คำอธิบาย
นาคาธิบดีศรีสุทโธ (พญานาครุ่น ๒) เนื้อผงสีแดง
รหัส : SC64-0507-020
นาคาธิบดีศรีสุทโธ (พญานาครุ่น ๒) จัดสร้างโดยคณะของคุณอำพล เจน ได้ทำพิธีประกอบมวลสารตามศาสตร์วิชาที่หลวงปู่คำพันธ์ประสิทธิประสาทไว้ให้ เมื่อวันที่ ๒๕ ก.พ. ๒๕๕๐ ที่ผ่านมา ได้มีการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับมวลสาร ๑๕ อย่าง สำหรับการสร้างนาคาธิบดีศรีสุทโธ หรือพญานาครุ่น ๒
สถานที่ประกอบพิธีคือ วัดเปงจานนคราราม กิ่งอำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย วัดนี้มีภูมิสถานเหมาะควรแก่การประกอบพิธีเป็นอย่างยิ่ง คือ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ในบริเวณที่ตั้งดั้งเดิมของนครโบราณที่เรียกว่า เปงจานนคร มีอายุเก่าแก่กว่า ๒,๐๐๐ ปี ตามประวัติ หรือตำนานกล่าวว่า นครโบราณนี้สร้างขึ้นโดยพญานาค จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “นครเปงจานนาคราช” ด้านหลังพระผงจารอักษรธรรมโบราณอิสานว่า อะ งะ สะ (เป็นตัวย่อหัวใจพญานาค)
ถ้าใครเป็นศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่คำพันธ์อย่างแท้จริง ย่อมได้ยินหลวงปู่พูดอยู่บ่อยๆ ปฐวีธาตุที่หลวงปู่ทำขึ้นก็เพื่อรับมือกับวิกฤติในอนาคตนี้ ท่านกล่าวว่า เมื่อถึงเวลานั้น พญานาคจะออกมาช่วยคน ปฐวีธาตุของหลวงปู่คือสื่อที่จะสื่อถึงพญานาค ในการเกิดรูปพญานาคนี้ เกิดด้วยเหตุเดียวกันคือ หวังจะให้รูปพญานาคนี้เป็นสื่อถึงเหล่าพญานาคทั้งหลายที่หลวงปู่บอกว่าพวกเขาจะออกมาเมื่อถึงเวลาวิกฤตินั้น
มวลสารที่นำมาจัดสร้าง นาคาธิบดีศรีสุทโธ (พญานาครุ่น ๒)
ดินใต้น้ำบริเวณท่าวัดระฆัง (แม่น้ำเจ้าพระยา) กทม.
ดินใต้น้ำบริเวณท่าวัดอรุณฯ กทม.
ดินใต้น้ำบริเวณท่าวัดกัลยาฯ กทม.
ดินใต้น้ำวัดหนองป่าพง จ.อุบลฯ
ดินใต้น้ำห้วยวังจาน จ.นครพนม
ดินใต้น้ำหนองหาน จ.สกลนคร
ดินใต้น้ำหนองหาน จ.อุดรธานี
ดินใต้น้ำคำชะโนด จ.อุดรธานี
ดินใต้น้ำวัดสระประสานสุข จ.อุบลฯ
ดินใต้น้ำวัดพระธาตุพนม จ.นครพนม
ดินใต้น้ำวัดจมน้ำ จ.กาญจนบุรี
ดินใต้น้ำลำตะคอง จ.นครราชสีมา
ดินใต้น้ำห้วยสำราญ จ.ศรีสะเกษ
ดินใต้น้ำลำตะคอง จ.นครราชสีมา
ดินใต้น้ำวัดอาฮง (สะดือแม่น้ำโขง) จ.หนองคาย
ดินใต้น้ำทะเลหน้าศาลกรมหลวงชุมพรฯ จ.ชุมพร
วิธีการบูชาดวงตรา “นาคาธิบดีศรีสุทโธ” เพียงให้นำดวงตราพญานาคราชนี้ มาอธิษฐานโดยการเอ่ยนามถึงองค์ “พญาศรีสุทโธนาคราช” แล้วบอกกล่าวถึงสิ่งที่ต้องการให้ท่านช่วยหรือสงเคราะห์ โดยเรื่องที่ขอให้ท่านสงเคราะห์นั้น ต้องเป็นเรื่องที่ไม่ผิดศีลธรรมนะครับ เพราะเหล่าพญานาคราชท่านเป็นผู้ทรงศีลครับ
คาถาบูชา …
“ปัจฉิมรัสมิง ทิศาภาเค สันตินาคา มหิทธิกา เอติตุมเหอนุรักขันตุ อโรคะเย นะสุเขนะจะ”