SIGN IN YOUR ACCOUNT TO HAVE ACCESS TO DIFFERENT FEATURES

FORGOT YOUR PASSWORD?

FORGOT YOUR DETAILS?

AAH, WAIT, I REMEMBER NOW!

Siam Collection

  • LOGIN
  • หน้าแรก
  • พระเครื่องและวัตถุมงคล
    • พระมหากษัตริย์
    • พระเกจิอาจารย์
    • พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
    • เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
    • ล็อกเก็ตและภาพถ่าย
    • เครื่องรางของขลัง
    • ปันกันชม
  • ศิลปะและของสะสม
  • สินค้า
    • สินค้าพร้อมจำหน่าย
    • สินค้าโปรโมชั่น
    • สินค้ายอดนิยม
    • สินค้าแนะนำ
    • สินค้าฝากขาย
    • สินค้าโชว์
    • สินค้าทั้งหมด
  • ประมูล
  • บทความ
  • เกี่ยวกับเรา
    • ติดต่อเรา
    • รับเช่า
    • รับทำเว็บไซต์พระเครื่อง
    • โฆษณากับเรา
    • สารบัญเว็บ
    • ข่าว
  • สั่งซื้อ-ชำระเงิน
    • วิธีซื้อสินค้า – วิธีชำระเงิน
    • วิธีประมูล – วิธีชำระเงินประมูล
    • แจ้งยืนยันการชำระเงิน
  • สมาชิก
    • My account
    • สมัครสมาชิก
  • No products in cart.
เข้าสู่ระบบ
  • Home
  • พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
  • รัชกาลที่ 9
  • ทรงสร้างและทรงเสด็จฯ เททอง
  • พระกริ่ง ๗ รอบ พระกริ่งของพระราชา มหามงคลแห่งแผ่นดิน
scadmin
วันจันทร์, 27 มิถุนายน 2022 / Published in ทรงสร้างและทรงเสด็จฯ เททอง, พระกริ่ง, พระพุทธชินสีห์, พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์, รัชกาลที่ 9

พระกริ่ง ๗ รอบ พระกริ่งของพระราชา มหามงคลแห่งแผ่นดิน

พระกริ่งของพระราชา มหามงคลแห่งแผ่นดิน (๑)

พระกริ่ง ๗ รอบ หรือ พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ จัดสร้างในมหามงคลโอกาสฉลองพระชนมายุครบ ๗ รอบ ของ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เมื่อครั้งเสด็จฯ ออกทรงพระผนวช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นพระกริ่งที่ทรงด้วยคุณวิเศษเป็นมงคลอย่างสูงสุด และปรากฏขึ้นเพียงครั้งเดียวในแผ่นดิน คือ เป็นพระกริ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งทรงพระผนวช เสด็จฯ ทรงเททองด้วยพระองค์เอง แทนสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ซึ่งทรงพระประชวร ไม่สามารถทรงประกอบพิธีหลวงและพิธีเททองได้

พิธีกรรมเริ่มตั้งแต่เย็นวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ โดย พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ลงพระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนถวายสักการะพระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ไวยาวัจกร (ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช) ถวายเทียนชนวน ที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงจุดมาแล้ว พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับเทียนชนวนนั้นจุดเทียนชัยแทนพระองค์ ในพิธีหล่อพระพุทธชินสีห์ (จำลอง) เริ่มเวลาฤกษ์ชัย ๒๐.๓๖ น. พระสงฆ์สวดภาณวารและสวดพุทธาภิเษกโลหะ ซึ่งเป็นพิธีหลวง เป็นส่วนหนึ่งของสุดยอดพิธีนี้ โดยบทสวดนี้เป็นบทสวดที่จะทำให้เกิดพระพุทธานุภาพ พระธรรมมานุภาพ และพระสังฆานุภาพ ให้สถิตมั่นคงในเนื้อโลหะที่จะนำมาหล่อในองค์พระ โดยทำพิธีภายในพระอุโบสถ จนถึงรุ่งเช้า

สำหรับโลหะที่ใช้หล่อพระกริ่ง ๗ รอบ ล้วนเป็นโลหะที่เป็นมงคลทั้งสิ้น อาทิ เศษชิ้นส่วนพระพุทธรูปโบราณที่ชำรุด ทองเหลืองเนื้อแดง ขันลงหิน เงินบริสุทธิ์ และทองคำบริสุทธิ์ นำมาหลอมรีดเป็นแผ่นแล้วลงอักขระพระยันต์ จำนวน ๘๔ แผ่น ในครั้งนั้นได้สวดภาณวารทั้งคืน จนกระทั่งถึงรุ่งเช้า

วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ เวลา ๐๗.๓๕ น. พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ศาลาหน้าพระอุโบสถ ทางทิศตะวันตก ไวยาวัจกรทูลเกล้าฯ ถวายแผ่นทองคำลงพระยันต์อักขระ ๘๔ แผ่น ทรงเจือทองในเบ้าหล่อ คือ วางแผ่นทองคำทั้งหมดลงในเบ้าหลอมด้วยพระองค์เอง

เวลา ๐๗.๔๑ น. ทรงถือสายสิญจน์ ซึ่งโยงจากเบ้าเททองหล่อ พระกริ่ง ๗ รอบ พระสงฆ์เจริญชัยมงคลพระคาถา ในการนี้ พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองหล่อแทน สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ด้วยพระราชหฤทัยโสมนัสยินดียิ่ง พระองค์ทรงประทับจนกระทั่งพิธีเสร็จสมบูรณ์ทุกขั้นตอน

พระกริ่ง ๗ รอบ จึงสำเร็จด้วยอำนาจแห่งพระรัตนตรัยาธิคุณ มีความศักดิ์สิทธิ์เข้มขลัง และเต็มเปี่ยมไปด้วยพระบุญญาบารมีของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงถึงพร้อมด้วยพระกำลังแห่งพระราชหฤทัยของพระองค์ ที่บริบูรณ์ด้วยศีลาจาริยวัตรอันบริสุทธิ์ เมื่อครั้งที่ทรงพระผนวชเป็นพระภิกษุ

รวมถึงความตั้งพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยพระราชปณิธานและพระราชประสงค์ของพระองค์ ที่ทรงมุ่งหวังต่อพสกนิกรของพระองค์ให้มีความสุข ความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า บริบูรณ์พูนผล อยู่ดีกินดี แคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง เป็นสิริมงคลอันสูงสุด บังเกิดเป็นพระมหากษัตริยานุภาพ สถิตเพิ่มเติมในทุกอณูโลหะของ พระกริ่ง ๗ รอบ นับเป็นพระเครื่องเพียงหนึ่งเดียวที่ได้ทรงอธิษฐานและเททองในขณะทรงพระผนวช จึงเป็น พระกริ่งกำลังแผ่นดิน ตามพระปรมาภิไธยของพระองค์ คือ “ภูมิพล” และทรงคุณค่าเป็น “พระกริ่งของพระราชา” นับเป็นมหามงคลแห่งแผ่นดินอย่างสูงสุดของเหล่าปวงชนชาวไทย

ในการสร้างหล่อพระกริ่งครั้งนี้ เคล็ดลับของการสร้างวัตถุมงคลของวัดบวรนิเวศวิหาร จะต้องประกอบพิธีตามแบบแผนที่สืบทอดกันมา โดยอิงจากพิธีหลวง ที่ต้องนำชนวนโลหะต่างๆ ที่ใช้หล่อหลอมเป็นองค์พระ มาทำพิธีสวดภาณวาร และสวดพุทธาภิเษก ทำให้ชนวนโลหะมีอานุภาพของคุณพระศรีรัตนตรัย และความศักดิ์สิทธิ์ ก่อนที่จะนำชนวนโลหะต่างๆ ไปหล่อหลอมเป็นองค์พระ การประกอบพิธีเช่นนี้ ในยุคปัจจุบันนั้นไม่ปรากฏให้เห็นอีกเลย เนื่องจากส่วนใหญ่จะว่าจ้างโรงงานเป็นผู้สร้าง แล้วจึงจัดพิธีพุทธาภิเษกขึ้นภายหลัง เพราะประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ทำให้ผู้คนทั่วไปคุ้นเคยกับการสร้างพระในลักษณะนี้ไปแล้ว

ในการหล่อพระกริ่ง ๗ รอบนี้ เป็นกรรมวิธีหล่อพระแบบโบราณ โดยใช้แม่พิมพ์ปูนที่ถอดพิมพ์จากพระกริ่งต้นแบบ แล้วนำเนื้อเทียนขี้ผึ้งปั้นมาวางลงไปพิมพ์แล้วประกบอัดออกมาเป็นองค์พระ องค์พระที่เป็นเทียนขี้ผึ้งแล้ว จะนำมาตกแต่งตะเข็บข้างองค์พระ และรายละเอียดต่างๆ อีกครั้ง โดยฝีมือช่างชั้นสูง ที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ ซึ่งต่างจากการหล่อพระในสมัยปัจจุบัน ที่ฉีดหุ่นเทียนในแม่พิมพ์ยาง ซึ่งได้องค์พระเหมือนต้นแบบมากกว่าแบบโบราณ ด้วยเหตุนี้ ทำให้องค์พระแต่ละหุ่นเทียนที่ออกมานั้น จะไม่เหมือนกับองค์ต้นแบบ ๑๐๐% อาจมีรายละเอียดบางอย่างติดบ้าง ไม่ชัดบ้าง เป็นธรรมชาติปกติของการทำงาน

จากนั้นจึงนำองค์พระที่เป็นหุ่นเทียนไปติดเข้ากับชนวนเป็นทางวิ่งของน้ำโลหะ และหุ้มด้วยดินไทยเป็นชั้นๆ ขั้นตอนเหล่านี้ต้องใช้แรงกาย แรงใจ และวิริยอุตสาหะอย่างยิ่ง องค์พระที่หล่อด้วยวิธีแบบโบราณนี้ จึงมีเสน่ห์มีมนต์ขลัง แต่ละองค์จะมีเอกลักษณ์เฉพาะ ดังเช่นพระกริ่งยุคเก่าของวัดบวรนิเวศวิหาร และวัดสุทัศนเทพวราราม เป็นต้น (โปรดอ่านต่อ ฉบับวันอาทิตย์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๙)

ขอขอบพระคุณข้อมูลและภาพจาก คุณผเลสน์ศิริ ปิติสานต์

บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา
ที่มา : www.komchadluek.net

Post Views: 559
Tagged under: พระกริ่ง ๗ รอบ, พระกริ่งพระพุทธชินสีห์

What you can read next

ความเป็นมาในการจัดสร้างพระพุทธชินสีห์ ภ.ป.ร. ทนฺโต เสฏโฐ ปี ๒๕๓๓
วัตถุมงคลที่อาจารย์ทำ อันไหนจี๊ดสุดๆ??
พระเครื่องในหลวงทรงสร้าง (๑๕ – ตอนที่ ๔)

หมวดหมู่บทความ : บันทึกเพื่อศึกษา

  • บทความ (ทั้งหมด) OK
  • ประวัติการจัดสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคล OK
  • พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ OK
  • พระเกจิอาจารย์ OK
    • ประวัติพระเกจิอาจารย์ OK
    • หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร OK
    • หลวงพ่อน้อย ชุตินฺธโร OK
    • หลวงพ่ออุ้น สุขกาโม OK
    • หลวงพ่อทรง ฉันทโสภี OK
  • พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ OK
  • เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ OK
  • อาจารย์ฆราวาส OK
  • เครื่องรางของขลัง OK
  • ล็อกเก็ตและภาพถ่าย OK
  • ศิลปะและของสะสม OK
  • ธรรมะและบทสวดมนต์ OK
  • มุมนักสะสม OK

บทความล่าสุด

  • เย็นศิระเพราะพระบริบาล ๘๐ พรรษา มหากษัตริย์คู่แผ่นดินสยาม

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ...
  • โครงการ “เพราะแผ่นดินนี้ คือ แผ่นดินเกิด” ปี ๒๕๕๑

    โครงการ “เพราะแผ่นดินนี้ คือ แผ่นดินเกิด” ปี ๒๕...
  • โครงการ “เพราะแผ่นดินนี้ คือ แผ่นดินเกิด” ปี ๒๕๔๘

    โครงการ “เพราะแผ่นดินนี้ คือ แผ่นดินเกิด” ปี ๒๕...
  • อยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูล

    ...
  • เครื่องรางของขลังคืออะไร ?

    ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ควา...

บทความยอดนิยม

  • จตุคามรามเทพ รุ่นโคตรเศรษฐี (7,099)
  • ประวัติท้าวเวสสุวรรณ วัดจุฬามณี (4,478)
  • ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่พรหมมา เขมจาโร วัดสวนหินผานางคอย อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี (4,394)
  • ปาฏิหาริย์ “หลวงพ่อสมปรารถนา” แค่ภาพถ่ายยังศักดิ์สิทธิ์ (3,836)
  • หลวงปู่ทวดเบ้าทุบ หล่อโบราณ รุ่น “ชนะคน” วัดสุทัศน์จัดสร้าง ปี 2538 (3,574)
  • ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร วัดโฆสิตาราม (วัดบ้านแค) ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท (3,516)
  • รายละเอียดและจำนวนการจัดสร้างวัตถุมงคลจตุคามรามเทพ รุ่น โคตรเศรษฐี (3,508)
  • ล็อกเก็ตเเละรูปหล่อหลวงพ่อกวยช่วยสร้างพระอุโบสถ (3,457)
  • ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อน้อย ชุตินธโร วัดเนินเวียง (เวียงสวรรค์) ต.บางมะฝ่อ อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ (3,397)
  • พระนักธรรม หลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน จ.อ่างทอง (2,960)
  • จตุคามรามเทพ รุ่นอภิปัญญามหาเศรษฐี (2,955)
  • ปาฏิหาริย์สมเด็จเหม็นหลวงพ่ออุ้น เรื่องเล่าจากประสบการณ์จริงของ “ทวี เฮงคราวิทย์” (2,935)
  • ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อชาญณรงค์ อภิชิโต ภิกขุ วัดรัชฎาธิษฐานราชวรวิหาร (วัดเงิน) แขวงคลองชักพระ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร (2,661)
  • พิธีมหาพุทธาภิเษก จตุคามรามเทพ รุ่นโคตรเศรษฐี (2,606)
  • เปิดที่มาพระสมเด็จเหม็น หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง วัตถุมงคลชื่อดังเพชรบุรี (2,465)

หมวดหมู่สินค้า

  • พระเครื่องและวัตถุมงคล
    • พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
    • ล็อกเก็ตและภาพถ่าย
    • พระเกจิอาจารย์
    • พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
    • เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
    • พระดี น่าบูชา
  • ศิลปะ รูปภาพ และของสะสม
  • หนังสือ (ศิลปะ-ของสะสม)
  • เหรียญในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงผนวช วัดพนัญเชิง
    600 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า
  • ล็อกเก็ตในหลวง รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ รุ่นพระมหามณฑป
    950 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า
  • ล็อกเก็ตสมเด็จย่าและสมเด็จพระพี่นาง รุ่นพระมหามณฑป
    800 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า
  • ล็อกเก็ตในหลวง รัชกาลที่ 9
    750 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า
  • เหรียญหล่อ วชิราลงกรโณ ภิกขุ ปี 2521
    500 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า
  • เหรียญในหลวง รัชกาลที่ 9 เฉลิมพระชนมายุครบ 75 พรรษา เนื้อทองแดง
    450 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า
  • เหรียญรัชกาลที่ 5 ที่ระลึกเสด็จประพาสยุโรป (100 ปี ไกลบ้าน)
    500 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า
  • หนังสือ “A Visionary Monarch” เป็นหนังสือเกี่ยวกับในหลวง รัชกาลที่ 9
    1,500 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า
  • ล็อกเก็ตสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    500 ฿
    หยิบใส่ตะกร้า

พระเครื่องและของสะสม

  • พระเครื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์
  • พระเครื่องและวัตถุมงคลพระเกจิอาจารย์
  • พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
  • เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
  • ล็อกเก็ตและภาพถ่าย
  • เครื่องรางของขลัง
  • ศิลปะ รูปภาพ และของสะสม
  • ปันกันชม (โชว์ของสะสม)

สินค้าในร้าน

  • สินค้าพร้อมจำหน่าย
  • สินค้าโปรโมชั่น
  • สินค้ายอดนิยม
  • สินค้าแนะนำ
  • สินค้าฝากขาย
  • สินค้าโชว์
  • สินค้าทั้งหมด
  • สินค้าที่ปิดการขาย

สยามคอลเล็คชั่น

  • เกี่ยวกับเรา – ติดต่อเรา
  • แจ้งยืนยันการชำระเงิน
  • วิธีซื้อสินค้า – วิธีชำระเงิน
  • วิธีประมูล – วิธีชำระเงินการประมูล
  • รับเช่า
  • รับทำเว็บไซต์พระเครื่อง
  • โฆษณากับเรา
  • สมัครสมาชิก

ติดต่อเรา

โทร. 063 639 2524
เฟสบุ๊ค : @SiamCollection.in.th
ไลน์ : @siamcollection

  • GET SOCIAL
Siam Collection

© 2021. All rights reserved.

Flag Counter
Flag Counter
TOP
สอบถาม