พระชุดเทพมหามงคล สก. โครงการจัดสร้างวัตถุมงคลเฉลิมพระเกียรติ ในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา พ.ศ. 2547 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (สมเด็จพระราชินี ในรัชกาลที่ 9)
พระชุดเทพมงคล เนื้อผงพุทธคุณ 1 ชุด มี 5 องค์
1. พระอิศวะ (พระอิศวร) บูชาเพื่อความก้าวหน้าสมหวัง
2. พระนาราย์ (พระวิษณุ) บูชาเพื่อขอความคุ้มครองและช่วยขจัดภัยพิบัติ
3. พระพรหม บูชาเพื่อขอความสำเร็จ สมหวัง สมปราiถนา
4. พระพิฆเนศ บูชาเพื่อขอความสำเร็จ พ้นจากความขัดข้องทั้งปวง
5. พระฤาษี (พ่อแก่) บูชาเพื่อแสดงถึง ความกตัญญูรู้คุณครูอาจารย์ และบรมครู
พระเนื้อผงสภาผู้แทนราษฏร รุ่น สก. เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ
คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับคณะกรรมการจัดงานนิทรรศการการบินนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ได้สร้าง พระพุทธรัชมงคลประชานาถ สมเด็จนางพญา สก. พระกริ่งจักรตรี 72 พรรษาประชาภักดี พระผงชุดเทพมงคล 5 องค์ ประกอบพิธีพุทธาภิเษกมวลสาร และโลหะ ณ อุโบสถ วัดห้วยมงคล ตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระสมเด็จนางพญา สก. ผงพระพิมพ์ มี 7 สี ได้แก่ สีเหลือง สีดำ สีแดง สีอิฐ สีเทา สีขาว สีเขียว ทำพิธีพุทธาภิเษก 7 เสาร์ 7 อังคาร 15 วัด รวมพุทธาภิเษก 16 ครั้ง
มวลสารของพระสมเด็จนางพญา สก. วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
- มวลสารจิตรลดาพระราชทาน พระผงไพรีพินาศ ปี 16
- พระผงศาสดา ปี 16
- พระผงนิรันตราย ปี 16
- พระสมเด็จ วัดระฆัง วัดใหม่อมตรส และวัดเกษไชโย
- พระปิดตาหลวงปู่โต๊ะ
- ว่านมหามงคล 108 ผสมดินกากยายักษ์
- กระเบื้องหลังคาโบสถ์วัดพระแก้ว
- กระเบื้องหลังคาโบสถ์วัดบวร
- ผงทองคำเปลวจากที่ต่างๆ เป็นต้น
ด้วยประจักษ์แจ้งชัดแก่ประชาชนชาวไทย และชาวโลกแล้วว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระเกียรติคุณยิ่งใหญ่ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาชนชาวไทย ตลอดจนประชาคมโลกอย่างใหญ่หลวง ทรงแผ่พระมหากรุณาธิคุณเกื้อกูลบรรดาผู้ยากไร้โดยไม่จำกัดเชื้อชาติศาสนา ทรงมีพระราชอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนประชาราษฏร์ทั่วทุกท้องถิ่น ด้วยความห่วงใยในทุกข์สุข และการประกอบอาชีพ ทรงจัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพ เพื้อฟื้นฟูงานด้านศิลปหัตถกรรม ซึ่งกำลังจะสูญสลายไปของประเทศไทยให้ขจรไกลไปทั่วโลก ช่วยยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนในชนบทให้มีความมั่นคง อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขสบาย
ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ จึงนับเป็นมหามงคสมัยอันประเสริฐยิ่ง สภาผู้แทนราษฎร โดยคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ได้พร้อมใจกันจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อเฉลิมพระเกียรติในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวโรกาสสำคัญดังกล่าว โดยกำหนดจัดสร้าง พระกริ่ง พระพุทธรูปบูชา และ พระสมเด็จนางพญา เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้ร่วมถวายความจงรักภักดี โดยนำรายได้ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย
พิธีการจัดสร้าง
เพื่อให้การจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้ ได้มีความสมบูรณ์พร้อม ตามวัตถุประสงค์ คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ จึงได้กำหนดวิธีการประกอบพิธีอย่างถูกต้องตามประเพณีโบราณ ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อให้ได้วัตถุมงคลที่เข้มขลังเอกอุไปด้วยพลังแห่งพุทธาภิเษก จึงได้นำมวลสาร ชนวนโลหะ ที่ใช้ในการสร้างวัตถุมงคลฯ พิธีเททอง เข้าร่วมในพิธีมหาพุทธาภิเษกรวมทั้งสิ้น 16 ครั้ง
พิธีพุทธาภิเษกมวลสารพระเนื้อผง การลงทอง และจารแผ่นพระยันต์ จะประกอบพิธีพุทธาภิเษก 7 เสาร์ 7 อังคาร ณ พระอุโบสถวัดสำคัญรวม 15 วัด
เดือนมกราคม 2547
- ครั้งที่ 1 วันอังคารที่ 6 มกราคม ประกอบพิธี ณ วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร
- ครั้งที่ 2 วันอังคารที่ 27 มกราคม ประกอบพิธี ณ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก กรุงเทพมหานคร
เดือนกุมภาพันธ์ 2547
- ครั้งที่ 3 วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ ประกอบพิธี ณ วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ครั้งที่ 4 วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ ประกอบพิธี ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ครั้งที่ 5 วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ ประกอบพิธี ณ วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) กรุงเทพมหานคร
เดือนมีนาคม 2547
- ครั้งที่ 6 วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม ประกอบพิธี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
- ครั้งที่ 7 วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม ประกอบพิธี ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร
- ครั้งที่ 8 วันอังคารที่ 30 มีนาคม ประกอบพิธี ณ วัดพระเชตุพนวิมงมังคลาราม (วัดโพธิ์) ก.ท.ม.
เดือนเมษายน 2547
- ครั้งที่ 9 วันเสาร์ที่ 17 เมษายน ประกอบพิธี ณ วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร
- ครั้งที่ 10 วันอังคารที่ 27 เมษายน ประกอบพิธี ณ วัดห้วยมงคล จังหวัดประจวบศีรีขันธ์
เดือนพฤษภาคม 2547
- ครั้งที่ 11 วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม ประกอบพิธี ณ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ กรุงเทพมหานคร
- ครั้งที่ 12 วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม ประกอบพิธี ณ วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
เดือนมิถุนายน 2547
- ครั้งที่ 13 วันอังคารที่ 1 มิถุนายน ประกอบพิธี ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร
- ครั้งที่ 14 วันอังคารที่ 29 มิถุนายน ประกอบพิธี ณ วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก
- ครั้งที่ 15 พิธีเททอง และพุทธาภิเษกทองชนวนโลหะ คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินเททอง และเสด็จเป็นองค์ประธาน ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งได้นำความกราบบังคมทูลแล้ว ในราวเดือนมกราคม 2547 สำหรับทองชนวนโลหะที่นำมาจัดสร้างวัตถุมงคลฯ ในครั้งนี้ คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ได้รับความเมตตาจากพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมพิธีรวมเป็นจำนวน 2,588 แผ่น ซึ่งได้จารแผ่นพระยันต์เพื่อพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ และสังฆานุภาพ อย่างถูกต้องตามโบราณพิธี
- ครั้งที่ 16 พิธีมหาพุทธาภิเษก กำหนดประกอบพิธี เมื่อการจัดสร้างวัตถุมงคลทุกชนิด เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว จะนำไปประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในราวเดือน มิถุนายน 2547 คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ จะนำความกราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯ ต่อไป
สำหรับโลหะที่นำมาจัดสร้างในครั้งนี้ นอกจาก การลงแผ่นพระยันต์ทองคำ นาก เงิน และทองแดงอย่างละ 108 แผ่น รวมทั้งนะปถมังอย่างละ 14 แผ่น แล้วยังได้ลงดวงประสูติ และดวงตรัสรู้ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกชุดละ 2 แผ่น อีกทั้งยังได้นำชนวนโลหะจากโครงการสร้างพระสำคัญๆ มารวมในการสร้างวัตถุมงคลฯ ในครั้งนี้ด้วย
สำหรับมวลสารและชนวนโลหะที่จะนำมาสร้างพระกริ่งและพระเนื้อผงนั้น คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ได้รับความเมตตาอย่างดียิ่ง จากพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมทุกจังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดละ 9 รูป รวม 684 รูป ได้เมตตาอธิษฐานจิต และลงจารแผ่นโลหะ รวมทั้งได้รับมวลสารผงเถ้าธูป และดินจากสังเวชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ ในประเทศอินเดีย เนปาล และสถานที่ประดิษฐานองค์เจ้าแม่กวนอิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากประเทศจีน รวมทั้งชนวนโลหะจากการสร้างพระกริ่ง 90 พรรษาสมเด็จย่า ปี 2533 ชนวนโลหะ จากการสร้างวัตถุมงคลเฉลิมพระเกียรติ 5 รอบ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ปี 2535 และชนวนโลหะจากการสร้างวัตถุมงคลเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ปี 2542
รายนามพระเกจิ ที่มาปลุกเสก
- หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม
- หลวงปู่ทิม วัดพระขาว
- หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง
- หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่
- หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูน
- หลวงพ่อเที่ยง วัดระฆัง
- หลวงพ่อสืบ วัดอินทรวิหาร
- หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว
- หลวงปู่แย้ม วัดตะเคียน
- หลวงปู่ทอง วัดจักรวรรดิ
- หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม
- หลวงพ่อรวย วัดตะโก
- หลวงพ่อเก๋ วัดปากน้ำ
- หลวงพ่อแวว วัดพนัญเชิง
- หลวงพ่อพูลทรัพย์ วัดอ่างศิลา
- หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร
- หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน
- หลวงพ่อสมพงษ์ วัดใหม่ปิ่นเกลียว
- หลวงปู่ละมัย วัดป่าสมุนไพร
- หลวงปู่คีย์ วัดศรีลำยอง
- หลวงปู่นนท์ วัดเหนือวน
- หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม
- หลวงพ่อหล่อ วัดคันลัด
- หลวงพ่อเอียด วัดพิกุลทอง
- หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติการาม
- หลวงพ่อดำรงค์ วัดเขาปฐวี
- หลวงพ่อบุญธรรม วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร
- หลวงพ่อเงิน วัดถ้ำน้ำ
- หลวงพ่อทองสุข วัดเขาตะเครา
- หลวงพ่อไพโรจน์ วัดวังพงศ์
- หลวงพ่อสมชาติ วัดหนองยายอ่วม
- หลวงพ่อฟ้าลิขิต วัดเขาบัลลังก์
- หลวงพ่อสมศักดิ์ วัดโสธรวราราม
- หลวงพ่อป่วน วัดบรรหารแจ่มใส
- หลวงพ่อขาว วัดสาวชะโงก
- หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม
- หลวงพ่อพล วัดหนองยายหุ่น
- หลวงพ่อสมชาย วัดปริวาส
- หลวงพ่อพร วัดดอนยายหอม
- หลวงพ่อเพี้ยน วัดตุ๊กตา
- หลวงปู่หงษ์ วัดเพชรบุรี
- หลวงพ่อบุญช่วย วัดเทพประสิทธิ์
- หลวงปู่นะ วัดปทุมธาราม
- หลวงพ่อบุญชุบ วัดนางพญา
- ครูบาพรหมเณศวร เป็นต้น