ประเทศพม่า
- ผงพระที่แตกหักชำรุดอีกมากมายจากหลายสำนัก อาทิ เจ้าคุณนรฯ, หลวงปู่ขาว, หลวงพ่อตาบ ฯลฯ