บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา
ที่มา: ampoljane.com
ผู้เขียน: อำพล เจน
ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารศักดิ์สิทธิ์ พ.ศ. 2536
อิสีขลังผู้ชาญพระเวทย์แห่งลุ่มแม่น้ำโขง
หลวงปู่พรหมา เขมจาโร (สำนักสวนหินแก้ว ภูกระเจียว อุบลราชธานี)
หมดแล้วครับ
พระนาคปรกใบมะขาม รุ่นแรกของหลวงปู่พรหมา เขมจาโร ทั้งเนื้อทองเหลืองและทองแดงมีเหลืออยู่อย่างละ 1 องค์ ให้ผมเก็บไว้ดูเป็นที่ระลึกเท่านั้น
ผู้มีศรัทธาหลายท่านบุกเข้าถึงบ้านผม ทั้งอ้อน ทั้งขู่เพื่อจะรีดเอาพระนาคปรก ซึ่งหมดแล้วให้ได้ ผมต้องทำเป็นหูหนวกไม่ได้ยิน และสวดคาถาใจแข็งเป็นหินเข้าไว้
คงต้องแสดงการอนุโมทนาจิตทุกจิตแห่งศรัทธาของทุกท่าน ที่มีต่อพระนาคปรกใบมะขามรุ่นนีจนทำให้พระหมดไปอย่างรวดเร็วเกินคาดหมาย หวังว่าบุญกุศลที่ทุกท่านร่วมกันสร้างศาสนสถานคือ ศาลาการเปรียญไว้ในพระพุทธศาสนาอีกแห่งหนึ่ง โดยวิธีนี้จะได้สนับสนุนทุกท่านประสบความสุขความเจริญ ทั้งในทางโลกและทางธรรมสืบไป
สาธุ
มีจดหมายสั่งบูชาพระนาคปรกฉบับหนึ่ง เป็นของ คุณอนุพันธ์ ไม่แจ้งนามสกุล และให้ที่อยู่ไว้อีกชื่อว่า “ลุหงส์ (อุ๋ม)” ถ้าท่านอ่านพบประกาศนี้ แล้วกรุณาส่งที่อยู่โดยละเอียดและชัดเจนไปที่ผมด้วย เพราะผมไม่อาจจัดส่งพระนาคปรกมาให้คุณได้ เนื่องจากบริเวณที่เป็นสถานที่อยู่ในจดหมายของคุณชำรุดฉีกขาดไป ทำให้อ่านไม่ได้ความถนัดว่าเป็นที่อยู่อะไรแน่
จดหมายที่พลาดหวัง, คือมาช้ากว่าท่านอื่นๆ ทำให้หมดโอกาสเป็นเจ้าของพระนาคปรกก็มีอยู่หลายฉบับ ผมยังเก็บจดหมายทุกฉบับไว้เป็นอย่างดี และอยากถามว่า ถ้าผมจะจัดส่งพระฤาษีเนื้อผง พิมพ์ทรงขนาดพระของขวัญ วัดปากน้ำไปแทนจะเอาไหม
ผมจะส่งไปรษณียบัตรไปถามความสมัครใจของท่านถึงที่บ้านก่อนจัดส่ง ถ้าท่านตกลงใจจะเอา ก็ตอบรับผมด้วยจะได้จัดส่งให้ แต่ว่าต้องรอสักระยะหนึ่ง เพราะว่าเวลานี้พระฤาษีขนาดพระของขวัญนั้นยังไม่ออกจากถ้ำหลวงปู่ พระฤาษีชุดนี้เข้าถ้ำไปตั้งแต่ วันที่ 28 เดือนกันยายน เข้าใจว่าหลวงปู่คงจะอนุญาตให้นำมาจำหน่ายจ่ายแจกได้ในเร็ว ๆ นี้ โดยกำหนดค่าของบุญให้ท่านทำองค์ละ 100 บาท พระมีจำนวนแค่ 800 องค์ เท่านั้น เป็นการสร้างในนามวัดอีกรุ่นหนึ่ง
เสียดายไม่มีรูปให้ดู
แต่บอกได้ว่าทั้งไม่สวยและไม่ขี้เหร่
ที่สำคัญคือเป็นเนื้อผงซึ่งมาจากผงฤาษีใหญ่รุ่นแรก รุ่น 4 รวมกัน
ที่น่าฉุกใจอีกอันหนึ่งคือผมขึ้นไปขอรับพระฤาษีพิมพ์ขนาดพระของขวัญ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม แต่หลวงปู่บอกว่าให้เอาไว้อีก
ปกติท่านเสกคืนเดียวก็ได้การ อย่างเช่นฤาษีรุ่น 2 และรุ่น 3 ท่านเสกคืนเดียว ส่วนรุ่นแรก 2 คืน , รุ่น 4 นานกว่านั้นคือร่วมเดือน และมาถึงรุ่นดังกล่าวนี้ก็นานกว่าปกติ
ขณะที่เขียนต้นฉบับนี้เป็นวันที่ 13 ต.ค. ยังบอกไม่ได้ว่าท่านจะอนุญาตให้นำออกจากถ้ำเมื่อไหร่
ถ้าผู้อ่านไม่รังเกียจ ผมจะจัดส่งไปให้เป็นการทดแทน – นี่ผมพูดถึงเฉพาะท่านที่ส่งจดหมายไปแล้ว แต่พระนาคปรกหมดนะครับ
และขอความกรุณา ท่านอื่นๆ อย่าส่งเงินไปบูชาพระนาคปรกอีก เว้นแต่ท่านที่ส่งแล้วก็แล้วไป
มีจดหมายของอีกท่านหนึ่ง คือ คุณจุฑามาศ สนเทียนวัด บอกว่าจะไปพบพระฤาษีใหญ่ที่ศูนย์พระเครื่องอริยะ บางลำพู ทางศูนย์อธิบายว่าเป็นรุ่น 4 (หลังยันต์) คุณจุฑามาศสงสัยว่านั่นเป็นของแท้หรือเปล่า
รับรองว่าแท้แน่นอนครับ
“คุณอาคม” เจ้าของศูนย์อริยะ รู้จักมักจี่กับพวกเราดี เป็นผู้หนึ่งที่บูชาพระของหลวงปู่พรหมาไปเผยแพร่ตั้งแต่ฤาษีใหญ่รุ่นแรกเป็นต้นมา คุณจุฑามาศไปเอาที่คุณอาคมได้ทันที ไม่ต้องลังเลสงสัยว่าจริงหรือไม่จริงอย่างไร
ถึงตรงนี้เห็นจะต้องแสดงรายละเอียดของฤาษีใหญ่รุ่นแรกกับรุ่น 4 ให้ผู้อ่านและผู้สนใจทั้งหลายได้ทราบ พอเป็นแนวทางในการดูว่าทั้ง 2 รุ่นแตกต่างกันอย่างไร
ผมออฟไซด์คุณพันฤทธิ์ ซึ่งกำลังรวบรวมอัตตประวัติของท่านเข้านิดหน่อย คงไม่ว่าอะไรนะครับ
เรื่องมันจำเป็น
เนื่องจากว่าท่านอาจารย์เบิ้มได้กรุณาส่งข่าวแก่ผมว่า มีผู้ร้ายท่านหนึ่งนำเอาฤาษีใหญ่รุ่น 4 ไปโกหกขายเป็นฤาษีรุ่นแรก จนได้ราคาตั้ง 5 พันบาท
ฟังแล้วรันทดหดหู่บอกไม่ถูก
ไม่รู้ว่าตอนนี้เอาเงินไปคืนเขาหรือยัง ผู้ร้ายท่านนี้ผมก็รู้จักดี จึงขอฝากความปรารถนาดีมายังท่านว่าให้เอาเงินไปคืนเขาเสียเถิด ถ้าเงินหมดจะเอาอะไรไปชดใช้เขาจนเป็นที่พอใจแก่เขาก็ให้รีบทำเสีย
มิตรภาพนี่มันรักษาได้ยากจริงๆ ถ้าหาว่ามีความโลภเข้ามาเป็นตัวแปร
มาดูพระฤาษีใหญ่รุ่นแรกกับรุ่น 4 ว่าแตกต่างกันอย่างไรดีกว่า
กลับไปดูภาพประกอบตอนต้นเรื่องอีกรอบหนึ่ง บางทีดูภาพแล้วคำอธิบายก็แทบไม่จำเป็น เพราะข้อแตกต่างก็เห็นได้ถนัดแล้วว่า ฤาษีใหญ่รุ่นแรกนั้น ไม่มียันต์ประทับด้านหลัง และบนขมวดผ้าบนหัว ซึ่งผมอยากจะขอเรียกว่าหมวกเพราะสะดวกดี ฤาษีใหญ่รุ่นแรกตลอดทั้งองค์ราบเรียบไม่มียันต์ หรืออักขระอะไรเลย เว้นแต่ที่ฐานล่างด้านหน้าเท่านั้น ส่วนฤาษีใหญ่รุ่น 4 จะมีอักขระคาถาทั้งที่ฐานด้านหน้าและด้านบนยอดหมวก กับด้านหลังองค์ฤาษีก็มียันต์ประทับอยู่ ทั้งหมดเป็นยันต์ลึกจมลงไปในเนื้อ ไม่ใช่ยันต์นูนออกมา
ข้อแตกต่างอีกอย่างหนึ่งคือเมื่อนำพระฤาษีทั้งสองรุ่นมาเปรียบน้ำหนักกัน แบบนักมวยก่อนขึ้นเวที จะพบว่าฤาษีใหญ่รุ่นแรกเล็กกว่านิดหน่อย และสวยสู้รุ่น 4 ไม่ได้
รุ่น 4 บ่าทั้งสองข้างจะกว้างกว่ารุ่นแรก และเข่าทั้งสองข้างก็กว้างกว่าอีกด้วย
พลิกดูใต้ฐาน
พระฤาษีใหญ่รุ่นแรกจะอุดผงฤาษีเป็นพิเศษไว้ทุกองค์
พระฤาษีรุ่น 4 ไม่มีผงอุด แต่มีโค้ตฝังในเนื้อทุกองค์
เฉพาะรุ่น 4 ที่ออกให้บูชานั้นมี 3 ชนิดคือ
- ชนิดเนื้อพิเศษ มีดินพระธาตุท่าอุเทนและพระธาตุพนมผสมอยู่มากเป็นพิเศษ สีของเนื้อพระจึงออกแดง และจำนวนสร้างก็น้อยมาก คือแค่ 32 องค์ เท่านั้น ออกจำหน่ายองค์ละ 700 บาท
- ชนิดเนื้อปกติ จำนวนสร้าง 300 องค์ ออกจำหน่ายละ 500 บาท
- ชนิดเนื้อปกติ แต่ก้นฝังปรกใบมะขาม จำนวนสร้าง 100 องค์ ออกจำหน่ายองค์ 600 บาท
ฤาษีใหญ่รุ่น 4 มีสองบล้อค บล้อคแรก คือบล้อคของชนิดที่ฝังปรกมะขาม ลักษณะขององค์ฤาษีจะผึ่งผาย ขึงขังกว่าบล้อคสองซึ่งเป็นชนิดเนื้อพิเศษและเนื้อปกติแลดูนุ่มนวลกว่า
ฤาษีใหญ่รุ่น 4 เพิ่งสร้างและออกจำหน่ายเมื่อเร็วๆ นี้เอง คือนำขึ้นเสกในถ้ำหลวงปู่ วันที่ 19 สิงหาคม นำออกจากถ้ำวันที่ 8 กันยายน จำหน่ายหมดทุกเนื้อทุกพิมพ์ภายใน 1 สัปดาห์
เวลานี้ฤาษีรุ่น 4 มีราคาเขยิบขึ้นไปอีกนิดหน่อย คือ องค์ละ 700 – 1,000 บาท ในสนามพระเครื่อง ยังพอหาได้อยู่ครับ แต่ต้องควักแพงกว่าสมัยออกจากวัดเป็นธรรมดา
สรุปพระฤาษีแต่ละรุ่นอีกครั้งหนึ่ง
- รุ่นแรก เป็นฤาษีใหญ่ อุดผงฤาษีเป็นพิเศษ จำนวน สร้าง 234 องค์ ปัจจุบันมีราคามากกว่า 5 พันบาท
- ฤาษีเล็ก จำนวนสร้าง 505 องค์ ดูเหมือนจะออกจำหน่ายองค์ละ 200 บาท ปัจจุบันราคาเกินกว่า 3 พันบาท
- ฤาษีกลาง สร้างจำนวน 305 องค์ ออกจำหน่ายองค์ละ 300 บาท
- ฤาษีใหญ่รุ่น 4 มี 3 ชนิด ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ปัจจุบันมีราคากว่า 3 พันบาทเช่นกัน
พระฤาษีรุ่นแรก-รุ่น 3 สร้าง สร้างในระหว่างพรรษาปี 2535 ทั้งหมด
พูดถึงพรรษาของหลวงปู่แล้ว ท่านจำพรรษาแปลกกว่าคนอื่น คือเริ่มอยู่พรรษาตั้งแต่เดือนมิถุนายน และออกพรรษาเดือนพฤศจิกายน (เดือน 7 – เดือน 12) รวมเวลาจำพรรษา 5-6 เดือน
เรียกว่าเข้าพรรษาก่อนคนอื่น และออกพรรษาหลังคนอื่น
แปลกดีนะครับ