SIGN IN YOUR ACCOUNT TO HAVE ACCESS TO DIFFERENT FEATURES

FORGOT YOUR PASSWORD?

FORGOT YOUR DETAILS?

AAH, WAIT, I REMEMBER NOW!

Siam Collection

  • LOGIN
  • หน้าแรก
  • สินค้า
  • พระมหากษัตริย์
  • พระเครื่อง
  • ล็อกเก็ตและภาพถ่าย
  • เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
  • ศิลปะและของสะสม
  • บทความ
  • ติดต่อเรา
  • No products in cart.
รับเช่า
  • Home
  • พระเครื่องและวัตถุมงคลพระเกจิอาจารย์
  • พระเกจิอาจารย์
  • เปิดที่มาความศรัทธา “หลวงปู่ทวด” คาถา บทสวด เพื่อความแคล้วคลาด
scadmin
Friday, 10 September 2021 / Published in พระเกจิอาจารย์, หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด

เปิดที่มาความศรัทธา “หลวงปู่ทวด” คาถา บทสวด เพื่อความแคล้วคลาด

หลวงปู่ทวด หรือ สมเด็จพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ ซึ่งคนไทยรู้จักกันดีในชื่อ “หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” และ “หลวงปู่ทวดวัดช้างให้” ถือเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่มีผู้คนเลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวปักษ์ใต้ที่นิยมกราบไหว้บูชา เนื่องจากเชื่อว่าบารมีหลวงปู่ทวดจะช่วยคุ้มครองให้แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง

ประวัติ และความเชื่อเรื่อง “หลวงปู่ทวด”

หลวงปู่ทวด เป็นพระสงฆ์ที่มีชีวิตอยู่จริงในสมัยอยุธยา รัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ ประวัติหลวงปู่ทวดอาจจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไปบ้าง ขึ้นอยู่กับตำนานในแต่ละท้องถิ่น แต่เรื่องเล่าหลักค่อนข้างเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ราวปี พ.ศ. 2125 นายหูและนางจันทร์ ชาว อ.สทิงพระ จ.สงขลา ได้ให้กำเนิดลูกชาย ตั้งชื่อให้ว่า “ปู” โดยมีอยู่ครั้งหนึ่งที่พ่อแม่ผูกเปลลูกไว้กับต้นเม่าระหว่างที่กำลังเกี่ยวข้าวอยู่ในนา แต่ปรากฏว่ามีงูจงอางตัวใหญ่เลื้อยมาพันรอบเปล ทั้ง 2 คน จึงตั้งจิตอธิษฐานไม่ให้งูจงอางทำร้ายลูก หลังจากนั้นงูก็คลายรัดเปลและเลื้อยหนีหายไป ทว่าได้คายเมือกแก้วทิ้งไว้บนตัวทารกด้วย ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นลูกแก้วขนาดใหญ่แวววาว

เมื่อเศรษฐีที่เป็นเจ้านายของนายหูและนางจันทร์ รู้เรื่องเข้า ได้บังคับเอาลูกแก้วมาเก็บไว้เอง แต่ชีวิตกลับเจอแต่อุปสรรค ฐานะความเป็นอยู่เริ่มขัดสน จึงต้องคืนลูกแก้วให้แก่เด็กชาย พร้อมทั้งยกหนี้สิน และปลดปล่อยนายหูและนางจันทร์ให้หลุดพ้นจากการเป็นทาสในเรือนเบี้ย

ต่อมาเมื่อเด็กชายอายุ 7 ปี พ่อแม่ส่งไปเรียนหนังสือกับพระอาจารย์ที่วัด และได้บวชเป็นสามเณรเพื่อศึกษาธรรมะ ซึ่งวัดที่ท่านได้เล่าเรียนก็คือ วัดดีหลวง และวัดสีหยัง ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดเก่าแก่ที่มีอยู่จริง ตั้งอยู่ใน อ.สทิงพระ จ.สงขลา ท่านได้เดินทางไปเรียนนักธรรมที่ จ.นครศรีธรรมราช ก่อนจะเดินทางธุดงค์ไปตามจังหวัดต่างๆ มีผู้คนเลื่อมใสศรัทธา และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากสมเด็จพระเอกาทศรถ

องค์หลวงปู่ทวด ประดิษฐาน ณ วัดพะโคะ อ.สทิงพระ จ.สงขลา ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “สมเด็จเจ้าพะโคะ”

อภินิหารที่มาของ “หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด”

ผู้ที่นับถือหลวงปู่ทวดเชื่อว่าท่านเป็นพระอริยสงฆ์ผู้ทรงอภิญญาที่น่าเลื่อมใสศรัทธา มีเรื่องราวอภินิหารที่เล่าสืบต่อกันมานานกว่า 400 ปี จนกลายเป็นที่มาของคำว่า “หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด” ดังนี้

สมัยที่ท่านยังมีชีวิต ท่านได้ขออาศัยเรือสำเภาเพื่อเดินทางไปยังกรุงศรีอยุธยา แต่ระหว่างทางเกิดพายุลมมรสุม ทำให้เรือสำเภาต้องจอดพักที่เกาะแห่งหนึ่งจนน้ำดื่มหมด ลูกเรือต่างพากันคิดว่า ตั้งแต่เดินเรือมาไม่เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ แต่เมื่อรับพระสงฆ์รูปนี้ขึ้นเรือก็เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ทุกคนลำบาก จึงคิดวางแผนปล่อยหลวงปู่ทวดไว้ที่เกาะ ทว่าท่านได้แสดงอภินิหารด้วยการจุ่มเท้าซ้ายลงในน้ำทะเล ปรากฏว่าน้ำบริเวณนั้นกลายเป็นน้ำจืดที่สามารถดื่มกินได้ ทำให้เจ้าของเรือต้องขมาท่าน และนิมนต์ขึ้นเรือเพื่อเดินทางไปยังกรุงศรีอยุธยาต่อไป

ในขณะที่บางตำนานก็เล่าว่า มีโจรสลัดจับท่านขึ้นเรือเพื่อหวังลองดี แต่เรือกลับแล่นต่อไม่ได้ ลอยอยู่กลางทะเลหลายวันจนน้ำดื่มหมด ท่านจึงจุ่มเท้าซ้ายลงในทะเล ทำให้น้ำทะเลบริเวณที่ท่านจุ่มเท้าลงไปกลายเป็นน้ำจืดให้ดื่มกิน เหล่าโจรจึงเกิดความศรัทธา กราบไหว้ขอขมา นำท่านมาส่งกลับ เมื่อประชาชนรู้ข่าวก็พากันเลื่อมใสท่านนับตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อด้วยว่า “ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์” แห่งวัดเจดีย์ ต.ฉลอง อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ก็เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ทวด ที่รักษาสัจวาจาในการดูแลรักษาวัดเพื่อบำรุงพระพุทธศาสนา

“หลวงปู่ทวดวัดห้วยมงคล” อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ หน้าตักกว้าง 9.9 เมตร สูง 11.5 เมตร ถือเป็นองค์ใหญ่ที่สุดในโลก

ทั้งนี้ หลวงปู่ทวด อาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปแล้วแต่พื้นที่ ชาวปักษ์ใต้นิยมเรียกท่านว่า “หลวงพ่อทวด” ตามประวัติเล่าว่าเมื่อท่านอายุ 80 ปี ได้เดินทางกลับจากกรุงศรีอยุธยาเพื่อมาจำพรรษาที่วัดพะโคะ อ.สทิงพระ จ.สงขลา ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน ทำให้ชาวบ้านเรียกท่านว่า “สมเด็จเจ้าพระโคะ” หรือ “หลวงปู่ทวด วัดพะโคะ” ขณะเดียวกัน ท่านก็เคยเป็นเจ้าอาวาสที่วัดช้างให้ อ.โคกโพธ์ จ.ปัตตานี และได้สั่งให้บรรจุอัฐิท่านไว้ ณ วัดแห่งนี้ ทำให้ลูกศิษย์เรียกท่านว่า “หลวงปู่ทวด วัดช้างให้”

นอกจากพื้นที่ทางภาคใต้ ยังมีการประดิษฐานหลวงพ่อทวด พระนามาภิไธย ส.ก. หน้าตักกว้าง 9.9 เมตร สูง 11.5 เมตร ณ วัดห้วยมงคล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่ง “หลวงปู่ทวดวัดห้วยมงคล” ถือว่าเป็นองค์ใหญ่ที่สุดในโลก ส่วนทางภาคกลางก็มีการสร้าง “อุทยานหลวงปู่ทวด” หรือ “พุทธอุทยานมหาราช” ประดิษฐานหลวงปู่ทวดองค์ใหญ่สีทอง ความสูงจากฐานรวม 51 เมตร อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา ให้ชาวไทยทั่วประเทศได้เดินทางไปกราบไหว้บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล

หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน 2497 ที่เซียนพระเมืองไทยตามหา

เรื่องราวตำนานและความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงปู่ทวด ทำให้เหล่าเซียนพระนิยมหาเช่าองค์หลวงพ่อทวดมาบูชา เนื่องจากเชื่อว่ามีพุทธคุณคุ้มครองผู้บูชาให้มีสิริมงคล รอดพ้นจากอันตรายต่างๆ สำหรับรุ่นที่หายากที่สุดคือ “หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน 2497” เป็นรุ่นที่วัดช้างให้พิมพ์ใน พ.ศ. 2497 ผสมมวลสารดินกากยายักษ์ และว่านประเภทต่างๆ มีลักษณะเป็นรูปหลวงปู่ทวด องค์สีดำหรือเทา เรียกได้ว่าเป็นพระเครื่องที่เซียนพระเมืองไทยตามหากันมากที่สุด ราคาอยู่ที่หลักหลายแสนบาท ซึ่งหากจะพิจารณาว่าของแท้หรือเทียมนั้น ต้องอาศัยความชำนาญอย่างถี่ถ้วนเลยทีเดียว

บารมีของหลวงปู่ทวดจะคุ้มครองผู้ประพฤติดี ปฏิบัติดี และดำเนินชีวิตด้วยการทำมาหากินที่สุจริต

คาถาบูชาหลวงปู่ทวด ให้แคล้วคลาดปลอดภัย

สำหรับการบูชาหลวงปู่ทวดเพื่อความเป็นสิริมงคล ให้จุดธูปแขก 9 ดอก มะลิขาว 9 ดอก พร้อมกล่าวบทคำบูชาพระพุทธเจ้า และตามด้วยคาถาบูชาหลวงปู่ทวด ดังนี้

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ

นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา

คำแปล : “ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่เจ้าประคุณสมเด็จหลวงปู่ทวด ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ เป็นผู้มีโชค ซึ่งเข้ามาสถิตย์อยู่ในตัวของข้าพเจ้า”

ผู้ที่เลื่อมใสบูชาในหลวงปู่ทวด เชื่อว่าอานุภาพของคาถาบทนี้จะช่วยดลบันดาลให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง ชาวใต้จะนิยมนำองค์หลวงปู่ทวด กลัดไว้กับเสื้อของทารกเพื่อป้องกันสิ่งอัปมงคล อีกทั้งสวดเมื่อต้องเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ ซึ่งผู้ที่สวดบูชาเพื่อขอให้บารมีของหลวงปู่ทวดคุ้มครอง จะต้องเป็นผู้ประพฤติดี ปฏิบัติดี และดำเนินชีวิตด้วยการทำมาหากินที่สุจริต

บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา
ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ | เผยแพร่เมื่อ ๒๐ มกราคาม ๒๕๖๔

Post Views: 122
  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

What you can read next

หลวงปู่ทวดเบ้าทุบ หล่อโบราณ รุ่น “ชนะคน” วัดสุทัศน์จัดสร้าง ปี 2538
ขนหัวหมู ๑๐๐ หัว แก้บน “หลวงพ่อเคลือบวาจาสิทธิ์” อดีตเกจิดังเมืองอุทัย หลังชนะคดี
พระวชิรสารโสภณ (หลวงพ่อจุล อิสสรญาโณ)

หมวดหมู่บทความ : บันทึกเพื่อศึกษา

  • บทความ (ทั้งหมด)
  • พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
  • พระเครื่องและวัตถุมงคล
  • พระเกจิอาจารย์
    • ประวัติพระเกจิอาจารย์
  • อาจารย์ฆราวาส
  • ล็อกเก็ตและภาพถ่าย
  • พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
  • เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
  • ศิลปะและของสะสม
  • ธรรมะและบทสวดมนต์
  • บันทึกเพื่อศึกษา
  • เก็บมาเล่า
  • มุมนักสะสม
    • เก็บเพื่อลงทุน
    • นักสะสม

บทความล่าสุด

  • พระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ ปี ๒๕๑๕ พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษกสุดยิ่งใหญ่

    เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๑๕ พุทธสมาคมพิษณุโลก ได...
  • เปิดตำนานพระเศรษฐีนวโกฏิ

    ตามตำนานของชาวล้านนาบันทึกไว้ว่า ในสมัยโบราณสมั...
  • พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ หรือ พระกริ่ง 7 รอบ วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. 2499 และจุดพิจารณา

    วันนี้มีโอกาสได้ชมสุดยอดพระกริ่ง เป็นพระกริ่งที...
  • พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ หรือ พระกริ่ง 7 รอบ วัดบวรนิเวศวิหาร

    “พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ หรือ พระกริ่ง 7 รอบ หนึ...
  • พระกริ่ง ๗ รอบ พระกริ่งของพระราชา มหามงคลแห่งแผ่นดิน

    พระกริ่งของพระราชา มหามงคลแห่งแผ่นดิน (๑) พระกร...

บทความยอดนิยม

  • ประวัติท้าวเวสสุวรรณ วัดจุฬามณี (3,206)
  • จตุคามรามเทพ รุ่นโคตรเศรษฐี (1,598)
  • ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร วัดโฆสิตาราม (วัดบ้านแค) ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท (1,456)
  • ปาฏิหาริย์ “หลวงพ่อสมปรารถนา” แค่ภาพถ่ายยังศักดิ์สิทธิ์ (1,443)
  • ล็อกเก็ตเเละรูปหล่อหลวงพ่อกวยช่วยสร้างพระอุโบสถ (1,167)
  • พิธีมหาพุทธาภิเษก จตุคามรามเทพ รุ่นโคตรเศรษฐี (1,056)
  • หลวงปู่ทวดเบ้าทุบ หล่อโบราณ รุ่น “ชนะคน” วัดสุทัศน์จัดสร้าง ปี 2538 (1,052)
  • ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อน้อย ชุตินธโร วัดเนินเวียง (เวียงสวรรค์) ต.บางมะฝ่อ อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ (1,033)
  • เปิดที่มาพระสมเด็จเหม็น หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง วัตถุมงคลชื่อดังเพชรบุรี (922)
  • เหรียญพระราชพิธีขึ้นระวางสมโภชช้างเผือก ส.ค. ๒๕๒๐ จ.นราธิวาส (916)
  • เหรียญรุ่นแรก-ใบตำลึง หลวงพ่อน้อย วัดเนินเวียง พระเกจิชื่อดังนครสวรรค์ (896)
  • พระนักธรรม หลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน จ.อ่างทอง (864)
  • พญานาคเจ็ดเศียร นาคาธิบดีศรีสัตตนาคบาดาล (พญาศรีสัตตนาคราช) (778)
  • พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๑๕ – ตอนที่ ๓) (772)
  • รายละเอียดและจำนวนการจัดสร้างวัตถุมงคลจตุคามรามเทพ รุ่น โคตรเศรษฐี (743)

หมวดหมู่สินค้า

  • พระเครื่องและวัตถุมงคล
    • พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
    • พระเครื่องที่ผสมผงจิตรลดา
    • พระเครื่องที่มีพระปรมาภิไธย ภปร.
    • ล็อกเก็ตและภาพถ่าย
    • พระเกจิอาจารย์
    • พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
    • เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
    • เครื่องรางของขลัง
    • อาจารย์ฆราวาส
    • พระดี น่าบูชา
  • ศิลปะ รูปภาพ และของสะสม
  • หนังสือ
  • พญาครุฑพระอาจารย์วราห์ ปุญญวโร (รอทำข้อมูล)
    Read more
  • ท้าวเวสสุวรรณ พระอาจารย์อิฏฐ์ ภทฺทจาโร
    Read more
  • รัชกาลที่ ๑ อยู่ระหว่าง การจัดทำข้อมูล
    Read more
  • ล็อกเก็ตในหลวง รัชกาลที่ ๙ หลังลายเซ็น
    Read more
  • ล็อกเก็ตในหลวง รัชกาลที่ ๙ หลัง ภ.ปร.
    Read more
  • ล็อกเก็ตในหลวง รัชกาลที่ ๙ หลังลายเซ็น
    Read more
  • อยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูล
    Read more
  • ล็อกเก็ตสมเด็จย่าและสมเด็จพระพี่นาง รุ่นพระมหามณฑป
    Sale Product on sale
    ฿1,899.00 ฿1,550.00
    Add to basket
  • ล็อกเก็ตพระมหามณฑป ภปร. สก.
    Read more

Siam Collection ล็อกเก็ตในหลวง และพระเครื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์

เมนู

  • สินค้าในร้าน (ทั้งหมด)
  • พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
  • พระเครื่องและวัตถุมงคล
  • ล็อกเก็ตและภาพถ่าย
  • เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
  • ศิลปะ รูปภาพ และของสะสม
  • โชว์

บริการของเรา

  • โฆษณากับเรา
  • รับทำเว็บไซต์พระเครื่อง
  • รับเปลี่ยนพื้นหลังภาพถ่ายพระเครื่อง

เกี่ยวกับเรา

  • รู้จักกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • วิธีสั่งซื้อ
  • วิธีชำระเงิน
  • วิธีแจ้งโอนเงิน
ติดต่อเรา
โทร. 063 639 2524
เฟสบุ๊ค : @SiamCollection.in.th
ไลน์ : @siamcollection
  • GET SOCIAL
Siam Collection

© 2021. All rights reserved.

Flag Counter
Flag Counter
TOP