บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา
ที่มา: ampoljane.com
ผู้เขียน: อำพล เจน
มีผู้สับสนสงสัยถามไปถึงผมมากว่าพระฤาษี รุ่น 7 เป็นรุ่นเดียวกับที่โฆษณาอยู่ทั่วไปว่าเป็นรุ่นฉลองอายุ 96 ปี หรือรุ่นสร้างบันไดใช่หรือไม่
คำตอบคือ ไม่ใช่ ….
ต่อไปจะได้อธิบายถึงกระบวนการจัดสร้างพระฤาษี รุ่น 7
ชื่อของพระฤาษีรุ่น 7 คือ “ฤาษีพรหมมุตตมะ”
เป็นชื่อเป็นนามที่เกิดจากคำ 2 คำ “พรหมา+อุตตมะ”
เรียกว่าเป็นพระฤาษี 2 อาจารย์ สำเร็จเป็นองค์พระฤาษีที่สมบูรณ์ด้วยอำนาจและบารมีของ “หลวงปู่พรหมา เขมจาโร” สำนักสวนหิน สุดแดนสยามตะวันออก กับ “หลวงพ่ออุตตมะ อุตฺตมรมฺโภ (พระราชอุดมมงคล)” วัดวังก์วิเวการาม สุดแดนสยามตะวันตก
เป็นนิมิตหมายแห่งทิวาอันแจ่มใส นับแต่อาทิตย์อุทัยที่อุบลราชธานี ตราบวาระอาทิตย์อัสดงที่กาญจนบุรี
เป็นเรือลำเดียวกันที่มีทั้งหัวเรือและหางเสืออันวิเศษ
เป็นการ Screen ครูบาอาจารย์ผู้ปลุกเสกที่เชื่อหมดใจแล้วว่าสมบูรณ์ยิ่งด้วยบุญ, ด้วยฤทธิ์ และบารมีธรรม
และเป็นการปลุกเสกอย่างเต็มใจของทั้ง 2 พระอาจารย์
(รายละเอียดการปลุกเสกจะลงตีพิมพ์ให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง)
มวลสารอันประกอบขึ้นเป็นองค์พระฤาษีทั้งใหญ่และเล็ก
- ผงงาช้าง, ผงนิลกาฬ, ผงไม้จันทน์หอม ผงว่านของหลวงพ่ออุตตมะ (เสกผงแล้ว)
- ผงเกสรดอกไม้ของอาจารย์ตึง วัดสมเด็จ กาญจนบุรี
- ผงดินพุทธคยาและวัดต่างๆ ในอินเดีย
- ผงลบกระดานของอาจารย์ตึง
- ผงดินรัตนะของหลวงพ่อสง่า วัดหนองม่วง โพธาราม จ.ราชบุรี
- ผง 108 คณาจารย์ ของผู้ว่าฯ ณัฐ จ.กาญจนบุรี มอบให้
- ผง 108 อาจารย์ของ อ.อนันต์ สวัสดิสวนีย์ มอบให้
- ผงพุทธคุณของอาจารย์โอภาสะ
- ผงไม้ว่านของหลวงพี่มะแฮ จากพม่า
- ผงอิทธิเจมหาลาภ ปี 2534 ของหลวงปู่พรหมา เขมจาโร
- ผงพระฤาษีรุ่นแรก-รุ่น 6 ของหลวงปู่พรหมา เขมจาโร
- ผงมณฑปพระธาตุจอมทอง เชียงใหม่
- ผงดินพระธาตุพนม และพระธาตุท่าอุเทน นครพนม
- ผงไม้โพธิ์ตายพราย กิ่งที่ชี้ทางทิศตะวันออก
- ผงดินก้นกรุเจดีย์บางขุนพรหม ที่บรรจุพระสมเด็จบางขุนพรหม คุณวรพร ทองดีเลิศ มอบให้
- ผงพระบุเรงนองหลังกบ ที่เชื่อกันว่าอาจารย์ของบุเรงนองเป็นผู้สร้างไว้ อาจารย์องค์นี้ เรียกชื่อว่า “ภู ภู เอา” เดิมบวชเป็นพระ ศึกษาจนสำเร็จวิชาปรอท มีฤทธิ์มาก ซึ่งผลที่สำเร็จวิชาปรอท ทำให้เกิดความลังเลว่า ศีล 227 ข้อ อาจรักษาไม่ได้บริสุทธิ์ จึงสึกออกมาบำเพ็ญพรตเป็นพระฤาษีอยู่แต่ในป่า และบุเรงนอง กษัตริย์พม่าเคารพนับถือเป็นอาจารย์ ก่อนเข้าตีไทยได้จัดการขอร้องให้อาจารย์ภูภูเอาสร้างของขลังให้แก่ทหารทั้งหลาย จึงเกิดพระบุเรงนองหลังกบขึ้นมา หลังจากตีไทยสำเร็จแล้ว เชื่อว่าได้มีการนำพระบุเรงนองกลับมาคืนอาจารย์ฤาษีภูภูเอา และได้เก็บไว้ในถ้ำตลอดมา
หลวงพ่ออุตตมะได้เล่าว่า สมัยที่ธุดงค์ในป่าพม่าแต่เก่าก่อนนั้น ได้เข้าไปถึงถ้ำแห่งนั้น ท่านทราบโดยวาระจิตว่าถ้ำนี้มีของดี และสำรวมจิตเป็นสมาธิ จนรู้จักว่ามีพระเครื่องที่สร้างโดยฤาษีภูภูเอา พระอาจารย์ของบุเรงนองฝังซ่อนอยู่ แต่ท่านก็ไม่ได้ขุดเอามาแม้แต่องค์เดียว ภายหลังได้เล่าให้ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดฟัง จึงถูกรบเร้าให้ไปเอามา ท่านจึงมอบหมายให้ผู้มีวิชาอาคมแก่กล้าไปดำเนินการเอาพระบุเรงนองหลังกบนั้นมา เมื่อนำมาแล้ว พบว่าพระแตกหักเสียหายเป็นอันมาก ที่สมบูรณ์ก็ได้แจกจ่ายไปจนหมด
หลวงพ่ออุตตมะได้บอกว่า พระบุเรงนองหลังกบนี้ จริงๆ แล้วด้านหลังพระที่ใครๆ เห็นว่าเป็นรูปกบนั้น คือ รูปพระฤาษีกำลังเหาะ แต่ทำดูคล้ายกบ จึงเรียกเป็นกบไป และอายุพระชุดนี้ไม่น้อยกว่า 400 ปี
ผงพระบุเรงนองหลังกบนี้ หลวงพ่ออุตตมะได้มีเมตตามอบให้มาเพื่อสร้างรูปเหมือนขนาดห้อยคอกับรูปเหมือนพิมพ์ 4 เหลี่ยมของท่านเอง ซึ่งทั้งรูปเหมือนของหลวงพ่ออุตตมะ กับพระฤาษี รุ่น 7 ก็สำเร็จขึ้นด้วยมวลสารอันเดียวกันทุกประการ (เกี่ยวกับรูปเหมือนหลวงพ่ออุตตมะ จะหาโอกาสลงรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง)
นอกจากนั้น ยังมีเกศาของหลวงพ่ออุตตมะ กับเกศาของหลวงปู่พรหมา ผสมอยู่ด้วยกันในพระฤาษี รุ่น 7 แต่รูปเหมือนของหลวงพ่ออุตตมะนั้นไม่มีเกศาหลวงปู่พรหมา คงมีแต่เกศาของหลวงพ่ออุตตมะองค์เดียว
ในการนวดมวลสารเพื่อกดพิมพ์พระฤาษี รุ่น 7 นั้น ได้ใช้น้ำมนต์ของหลวงพ่ออุตตมะกับน้ำมนต์ของหลวงปู่อื่นๆ คือ หลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ, หลวงปู่เกษม เขมโก, หลวงปู่ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี เป็นน้ำนวดผง
ขั้นตอนการปลุกเสก
พระราชอุดมมงคล หรือหลวงพ่ออุตตมะ ปลุกเสกเดี่ยวให้ก่อนเป็นองค์แรก ที่วัดวังก์วิเวการาม และหลวงปู่พรหมา เขมจาโร ปลุกเสกเป็นองค์ที่ 2 ที่สำนักสวนหิน อุบลราชธานี
เป็นการปลุกเสกอย่างเต็มใจของทั้ง 2 ท่าน เสกอย่างเจาะจงลงไป มิใช่เสกผ่านเหมือนอย่างพระฝากพิธี
จึงเกิดเป็นพระฤาษี 2 อาจารย์ ฤาษีพรหมมุตตมะอย่างเต็มภูมิ
ในการปลุกเสกพระฤาษี รุ่น 7 และรูปเหมือนของหลวงพ่ออุตตมะนั้น นอกจากจะได้ปลุกเสกตามรายการที่กล่าวมาคือ พระฤาษีพิมพ์ใหญ่ พระฤาษีพิมพ์เล็ก รูปเหมือนลอยองค์ หลวงพ่ออุตตมะ และรูปเหมือนพิมพ์สี่เหลี่ยมแล้ว ยังมีพระฤาษีเนื้อโลหะอีกจำนวนหนึ่ง แต่ว่ารายละเอียดในการเปิดให้บูชาพระฤาษีเนื้อโลหะที่ผนวกเข้าเป็นพระฤาษีรุ่น 7 ด้วยนั้น ยังไม่อาจบอกได้ ผู้สนใจพระฤาษี รุ่น 7 เนื้อโลหะ โปรดรออ่านรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
พระฤาษี รุ่น 7 เนื้อโลหะได้เททองหล่อสำเร็จแล้ว ยังแต่จะประกาศให้บูชาเป็นทางการเมื่อไรท่านั้น และที่สำคัญยิ่ง พระฤาษีรุ่น 7 เนื้อโลหะ ผู้เททองหล่อคือ หลวงพ่ออุตตมะ ท่านเป็นทั้งผู้ให้ฤกษ์เททอง และเป็นเจ้าพิธีอัญเชิญเทพยดาและพระฤาษีทุกองค์ให้มาเป็นสักขีพยาน และร่วมสมโภชพระฤาษีที่ท่านเททองด้วยตัวท่านเอง ในวันอาทิพตย์ที่ 10 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เวลาประมาณ 9 โมงเช้า
นี่ก็ถือว่าเป็นพระฤาษีเนื้อโลหะที่น่าสนใจอีกรุ่นหนึ่ง
ขอให้ทุกท่านเข้าใจอีกว่า หลวงพ่ออุตตมะท่านไม่เคยเททองรูปอื่นๆ เว้นแต่รูปของท่านเอง หรือรูปพระพุทธเจ้า ดังนั้น นี่จึงถือว่าเป็นการเททองรูปพระฤาษีครั้งแรกของท่าน ซึ่งหลวงพ่อได้กล่าวว่า ประคำก็เป็นของที่เกิดด้วยมือพระฤาษี เมื่อท่านจะได้เททองหล่อรูปพระฤาษี จึงเป็นเรื่องที่สมควรยินดี และควรแก่การอนุโมทนาด้วย
นับเป็นวาสนาของพระฤาษีรุ่น 7 ยิ่งแล้ว
ผู้ที่ได้เป็นเจ้าของ ก็ควรค่าแก่ความภูมิใจเช่นกัน
ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า พระฤาษีรุ่น 7 ที่เปิดให้บูชาในขณะนี้คือ พระฤาษีเนื้อผงเท่านั้น ส่วนพระฤาษีเนื้อโลหะ และรูปเหมือนหลวงพ่ออุตตมะ ต้องรอฟังข่าวที่แน่ชัดอีกทีว่าจะให้บูชาอย่างไร ที่ไหน และเมื่อไร
พระฤาษีเนื้อผงพิมพ์ใหญ่ มีลักษระตามรูปประกอบที่ลงตีพิมพ์แล้ว ใต้ฐานอุดด้วยผงพิเศษคือ อังคารธาตุหลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่ดูลย์ อตุโล, หลวงปู่บัว สิริปุณโณ ผงผ้ายันต์เก่าแก่นับ 100 ผืน นับ 100 อาจารย์ อังคารหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ผงลบกระดานของอาจารย์ตึง ผงบุเรงนองหลังกบ (ทั้งผสมในเนื้อพระและเนื้ออุดก้นพระ) และผงเก่าเก็บหลายหลายชนิดที่เหลือวิสัยจะจดจำได้
ผงที่อุดก้นพระฤาษีรุ่น 7 นี้ยังได้ผ่านการปลุกเสกมาแล้วโดยหลวงปู่คำพันธ์ หลวปู่ชอบ หลวงปู่ศรีจันทร์ หลวงปู่บุญจันทร์ ฯลฯ จึงเรียกว่าเป็นการรวมความวิเศษไว้อย่างแท้จริง
ทั้งพระฤาษีพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก มวลสารและผงอุดก้นทำขึ้นเหมือนกันทุกประการ