SIGN IN YOUR ACCOUNT TO HAVE ACCESS TO DIFFERENT FEATURES

FORGOT YOUR PASSWORD?

FORGOT YOUR DETAILS?

AAH, WAIT, I REMEMBER NOW!

Siam Collection

  • LOGIN
  • หน้าแรก
  • สินค้า
  • พระมหากษัตริย์
  • พระเครื่อง
  • ล็อกเก็ตและภาพถ่าย
  • เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
  • ศิลปะและของสะสม
  • บทความ
  • ติดต่อเรา
  • No products in cart.
รับเช่า
  • Home
  • พระเครื่องและวัตถุมงคล
  • พระเกจิอาจารย์
  • ประวัติพระเกจิอาจารย์
  • ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดจันทาราม (ท่าซุง) ต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี
scadmin
Saturday, 22 January 2022 / Published in ประวัติพระเกจิอาจารย์, หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดจันทาราม (ท่าซุง) ต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี

“หลวงพ่อพระราชพรหมยาน” หรือ “หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ” วัดจันทาราม (ท่าซุง) อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี เป็นพระอริยสงฆ์ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือด้านการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ตามปูมประวัติหลังมรภาพสังขารของท่านมิได้เน่าเปื่อย และได้มีการเก็บรักษาไว้ที่วัดท่าซุงจนถึงปัจจุบันนี้ ได้มีการกล่าวกันว่า คนที่ต้องการเป็นศิษย์ของ “หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ” ไม่ต้องขออนุญาต แม้ว่าไม่เคยเห็นหน้าค่าตากันเลยสักครั้งก็รับเป็นศิษย์ได้ เพียงแต่ขอให้ได้มีการปฏิบัติตนผ่านตามเงื่อนไขบางประการ จะได้กล่าวในตอนท้ายบทความนี้

พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร) เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2460 ตำบลสาลี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เดิมชื่อ สังเวียน สังข์สุวรรณ เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 5 คน ของนายควง (บิดา) และนางสมบุญ (มารดา) สังข์สุวรรณ

เมื่ออายุ 6 ขวบ เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาลวัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนจบชั้นประถมปีที่ 4 เมื่ออายุ 15 ปี เข้ามาอยู่กับท่านยายที่บ้านหน้าวัดเรไร อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี และได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ อายุ 19 ปี เข้าเป็นเภสัชกรทหารเรือ สังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ พออายุได้ 20 ปี อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 ที่วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีพระครูรัตนาภิรมย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน โสนนฺโท) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์เล็ก เกสโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์

มีคำสั่งพระอุปัชฌาย์ ความว่า :

ขณะเข้าบวช หลวงพ่อปาน ท่านได้บอกท่านอุปัชฌาย์ว่า เจ้านี่หัวแข็งมาก ต้องเสกด้วยตะพดหนักหน่อย ท่านอุปัชฌาย์ท่านเป็นพระทรงธรรมเหมือนหลวงพ่อปาน หลวงพ่อเล็กก็เหมือนท่านอุปัชฌาย์ ท่านยิ้มแล้วพูดว่า “3 องค์นี้ไม่สึก อีกองค์ต้องสึกเพราะมีลูก เมื่อจะสึกไม่ต้องเสียดายนะลูก เกษียณแล้วบวชใหม่ มีผลสมบูรณ์เหมือนกัน 2 องค์นี้ พอครบ 10 พรรษา ต้องเข้าป่า เมื่อเข้าป่าแล้วห้ามออกมายุ่งกับชาวบ้านจนกว่าจะตาย จะพาพระและชาวบ้านที่อวดรู้ตกนรก จะไปตามทางของเธอ ท่านปานช่วยสอนวิธีเข้าป่าให้หนักหน่อย ท่านองค์นี้ (หมายถึงฉัน) จะเข้าป่าไปกับเขา แต่ห้ามอยู่ไปป่าเป็นวัตร เพราะเธอมีบริวาร ต้องอยู่สอนบริวารจนตาย พอครบ 20 พรรษา จงออกจากสำนักเดิม เธอจะได้ดี จงไปตามทางของเธอ ฉันบวชพระมามากแล้ว ไม่อิ่มใจเท่าบวชพวกเธอ”

สอบได้นักธรรมตรี โท เอก ภายใน 3 ปี นับช่วง อายุ 21, 22 และ 23 ปี ตามลำดับ ต่อมาได้ศึกษาพระกรรมฐานจากครูอาจารย์หลายท่าน อาทิ หลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค, หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก, พระอาจารย์เล็ก เกสโร วัดบางนมโค, พระครูรัตนภิรมย์ วัดบ้านแพน, พระครูอุดมสมาจารย์ วัดน้ำเต้า, หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ, หลวงพ่อเนียม วัดน้อย, หลวงพ่อโหน่ง อินฺทสุวณฺโณ วัดอัมพวัน (วัดคลองมะดัน) และหลวงพ่อเรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ พ.ศ. 2481 เข้ามาจำพรรษาวัดช่างเหล็ก อ.ตลิ่งชัน จ.ธนบุรี เพื่อเรียนภาษาบาลี สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ได้ย้ายมาอยู่วัดอนงคาราม หลังจากนั้นได้เป็นรองเจ้าคณะ 4 วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เป็นเจ้าอาวาสวัดบางนมโค และย้ายไปอีกหลายวัด

จน พ.ศ. 2511 จึงมาอยู่วัดท่าซุง บูรณะซ่อม สร้าง และขยายวัดท่าซุง จากเดิมพื้นที่ 6 ไร่เศษ จนกระทั่งมีบริเวณพื้นที่ประมาณ 289 ไร่ พ.ศ. 2527 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ “พระสุธรรมยานเถร” พ.ศ. 2532 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ “พระราชพรหมยาน ไพศาลภาวนานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี”

มรณภาพ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2535 พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) ได้อาพาธด้วยโรคปอดบวมอย่างแรง และติดเชื้อในกระแสโลหิต เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศิริราช และมรณภาพที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2535 เวลา 16.10 น.

ตลอดระยะเวลาที่อุปสมบทอยู่ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) ได้ทำหน้าที่ของสงฆ์ในพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ

ด้านชาติ : สร้างโรงพยาบาล สร้างโรงเรียน และจัดตั้งธนาคารข้าว ออกเยี่ยมทหารของชาติ และตำรวจตระเวนชายแดนหน่วยต่างๆ เพื่อปลุกปลอบขวัญและกำลังใจ และแจกอาหาร ยา อุปกรณ์อำนวยความสะดวก และวัตถุมงคลทั่วประเทศ

ด้านพระมหากษัตริย์ : ท่านได้สนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) โดยจัดตั้งศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) ศูนย์ที่ได้ดำเนินการสงเคราะห์ราษฎรในถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 จนกระทั่งมรณภาพ

ด้านพระพุทธศาสนา : ที่สำคัญยิ่ง ท่านได้สั่งสอนพุทธบริษัท ศิษยานุศิษย์ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ให้มุ่ง “พระนิพพาน” เป็นหลัก โดยให้ประพฤติปฏิบัติ กาย วาจา ใจ ในทางในศีลและในกรรมฐาน 10 ทิศ และมหาสติปัฏฐานสูตร ได้พิมพ์หนังสือคำสอนกว่า 15 เรื่อง เทปคำสอนกว่า 1,000 เรื่อง นอกจากนี้ยังได้ธรรมเทศนาทุกช่องทาง ผู้เขียนได้รับมอบหนังสือ “รวมคำสอนธรรมปฏิบัติของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน” เล่ม 2 จาก นพ.ปรเมษฐ์ กิ่งโก้ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดร และมีรวม “คำสอนธรรมปฏิบัติ” ที่สำคัญที่ทรงคุณค่าแก่การเผยแพร่ “32 คำสอน” ความว่า :

ขอมอบภาพนี้ไว้ให้เพื่อเป็นอนุสรณ์ ที่เคยปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ร่วมกันมานับชาติไม่ถ้วน มาชาตินี้ก็มีโอกาสร่วมกันบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่มวลชนทั่วไป ขอผลความดีที่ร่วมกันทำไว้ทั้งในชาติที่เป็นอดีตและปัจจุบัน จงเป็นผลบันดาลให้ถึงที่สุดของความทุกข์ คือ นิพพานในชาติปัจจุบันนี้เถิด

สําหรับแนวการปฏิบัตินี้ ขอให้บรรดาท่านพุทธบริษัทถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพราะว่าเป็นคำสอนโดยตรงขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งใดที่พระพุทธเจ้าว่าไม่ดี ต้องละให้เด็ดขาด สิ่งใดที่พระพุทธเจ้าว่าดี ทำตามนั้น อย่างนี้บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทุกท่านจะเข้าพระนิพพานได้ตามที่ท่านต้องการ และก็ขอบรรดาภิกษุสามเณรทั้งหลายโปรดทราบว่า ถ้อยคำในอุทุมพริกสูตรนี้ ให้ถือเป็นระเบียบปฏิบัติของพระในสำนักนี้ สิ่งใดที่พระพุทธเจ้าทรงว่าไม่ดีต้องพยายามละ สิ่งใดดีพยายามทำตามนั้น และถ้าท่านยังละไม่ได้จริงๆ ก็ยับยั้งอยู่แค่ใจ ใช้ขันติบารมี อดทนเข้าไว้ แล้วใช้วิริยบารมีเข้าห้ามปราม อย่าให้มันไหลมาทางกายและวาจา คือ ปากอย่าพูดตามอารมณ์ชั่ว กายอย่าทำตามอารมณ์ชั่ว ให้มันอยู่แค่ในใจ ไม่ช้ากิเลสเหล่านี้ก็จะสลายตัวไป

ในฐานะที่ท่านทั้งหลายเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็จงอย่าคิดว่าเราจะทำวันเดียวสำเร็จ ค่อยๆ ทำไป สิ่งไหนบกพร่องก็พยายามระงับสิ่งนั้น และตั้งใจว่าเราจะไม่ยอมทำสิ่งนั้นต่อไป วันหลังมันอาจจะลืม อาจจะเผลอๆ คิดมาได้ ก็คิดว่าต่อไปนี้เราจะไม่ทำอย่างนั้น ให้ถือเป็นอธิษฐานบารมีให้ทรงตัว และมีสัจจบารมี และก็จงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ให้สมบูรณ์แบบ เวลาจะพูด เวลาจะทำ หรือเวลาจะคิด ก็คิดใคร่ครวญเสียก่อนว่าอันนี้มันดีหรือไม่ดี

ถ้าใครจะเข้าบวชในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในวัดของเรา นอกจากระเบียบปฏิบัติที่มีมาแล้ว อันดับแรก ขอให้ปฏิบัติมโนมยิทธิให้ได้ ถ้าไม่ได้มโนมยิทธิไม่ยอมให้บวช ประการที่สอง ยืนยันรับรองเรื่องระเบียบของวัดและพระวินัยจะไม่ละเมิด และประการที่สาม อุปกิเลสทั้งหลายจะต้องยืนยันว่าไม่ปล่อยให้มันไหลออกมาทางกายและวาจา ถ้าปรากฏว่าไหลมาจากทางกายและวาจา ไหลในสำนักก็ดี ไหลนอกสำนักก็ดี ถ้ามีหลักฐานให้กำจัดออกไปทันที อย่าให้อยู่ในวัดเป็นอันขาด

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เป็นโลกธรรม ถ้าเราคิดเราก็มีความทุกข์ ลาภที่เรามีมา ได้แล้วมันก็หมดเสื่อมไปได้ ถ้าเรายินดีในการได้ลาภ ไม่ช้ากำลังใจก็ต้องเสียใจ สลดใจเมื่อลาภหมดไป คำสรรเสริญก็เช่นเดียวกัน คำสรรเสริญไม่ใช่ของดี ถ้าเราติดในคำสรรเสริญ เราก็จะมีแต่ความทุกข์ เพราะว่าไม่มีใครเขามานั่งตั้งตา นั่งสรรเสริญเราตลอดวัน คนที่เขาสรรเสริญเราได้ เขาก็ติเราได้ ฉะนั้นจงจำไว้ว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า นินทา ปสังสา เป็นธรรมดาของชาวโลก ชาวโลกทั้งหมดเกิดมาต้องพบนินทาและสรรเสริญ นี่ท่านมาติดลาภ ติดสรรเสริญก็ถือเป็นอุปกิเลสอย่างหนัก

เราต้องตั้งใจมีความเคารพในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ พระสงฆ์ คือ พระปกติ ไม่ใช่พระเดินขบวน พวกนั้นไม่ใช่พระ เป็นเปรต เป็นสัตว์นรกมาเกิด นิสัยของสัตว์นรก เกิดมาใช้ไม่ได้ ทำให้ศาสนาบรรลัย นักบวชประเภทนี้ ถ้าเราไปไหว้ เราก็เป็นเปรตด้วย เพราะจริยาเขาเสีย เมื่อเรายอมรับความเสียของเขา เราก็เสียด้วย การเคารพพระสงฆ์ควรจะนึกเอาพระอริยเจ้าเป็นสำคัญ เรายกมือไหว้นักบวช เราถือว่าเราไหว้พระอริยสงฆ์ ถ้าท่านผู้นั้นไม่บริสุทธิ์ก็เชิญเสด็จลงนรกไปเอง เพราะยอมให้ชาวบ้านเขาไหว้ นั่นเป็นเรื่องของท่านไม่ใช่เรื่องของเรา

จงจำไว้ว่า อารมณ์ใดที่ประกอบไปด้วยความรัก ประกอบไปด้วยความโลภ ประกอบไปด้วยความโกรธ ประกอบไปด้วยความหลง พระพุทธเจ้ากล่าวว่าเป็นอารมณ์ของติรัจฉาน คือมันขวางจากความดี ฉะนั้น อาการของเดรัจฉานทั้งหมดอันพึงจะผิดทางจิตก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางกายก็ดี จงอย่ามี จงระมัดระวังกำลังใจเป็นสำคัญ อย่าเอาอารมณ์ของเดรัจฉานเข้ามาใช้ในจิต และก็จงอย่าไปเพ่งเล็งบุคคลอื่น จงอย่าสนใจกับอารมณ์ของคนอื่น จงอย่าสนใจกับจริยาของบุคคลอื่น ให้พยายามปรับปรุง “ใจตนเองเป็นสำคัญ” และให้ทรงพรหมวิหาร 4 มีอิทธิบาท 4 ฟังแล้วก็ต้องจำ จำแล้วก็ต้องประพฤติปฏิบัติ ถ้าทำไม่ได้จงรู้ตัวว่าเลยเกินไป คนเลวเขาไม่เรียกว่าคน เขาเรียกว่าสัตว์ในอบายภูมิ

เรามีความรู้สึกอยู่เสมอว่า เราจะต้องตายแน่ จะตายเช้า ตายสาย ตายบ่าย ตายเที่ยง ตายด้วยอาการปกติ หรือด้วยอุบัติเหตุก็ตาม ก็ขึ้นชื่อว่าจะต้องตาย เราไม่ประมาทในชีวิต ก่อนที่เราจะตาย จะกอบโกยความดีใส่กำลังใจไว้ให้มันครบ พระพุทธเจ้าทรงสอนแบบไหน ปฏิบัติให้จบ ให้ครบทุกประการ ให้บริบูรณ์ทั้งหมด ในฐานะที่เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระบรมสุคต

ถ้าทุกคนปรับปรุงใจตนดีแล้ว มันก็ไม่มีเรื่องยุ่งกับคนอื่น ไม่สร้างคนอื่นให้มีความเร่าร้อน ในการจะเพ่งโทษคนอื่น ต้องรู้ตัวว่าเราเลวเกินไป นี่จงรู้สึกตัวไว้เสมอ รู้สึกตัวว่าเรามันเลว เลวมาก จนกระทั่งขังไว้ในใจไม่ได้ มันจึงอุตส่าห์ไหลออกมาทางวาจา ไหลออกมาทางกาย นี่แสดงว่าความเลวมันล้นออกมาจากจิต ในข้อนี้ต้องคิดไว้เป็นประจำ อย่าทะนงตนว่าเป็นคนดี ถ้าดีแล้ว ปากไม่เสีย กายไม่เสีย ถ้าปากเสีย กายเสีย ความเลวมันล้น มีความดีไม่ได้

สำหรับคนที่เขามาสร้างความชั่วให้สะเทือนใจเรา นั่นเขาเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม ไม่มีทางที่จะคืนตัวได้ เราจงคิดว่าคนประเภทนี้ เขาไม่ใช่คน เขาคือสัตว์นรกในอบายภูมินั่นเอง เราคิดว่าถ้าเราจะไปต่อล้อต่อเถียง จะกระทำตอบ เราก็จะเลวตามเขา เวลานี้จิตใจของเขาจมลงไปแล้วในนรก ถ้าเราทำตามแบบเขาบ้าง เราก็จะจมนรกเหมือนกัน มันไม่มีประโยชน์ จิตเราก็ระงับความโกรธด้วยอำนาจขันติ หรืออุเบกขา เฉย เขาเลวก็ปล่อยให้เขาเลวไปแต่ผู้เดียว เราไม่ยอมเลวด้วย แล้วเราก็จะ “ดี” เอง ไงเล่าครับ

ผู้เขียน : วิชัย เทียนถาวร
ที่มา : www.matichon.co.th

Post Views: 75
  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine
Tagged under: นพ.วิชัย เทียนถาวร, วีระ ถาวโร, หลวงพ่อพระราชพรหมยาน, หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ

What you can read next

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ สอนวิธีทำบุญ อุทิศส่วนกุศล จากพญายมราช
ประวัติและปฏิปทา พระอาจารย์อิฏฐ์ ภทฺทจาโร วัดจุฬามณี ต.บางช้าง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อเคลือบ สาวรธมฺโม วัดหนองกระดี่นอก ต.หนองยายดา อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี

นานาสาระ พระเครื่องและของสะสม

  • บทความ (ทั้งหมด)
  • รัชกาลที่ ๙
  • พระเครื่องที่ผสมผงจิตรลดา
  • พระเครื่องที่มีพระปรมาภิไธย ภปร.
  • พระเครื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์
  • ประวัติพระเกจิอาจารย์
  • พระเครื่องและวัตถุมงคล
    • บทความ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร
    • บทความ หลวงพ่อน้อย ชุตินฺธโร
    • บทความ หลวงพ่อทรง ฉันทโสภี
    • บทความ หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม
  • อ.ธนะเมศฐ์ ตันติฤทธิ์ดำรงค์
  • ธรรมะและบทสวดมนต์
  • ล็อกเก็ตและภาพถ่าย
  • เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
  • ศิลปะและของสะสม
  • Siam Collection Show
  • มุมนักสะสม
  • บันทึกเพื่อศึกษา
  • เสาะหาเพื่อสะสม

บทความล่าสุด

  • วัตถุมงคลที่ระลึกงานทำบุญวันเกิด หลวงพ่อชาญณรงค์ อภิชิโต วันที่ 5 เมษายน 2565

    เรียน สมาชิกเพจ ลูกศรีวิชัยทุกท่าน เนื่องด้วยวั...
  • วัตถุมงคล สายลูกศรีวิชัย

    เล่าเรื่องวัตถุมงคล สายลูกศรีวิชัย วัตถุมงคลของ...
  • ล็อกเก็ต ฉากดำ

    เล่าเรื่องล็อกเก็ต ฉากดำดีกว่า ผมได้ทำวัตถุมงคล...
  • วัตถุมงคลที่ อ.ธนะเมศฐ์ ตันติฤทธิ์ดำรงค์ (อ.ออย) จัดสร้าง แจกในวันเกิดหลวงพ่อชาญณรงค์ อภิชิโต ภิกขุ ปี 2564

    เรียน ผู้ที่ศรัทธาหลวงพ่อชาญณรงค์ อภิชิโต เรื่อ...
  • เหรียญพระบรมรูป รัชกาลที่ 9 ทรงผนวช

    ประวัติการสร้าง เมื่อปี พ.ศ. 2508 ทางวัดบวรฯ ได...

บทความยอดนิยม

  • ประวัติท้าวเวสสุวรรณ วัดจุฬามณี (3,169)
  • จตุคามรามเทพ รุ่นโคตรเศรษฐี (1,521)
  • ปาฏิหาริย์ “หลวงพ่อสมปรารถนา” แค่ภาพถ่ายยังศักดิ์สิทธิ์ (1,390)
  • ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร วัดโฆสิตาราม (วัดบ้านแค) ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท (1,340)
  • ล็อกเก็ตเเละรูปหล่อหลวงพ่อกวยช่วยสร้างพระอุโบสถ (1,087)
  • พิธีมหาพุทธาภิเษก จตุคามรามเทพ รุ่นโคตรเศรษฐี (1,013)
  • หลวงปู่ทวดเบ้าทุบ หล่อโบราณ รุ่น “ชนะคน” วัดสุทัศน์จัดสร้าง ปี 2538 (972)
  • ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อน้อย ชุตินธโร วัดเนินเวียง (เวียงสวรรค์) ต.บางมะฝ่อ อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ (967)
  • เหรียญรุ่นแรก-ใบตำลึง หลวงพ่อน้อย วัดเนินเวียง พระเกจิชื่อดังนครสวรรค์ (883)
  • เปิดที่มาพระสมเด็จเหม็น หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง วัตถุมงคลชื่อดังเพชรบุรี (877)
  • เหรียญพระราชพิธีขึ้นระวางสมโภชช้างเผือก ส.ค. ๒๕๒๐ จ.นราธิวาส (867)
  • พระนักธรรม หลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน จ.อ่างทอง (803)
  • พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๑๕ – ตอนที่ ๓) (760)
  • พญานาคเจ็ดเศียร นาคาธิบดีศรีสัตตนาคบาดาล (พญาศรีสัตตนาคราช) (739)
  • พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๑๕ – ตอนที่ ๕) (719)

เมนูหลัก

  • สินค้าในร้าน (ทั้งหมด)
  • พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
  • พระเครื่องและวัตถุมงคล
  • ล็อกเก็ตและภาพถ่าย
  • เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
  • ศิลปะ รูปภาพ และของสะสม
  • โชว์
  • พญาครุฑพระอาจารย์วราห์ ปุญญวโร (รอทำข้อมูล)
    Read more
  • ท้าวเวสสุวรรณ พระอาจารย์อิฏฐ์ ภทฺทจาโร
    Read more
  • รัชกาลที่ ๑ อยู่ระหว่าง การจัดทำข้อมูล
    Read more
  • ล็อกเก็ตในหลวง รัชกาลที่ ๙ หลังลายเซ็น
    Read more
  • ล็อกเก็ตในหลวง รัชกาลที่ ๙ หลัง ภ.ปร.
    Read more
  • ล็อกเก็ตในหลวง รัชกาลที่ ๙ หลังลายเซ็น
    Read more
  • อยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูล
    Read more
  • ล็อกเก็ตสมเด็จย่าและสมเด็จพระพี่นาง รุ่นพระมหามณฑป
    Sale Product on sale
    ฿1,899.00 ฿1,550.00
    Add to basket
  • ล็อกเก็ตพระมหามณฑป ภปร. สก.
    Read more

Siam Collection ล็อกเก็ตในหลวง และพระเครื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์

เมนู

  • สินค้าในร้าน (ทั้งหมด)
  • พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
  • พระเครื่องและวัตถุมงคล
  • ล็อกเก็ตและภาพถ่าย
  • เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
  • ศิลปะ รูปภาพ และของสะสม
  • โชว์

บริการของเรา

  • โฆษณากับเรา
  • รับทำเว็บไซต์พระเครื่อง
  • รับเปลี่ยนพื้นหลังภาพถ่ายพระเครื่อง

เกี่ยวกับเรา

  • รู้จักกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • วิธีสั่งซื้อ
  • วิธีชำระเงิน
  • วิธีแจ้งโอนเงิน
ติดต่อเรา
โทร. 063 639 2524
เฟสบุ๊ค : @SiamCollection.in.th
ไลน์ : @siamcollection
  • GET SOCIAL
Siam Collection

© 2021. All rights reserved.

Flag Counter
TOP