บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา
ที่มา: postsod.com | เผยแพร่เมื่อ ๒๑ ฤษภาคม ๒๕๖๓
ขอบคุณข้อมูลจาก: tsood
ผู้แนะนำข้อมูลหลวงพ่อสมปรารถนาเพิ่มเติม: อารามไผ่เขียว
การไหว้พระเป็นการเคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การสวดมนต์อธิษฐานจิตต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ศรัทธา ที่มีความเชื่อว่าคอยปกป้องคุ้มครอง ชี้นำทางชีวิต เพื่อเป็นการขอบคุณ แสดงความเคารพ และขอพร
พระพุทธรูป หรือ รูปเคารพแทนพระพุทธเจ้า ในตำนานเรื่องพระแก่นจันทน์ ได้พรรณนาเรื่องพระพุทธรูปองค์แรกไว้ว่า ครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษาเพื่อโปรดพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์แห่งเมืองสาวัตถี ทรงรำลึกถึงพระพุทธองค์เป็นอย่างมาก จึงโปรดฯ ให้ช่างหาไม้แก่นจันทน์หอมที่ดีที่สุด มาแกะสลักเป็นพระพุทธรูปอันงดงาม มีพุทธลักษณะคล้ายพระพุทธองค์ แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานยังพระราชมณเฑียร
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพาน พระพุทธรูปจึงเป็นตัวแทนของพระศาสดาให้เราศาสนิกชนได้เคารพบูชา กราบไหว้ ซึ่งมีคำกล่าวว่า ไหว้เทพยดาองค์ใดก็หาได้ประเสริฐเสมอเหมือน “พระพุทธเจ้า” เพราะแม้แต่เทวดายังเคารพนบน้อบพระองค์ วันนี้เราจึงขอพาท่านไปรู้จัก ๕ พระพุทธรูป ที่ขึ้นชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ ดังต่อไปนี้
๑. หลวงพ่อพระพุทธโสธร วัดโสธร จ.ฉะเชิงเทรา
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก https://mgronline.com/onlinesection/detail/9600000065702
“พระพุทธโสธร” เป็นพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่ทรงอานุภาพศักดิ์สิทธิ์ มีอภินิหารมากมาย เป็นพระพุทธรูปที่ทรงอานุภาพศักดิ์สิทธิ์ เป็นมิ่งขวัญของชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา
แต่เดิมหมู่บ้านมีคนน้อยมาก การคมนาคมไม่ค่อยสะดวก เมื่อหลวงพ่อโสธรมาประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรแล้ว ประชาชนชาวเรือนับถือว่า ถ้าได้บอกขอต่อหลวงพ่อโสธรแล้ว สินค้าก็ซื้อง่ายขายคล่องเป็นเทน้ำเทท่า เรือแพที่ผ่านไปมาในแม่น้ำ พอถึงที่ตรงกับโบสถ์หลวงพ่อโสธรแล้ว ผู้ที่นิยมนับถือและเห็นความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโสธร
คำอาราธนาหลวงพ่อโสธร
กายานะ วาจายะวะ วาโสธะรัง
นามะ อิติปาริหะ ริยะกาง
พุทธธะรูปัง อะหังปิ
๒. หลวงพ่อพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก https://papaiwat.com/th/story/category/detail/id/10/iid/60
“พระพุทธชินราช” ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารด้านตะวันตก ในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๙๐๐ ตรงกับรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย) พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย พร้อมกับพระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระเหลือ พระพุทธชินราชได้รับการยอมรับว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดองค์หนึ่ง และยังเป็นพระพุทธรูปที่นิยมจำลองกันมากที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังเป็นพระพุทธรูปที่ประชาชนชาวไทยศรัทธาและนิยมเดินทางมากราบไหว้มากที่สุดองค์หนึ่งด้วย
“พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ สองพระองค์นั้นงามแหลมแก่ตามากกว่าพระพุทธรูปใหญ่น้อยบรรดามีในแผ่นดินสยาม ทั้งปักษ์ใต้ ฝ่ายเหนือ และตลอดกาลนานมาถึง ๙๐๐ ปี มีผู้เลียนปั้นเอาอย่างไปมากก็หลายตำบล จะมีพระพุทธรูปที่คนเป็นอันมากดูเห็นว่าเป็นดีเป็นงามกว่าพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ สองพระองค์นี้ก็ไม่มี …” –พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
คาถาบูชาพระพุทธชินราช
กาเยนะ วาจายะวะ เจตะสาวา ชินะราชาพุทธรูปัง สิริธัมมะติปิ
ตะกะราเชนะ กะตัง นะมามีหัง พุทธธังอาราชธนานัง ธัมมังอาราชธนานัง สังฆังอาราชธนานัง ชินะราชาพุทธธะรูปัง
อาราชธนานัง พุทธธังลาภมานะชาลีติ ธัมมังลาภมานะชาลีติ สังฆังลาภมานะชาลีติ
อุอะมะนะโมพุทธธายะ พามานะอุกะ สะนะถุประสิทธิเม
๓. หลวงพ่อวัดบ้านแหลม วัดเพชรสมุทร จ.สมุทรสงคราม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก https://papaiwat.com/th/story/category/detail/id/10/iid/193
“หลวงพ่อวัดบ้านแหลม” พระพุทธปฏิมากรคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่ยกย่อง นับถือ และเคารพสักการะบูชา เปรียบเสมือนเป็นพ่อของคนทั้งเมือง
หลวงพ่อวัดบ้านแหลม เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร หล่อด้วยทองเหลือง แบบสมัยสุโขทัยตอนปลาย ภายในโปร่ง ขนาดส่วนสูง ๑๗๐ เซนติเมตร ประดิษฐานยืนอยู่บนแท่น ภายในพระอุโบสถวัดบ้านแหลม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
สมัยก่อนเมื่อผู้ใดได้รับความเจ็บป่วย หรือทุกข์ร้อนประการใด ก็มากราบนมัสการบนบานต่อหลวงพ่อ ความเจ็บป่วยหรืออาการทุกข์ร้อนนั้นก็พลันหายไปหรือไม่ก็ทุเลาเบาบางลงจนเป็นที่นับถือของ ประชาชนทั่วไป
คาถาบูชาหลวงพ่อวัดบ้านแหลม
ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วกล่าวบทบูชาดังนี้
สะทา วะชิระสะพุททะวะวะ วิหารเร
ปติฏฐิตัง นะระเทโวหิ ปูชิตัง ปัตตะหัตตัง
พุทธรุปัง อะหัง วันทามิ ทูระโต
หรือจะบูชาด้วยบทนี้ ๙ จบ ก็ได้ (คาถาหลวงพ่อวัดบ้านแหลม)
นะมะระอะ นะเทวะอะ
๔. หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก https://papaiwat.com/th/story/category/detail/id/10/iid/61
“หลวงพ่อพระใส” เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสีสุก มีพระรูปลักษณ์งดงามมาก ขนาดหน้าตัก กว้าง ๒ คืบ ๘ นิ้ว สวนสูงจากพระสงฆ์เบื้องล่างถึงยอดพระเกศ ๔ คืบ ๑ นิ้ว ของช่างไม้ ปัจจุบันได้ประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถวัดโพธิ์ชัย (พระอารามหลวง) เป็นพระพุทธรูปที่ชาวจังหวัดหนองคายนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และเป็นที่เคารพสักการะอย่างยิ่ง
คาถาบูชาหลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย (พระอารามหลวง) จังหวัดหนองคาย
ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วว่า …
อะระหัง พุทโธ โพธิชโย เสยะคุโน โพธิสัตโต มหาลาโภ ปิยัง มะ มะ ภะวันตุโน โหตุ สัพพทา
๕. หลวงพ่อสมปรารถนา วัดหลวงพ่อสมปรารถนา จ.กาฬสินธุ์
ประวัติความเป็นของหลวงพ่อโพธิ์ศรีวิไลย์ (หลวงพ่อสมปรารถนา) เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่อายุหลายร้อยปี ที่ขึ้นชื่อในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ ที่มีประวัติความเป็นมาที่ไม่ธรรมดา เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่บังเกิดปาฎิหาริย์มากมายดุจเทพบันดาล ที่พระเกจิอาจารย์หนุ่มผู้มากด้วยบารมีธรรม พระอาจารย์มหาวัฒน์ วิวฑฺฒนเมธี ป.ธ.๙ วัดสว่างหัวนาคำ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ ขุดอัญเชิญขึ้นได้ที่วัดศรีวิไลย์ ในเช้าวันพระ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ก่อนวันวิสาขบูชา ๗ วัน พ.ศ.๒๕๕๖ (โดยได้รับการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุโบราณว่า เป็นพระพุทธรูปเก่า อายุน่าจะประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ ปี)
พระพุทธรูปองค์นี้ท่านพระอาจารย์มหาวัฒน์ กล่าวว่า มีความศักดิ์สิทธิ์มาก เพราะมีเทวดาท่านเฝ้าบริบาลรักษาหลายหมื่นองค์
หลวงพ่อสมปรารถนา เคยประดิษฐานชั่วคราว ในวิหารไม้ วัดสว่างหัวนาคำ ต.หัวนาคำ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ ต่อมาเมื่อมีการสร้างพุทธสถานสมปรารถนาพุทธาราม (วัดหลวงพ่อสมปรารถนา) ขึ้นที่ตำบลลำปาว อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชาแด่องค์หลวงพ่อสมปรารถนา เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงได้มีพิธีอาราธนาอัญเชิญองค์หลวงพ่อสมปรารถนา ย้ายไปประดิษฐาน เพื่อให้สาธุชนพุทธบริษัทได้กราบไหว้สักการะบูชา ณ.พุทธสถานสมปรารถนาพุทธาราม (วัดหลวงพ่อสมปรารถนา) เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นมา
วิธีขอพรหลวงพ่อโพธิ์ศรีวิไลย์ หรือหลวงพ่อสมปรารถนา
ใช้พวงมาลัย ๓, ๕, ๙ หรือ ๕๖ พวง
หรือจะใช้ดอกบัวขาว ๓, ๕, ๙, หรือ ๕๖ ดอก
พร้อมด้วยการปิดทองให้เลยอายุไปหนึ่งแผ่น
เมื่อเสร็จแล้ว ไหว้พระ และนั่งสมาธิครู่หนึ่ง แล้วอธิษฐานขอพร (เวลาอธิษฐานขอพรจิตต้องเป็นสมาธิ) หรือเพื่อความแน่ชัด ให้พูดออกเสียงให้ตัวเราเองได้ยินชัดเจน
พระคาถายานี (รัตนปริตร)
ตั้งนะโม ๓ จบ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุฯ
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุฯ
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ