ก่อนที่จะต่อเรื่องวัตถุมงคล ผมขอแก้ไขข้อผิดพลาดสักนิด นั่นคือตอนที่ 1 ผมเรียนต่อท่านผู้อ่านว่า สวรรค์มี 7 ชั้น ความจริงไม่ใช่ครับ มีแค่ 6 ชั้นเท่านั้นเอง อีกเรื่องหนึ่งคือชื่อของท่านท้าวฯ ที่ตอนที่ 1 – 2 ผมเขียนเป็น เวสสุวัณโณ แต่ตอนที่ 3 และตอนนี้ผมเขียนเป็น เวสสุวรรณโณ ท่านอาจารย์บอกว่าใช้ได้ทั้ง 2 คำ แต่นิยมใช้เวสสุวรรณโณมากกว่า นอกจากนี้ผมขอแสดงความยินดีต่อชาวตำบลบางช้าง ที่ท่านอาจารย์อิฏฐ์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอุปัชฌาย์องค์ใหม่ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2537 ซึ่งนับเป็นอุปัชฌาย์หนุ่มที่มีความสามารถสูง ทำให้การอุปสมบทบุตรหลานในเขตตำบลบางช้างสะดวกขึ้น เอาละครับ เรามาว่าเรื่องวัตถุมงคลกันต่อ
9. พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ เทวบดี ปี 2535
พระกริ่ง
ถอดแบบมาจากกริ่งใหญ่ เทโดยนายช่างสมรฯ มีขนาดความสูง 4.2 ซม. การบรรจุกริ่งใช้คว้านก้นแล้วปิดด้วยแผ่นทองคำ เงิน และแผ่นทองแดง แผ่นที่ปิดตอกยันต์ที่ท่านท้าวเวสสุวรรณโณกำหนดให้
ลักษณะของยันต์ คล้ายกับยันต์พุทธซ้อน คือเป็นตัวพุทธขนาดใหญ่ 2 ตัวซ้อนกัน ภายในตัวพุทธมีเลยไทย ๓ ๕ ๖ ด้านบนตัวพุทธเป็นยันต์ นะ เศรษฐี ด้านล่างเป็นยันต์เฑาะว์หัวสะบัดกลับด้านหัวลง เมื่อปิดก้นแล้วคลึงจนบุ๋มเข้าไปเป็นลักษณะก้นถ้วย ตอกโค้ดที่ฐานด้านหลัง
จำนวนการสร้าง
- เนื้อทองคำ 40 องค์
- เนื้อเงิน 108 องค์
- เนื้อนวโลหะก้นทองคำ 53 องค์
- เนื้อนวโลหะก้นเงิน 95 องค์
- เนื้อนวโลหะก้นทองแดง 452 องค์
- เนื้อสตางค์ทอง 1,080 องค์
คงต้องอธิบายต่อท่านผู้อ่านสักนิด สำหรับเนื้อสตางค์ ท่านอาจารย์เล่าว่า ในสมัยที่หลวงพ่อเนื่องยังมีชีวิตอยู่ ท่านอาจารย์อิฏฐ์พร้อมลูกศิษย์ได้ไปแลกเหรียญห้าสตางค์มาจากกองกษาปณ์เป็นจำนวนมาก เป็นเหรียญ พ.ศ. 2500 จากนั้นนำมาตอกโค้ด ให้หลวงพ่อเนื่องปลุกเสกเก็บไว้แจก ภายหลังมีคนมาขอกันบ่อยๆ และไม่ใช่ขอแบบธรรมดา แต่เล่นขอกันทีละ 500 – 1,000 เหรียญ เพื่อนำไปทำเป็นพวงกุญแจ แจกเป็นของชำร่วย เมื่อถูกกวนหนักๆ เข้า ท่านจึงนำมาหลอมทำพระกริ่งเสียเลย โดยใช้สตางค์ล้วนๆ ทำให้พระออกมาเป็นสีทอง บางองค์ถ้าไม่สังเกตุให้ดี จะนึกว่าเป็นเนื้อทองคำ
พระกริ่งเนื้อเงิน
พระกริ่งเนื้อสตางค์ทอง
พระชัยวัฒน์
ลักษณะเป็นพิมพ์แบบเดียวกับพระชัยวัฒน์ชินบัญชร ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ มีขนาดความสูง 1.9 ซม. มีเนื้อนวโลหะอย่างเดียว จำนวน 2,000 องค์ ตอกโค้ดและหมายเลขบริเวณฐานด้านหลัง
พระชัยวัฒน์เนื้อนวะโลหะ
พระชัยวัฒน์เนื้อสตางค์ทอง
ทางด้านประสบการณ์เท่าที่ผมสอบถามได้นั้น เกิดจากพระกริ่ง หลังจากที่ลูกศิษย์ของท่านได้ไปไม่นาน ด้วยความนับถือองค์อาจารย์ จึงอาราธนาทำน้ำมนต์แล้วประพรมสินค้า ซึ่งเดิมเคยขายได้เดือนละ 100 กาละมัง ปัจจุบันขายได้เดือนละ 300 กาละมัง ลูกศิษย์รายนี้ขอร้องผมไม่ให้ลงชื่อ เลยเล่าคร่าวๆ ได้เท่านี้
10. ท้าวเวสสุวรรณโณ พิมพ์ใบมะขาม พ.ศ. 2535
เป็นพิมพ์ที่มีขนาดเล็กกระทัดรัดน่าใช้มาก มีขนาดเท่าพระปรกใบมะขาม ด้านหน้าเป็นรูปท่านท้าวเวสสุวรรณโณยืนย่อเข่าหน้ายักษ์ ด้านหลังเป็นยันต์แบบเดียวกับก้นพระกริ่ง
จำนวนการสร้าง
- เนื้อทองคำ 108 องค์
- เนื้อเงิน 1,000 องค์
- เนื้อทองแดง 84,000 องค์
ถึงแม้ว่าจำนวนการสร้างจะมาก แต่ขนาดน่าใช้ ทำให้เป็นที่ต้องการของลูกศิษย์ลูกหามาก เพราะนำติดตัวได้สะดวก เรียกว่า เล็กดีรสโต เหล่าสิงห์มอเตอร์ไซด์ชอบนำไปทากาวติดที่แฮนด์รถ ทำให้หมดลงอย่างรวดเร็ว และก็เกิดประสบการณ์อย่างรวดเร็วเช่นกัน รายแรกก็คือคุณกำพล ลิขิตวัฒนเศรษฐ ห้อยท้าวเวสสุวรรณโณ ใบมะขาม ขับรถเก๋งไปคว่ำ 4 – 5 ตลบ รถพังยับเยิน หลังคารถแบนราบไปกับขอบประตู แต่คุณกำพลไม่เป็นอะไรเลย แค่ข้อมือเดาะนิดหน่อยเท่านั้น
ด้านหลังจะเป็นยันต์นูน
11. ผ้ายันต์จีน พ.ศ. 2536
เป็นผ้ายันต์สีเหลืองพิมพ์ด้วยหมึกแดง เป็นรูปหยิน – หยาง และเสือคาบดาบ ขนาดกว้าง 10 ซม. ยาว 21 ซม. สร้างขึ้นแจกในวันสงกรานต์ พ.ศ. 2536 จำนวนการสร้าง 12,000 ผืน
12. ผ้ายันต์มหาเวทย์ – มหามนต์ พ.ศ. 2536
เป็นผ้ายันต์สีแดงพิมพ์ด้วยหมึกดำ เป็นรูปท่านท้านเวสสุวรรณโณ ยืนย่อเข่าถืออาวุธหน้ายักษ์ ขนาดกว้าง 17 ซม. ยาว 25 ซม. ใช้บูชาประจำบ้านป้องกันภัย จำนวนการสร้าง 12,000 ผืน
13. เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พ.ศ. 2536
เป็นเหรียญรูปทรงสี่เหลี่ยม ขนาดกว้าง 2.1 ซม. สูง 3.0 ซม. ด้านหน้าเป็นรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีภาษาจีนล้อมรอบอยู่ด้านบนและด้านล่าง ด้านหลังเป็นยันต์จีน
14. พระสมเด็จสองพี่น้องเนื้อผง พ.ศ. 2536
ลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม ขนาดกว้าง 2.3 ซม. สูง 3.5 ซม.
ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อโสธร ซ้อนกับหลวงพ่อวัดเขาตะเครา โดยหลวงพ่อพระพุทธโสธรเป็นองค์เล็กอยู่หน้า หลวงพ่อวัดเขาตะเคราอยู่หลัง มีปรกโพธิ์ นั่งบนฐานบัว ซึ่งวางอยู่บนตั่งมหาสิงห์มีฐานเขียงอยู่ด้านล่าง ลายละเอียดทั้งหมดอยู่ภายในซุ้มโค้งแบบพระสมเด็จทั่วๆ ไป
ด้านหลัง เป็นยันต์ตรีนิสิงเห ด้านบนของผ้ายันต์เขียนว่า วัดจุฬามณี ด้านล่างเขียนว่า สมุทรสงคราม
จำนวนการสร้าง 20,000 องค์
สำหรับพระสมเด็จสองพี่น้องเนื้อผงรุ่นนี้ แกะพิมพ์ได้อย่างสวยงาม องค์พระและลวดลายต่างๆ คมชัด การออกแบบเหมาะเจาะลงตัว แม้กระทั่งช่างศิลป์เห็นแล้วยังออกปากว่าฝีมือเยี่ยมจริงๆ ที่สำคัญก็คือ การปลุกเสกและมวลสารส่วนผสมยอดเยี่ยมมาก ท่านอาจารย์ได้นำเข้าปลุกเสกหลายพิธี อาจารย์ที่มีความเข้มขลังหลายองค์ได้บอกกับท่านอาจารย์อิฏฐ์ว่า พระพิมพ์นี้รัศมีดีมาก มีพุทธคุณสูง สำหรับมวลสารที่นำมาเป็นส่วนผสม ท่านอาจารย์ใช้เวลาและความอุตสาหะในการเก็บรวบรวมมิใช่น้อย และคงต้องขอถือโอกาส นำรายละเอียดมาลงให้ท่านผู้อ่านได้ทราบด้วย
ดอกไม้
1. ดอกไม้จากหลักเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
2. ดอกไม้จากหลักเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
3. ดอกไม้จากหลักเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
4. ดอกไม้จากหลักเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
5. ดอกไม้จากหลักเมือง จังหวัดเพชรบุรี
6. ดอกไม้จากหลักเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
7. ดอกไม้จากหลักเมือง จังหวัดสิงห์บุรี
8. ดอกไม้จากหลักเมือง จังหวัดพิษณุโลก
9. ดอกไม้จากศาลพระเจ้าตาก จังหวัดตาก
10. ดอกไม้จากสุสานไตรลักษณ์ จังหวัดลำปาง
11. ดอกไม้จากหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จังหวัดนครราชสีมา
12. ดอกไม้จากวัดพระเขี้ยวแก้ว เมืองแคนดี้ ประเทศศรีลังกา
13. ดอกไม้จากศาลเจ้าหวังต้าเซียน ประเทศฮ่องกง
14. ดอกไม้จากหลักเมือง กรุงเทพมหานคร
15. ดอกไม้จากอุโบสถวัดพระแก้ว กรุงเทพมหานคร
16. ดอกไม้จากโบสถ์พราหมณ์วัดสุทัศน์ กรุงเทพมหานคร
17. ดอกไม้จากศาลพระเจ้าพ่อเสือ กรุงเทพมหานคร
18. ดอกไม้จากวัดเล่งเน่ยยี่ กรุงเทพมหานคร
19. ดอกไม้จากไต้ฮงกง กรุงเทพมหานคร
พระผง
20. พระผงหลวงพ่อบ้านแหลม รุ่นฉัตรทอง สมุทรสงคราม พ.ศ. 2516 วัดเพชรสมุทรฯ
21. พระผงหลวงพ่อบ้านแหลม วัดเพชรสมุทร สมุทรสงคราม
22. พระผงสมเด็จเสาร์ห้า วัดช่องลม สมุทรสงคราม
23. พระผงหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ ทุกรุ่น สมุทรสงคราม
24. พระผงหลวงพ่อสาย วัดจันทร์เจริญสุข สมุทรสงคราม
25. พระผงปิดตา รวยไม่เลิก วัดปรกสุธรรมาราม สมุทรสงคราม
26. พระผงหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม รุ่นอาจารย์ปล้อง พรหมสโล จำนวน 1 องค์
27. พระผงรูปเหมือนพระครูสมุทรวิจารณ์ วัดประชาโฆษิตาราม จำนวน 20 องค์ สมุทรสงคราม
28. พระขรัวอีโต้ (ได้จากเจ้าคุณเจริญ) วัดอัมพวัน สมุทรสงคราม
29. พระผงหลวงพ่อพัว พิมพ์สมเด็จ วัดพักตราราม จำนวน 1 องค์ สมุทรสงคราม
30. พระผงสมเด็จหลังวัด พิมพ์นิยม วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
31. พระผงพิชิตมาร วัดตึกมหาชยาราม สมุทรสาคร
32. พระผงสมเด็จหลวงพ่อปู่ วัดโกรกกราก สมุทรสาคร
33. พระผงหลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดนาโคก สมุทรสาคร
34. พระผงหลวงพ่อสุด รุ่นปิดทองลูกนิมิตร วัดกาหลง สมุทรสาคร จำนวน 1 องค์
35. พระผงหลวงพ่อแก้ว รุ่น 1 (รุ่นแก้วสุทธิ) วัดช่องลม สมุทรสาคร จำนวน 1 องค์
36. ลูกประคำผงจินดามณี วัดท่าเสา จำนวน 1 พวง สมุทรสาคร
37. พระผงคันธาราษฏร์ วัดดอนยายหอม นครปฐม
38. พระผงหน้าฤาษี วัดบางพระ นครปฐม
39. พระผงญาณวิลาศ (หลวงพ่อแดง) วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
40. พระผงสะดุ้งกลับ (ของอาจารย์สำราญ) วัดเขาตะเครา เพฃรบุรี
41. พระผงหลวงพ่อแผ่ว วัดโตนดหลวง เพชรบุรี
42. พระผงสมเด็จพระปาฏิหารย์ วัดวังมะนาว ราชบุรี
43. พระผงปิดตาหลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบ จำนวน 2 องค์ สมุทรปราการ
44. พระผงปิดตาหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง จำนวน 2 องค์ นนทบุรี
45. พระผงหลวงพ่อหม่น พิมพ์หลังยันต์ตรี วัดคลอง 12 ปทุมธานี จำนวน 1 องค์
46. พระผงปิดตาผสมเกศาหลวงพ่อดี วัดพระรูป จำนวน 4 องค์ สุพรรณบุรี
47. พระผงสมเด็จแพ วัดพิกุลทอง จำนวน 1 องค์ สิงห์บุรี
48. พระปิดตาหลวงพ่อเย็น พระผงเจ้าสัวพ่อแก่ ชัยนาท วัดสระเปรียญ 1 องค์
49. พระผงสมเด็จวัดเกตุไชโย รุ่นสร้างเขื่อน วัดเกตุไชโย 1 องค์ อ่างทอง
50. พระผงสมเด็จหลวงพ่อน้อย วัดหนองโพธิ์ จำนวน 2 องค์ นครสวรรค์
51. แผ่นกระเบื้องอุโบสถ วัดโสธรวราราม จำนวน 20 แผ่น ฉะเชิงเทรา
52. พระผงปิดตาหลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา อยุธยา
53. พระผงหลวงพ่อน้อย วัดสิงห์สุทธาวาส อยุธยา
54. พระผงรูปพระพรหม 4 หน้าหลวงปู่ดู่ วัดสะแก จำนวน 4 องค์ อยุธยา
55. พระผงสมเด็จหลวงพ่อมี รุ่น พ.ศ.2507 วัดมารวิชัย 4 องค์ อยุธยา
56. พระผงชัยวัฒน์ หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ 40 องค์ อยุธยา
57. พระผงหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยา
58. พระผงสมเด็จ วัดมฤคทายวัน พิมพ์ยันต์ตรี ประจวบคีรีขันธ์
59. พระผงรูปเหมือน หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง จำนวน 100 องค์
60. พระผงสมเด็จอรหังหลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง จำนวน 1 ฃุด 5 องค์
61. พระผงหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา
62. พระผงปิดตาหลวงปู่คำพัน โฆสนัญโญ รุ่นชานหมาก 2 องค์ นครพนม
63. พระผงข้าวสารดำ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพมหานคร
64. พระผงสมเด็จวัดระฆัง รุ่น 100 ปี วัดระฆัง กรุงเทพมหานคร
65. พระผงวัดระฆัง รุ่น 118 ปี วัดระฆัง กรุงเทพมหานคร
66. พระผงรุ่นซ่อมฉัตร พ.ศ. 2532 วัดพระแก้ว กรุงเทพมหานคร
67. พระผงสมเด็จวัดปากน้ำ รุ่น 1, 3, 4 วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร
68. พระผงวัดสามปลื้ม พิมพ์เศียรโล้น รุ่นเก่า วัดจักรวรรดิ กรุงเทพมหานคร
69. พระชัยผงวัดสุทัศน์ รุ่น พ.ศ. 2460 วัดสุทัศน์ กรุงเทพมหานคร
70. พระผงหลวงพ่อโสธร 2 หน้า วัดสุทัศน์ 20 องค์ กรุงเทพมหานคร
71. พระผงพระครูลมูล พิมพ์มีหน้าตาสวย วัดสุทัศน์ 15 องค์ กรุงเทพมหานคร
72. พระผงไพรีพินาศ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
73. พระผงสมเด็จบางขุนพรหม รุ่น 09 วัดใหม่อมตรส กรุงเทพมหานคร
74. พระผงของเจ้าคุณพระญาณสุนทร วัดกัลยา 2 องค์ กรุงเทพมหานคร
75. พระผงนางพญา วัดโพธิ์ท่าเตียน จำนวน 1 องค์ กรุงเทพมหานคร
76. พระผงพุทโธ ของแม่ชีบุญเรือน วัดอาวุธ 2 องค์ กรุงเทพมหานคร
77. พระผงหลวงปู่ทวด พิมพ์ใหญ่สีขาว วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพมหานคร
78. พระผงหลวงพ่อเกษม เขมโก รุ่นกองอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขสร้าง จำนวน 100 องค์ กรุงเทพมหานคร
79. นางเสน่ห์จันทร์ สร้างด้วยไม้จันทร์หอม วัดจันทาราม หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ปลุกเสก จำนวน 3 องค์ กรุงเทพมหานคร
80. พระผง 25 ศตวรรษ พุทธมณฑล 2500 จำนวน 40 องค์ กรุงเทพมหานคร
พระผงต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ท่านอาจารย์ได้แบ่งไปเป็นส่วนผสมในพระผงรูปเหมือนท่านท้าวเวสสุวรรณโณ และพระปิดตาเนื้อผง ซึ่งจะกล่าวต่อไป
15. พระปิดตาเนื้อผง ปี 2536
เป็นพระปิดตาที่มีรูปทรงภายนอกเป็นรูปไข่ กว้างด้านล่างแล้วสอบขึ้นด้านบน ด้านหน้าเป็นพระปิดตารูปทรงอวบอ้วน นั่งขัดสมาธิเพชร บนอาสนะผ้า ด้านหลังเป็นยันต์องค์ท่านท้าวเวสสุวรรณโณ ล้อมรอบด้วยอักขระขอม ด้านล่างมีอักษรไทยเขียนว่า วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
จำนวนการสร้าง
- พิมพ์ธรรมดา 19,000 องค์
- พิมพ์แจกกรรมการ 1,000 องค์
- พิมพ์แจกกรรมการ คือ นำพิมพ์ธรรมดามาปิดทองเฉพาะบริเวณองค์พระ
พิมพ์ธรรมดา
พิมพ์กรรมการ
16. ท่านท้าวเวสสุวรรณโณ พิมพ์ใบมะขาม พ.ศ. 2536
หลังจากที่พระพิมพ์ใบมะขาม พ.ศ. 2535 หมดแล้ว ท่านอาจารย์ได้ใช้พิมพ์เดิมปั้มขึ้นมาใหม่ แต่เปลี่ยนยันต์หลัง จากตัวเลข 356 เป็น 379 และมีขนาดความหนามากกว่ารุ่นแรก
จำนวนการสร้าง
- เนื้อทองคำ 56 องค์
- เนื้อเงิน 1,500 องค์
- เนื้อทองแดง 84,000 องค์
ด้านหลังยันต์จม
ผู้เขียน : สุวัฒน์ เหมอังกูร
ที่มา : www.rachandam.com