FORGOT YOUR DETAILS?

บันทึกเพื่อศึกษา

บทความเกี่ยวกับพระเครื่องและวัตถุมงคล บันทึกไว้เพื่อการศึกษา บางบทความคัดลอกมาจากเว็บไซต์และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ บทความใดที่นำมาลงเผยแพร่โดยมิได้แจ้งให้ผู้เขียนหรือเจ้าของสิทธิ์ทราบก่อน แอดมินต้องกราบขออภัย และขออนุญาตคัดลอกมาเผยแพร่ต่อด้วยนะครับ

บทความเกี่ยวกับพระเครื่อง และของสะสมเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์

บทความเกี่ยวกับพระเครื่องและวัตถุมงคล ของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ

บทความเกี่ยวกับพระเครื่องและวัตถุมงคล ของเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์

บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ร่วมสมัยไทยสไตล์ “Thailand contemporary style” | เผยแพร่เมื่อ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๓ ผู้เขียน: วีระพล แซ่โค้ว ล็อกเก็ตพระพิฆเนศหล่อเศียร ผลงาน อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ข้อมูลเกี่ยวกับ “ล็อกเก็ตพระพิฆเนศหล่อเศียร” (สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มเข้ามาศึกษาและสะสม)
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: khaosod.co.th | เผยแพร่เมื่อ ๘ กันยายน ๒๕๖๑ คอลัมน์พระเครื่อง: วงการพระสุดสัปดาห์ ผู้เขียน: อริยะ เผดียงธรรม ของดีหายาก “เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อจุล-วัดหงษ์ทอง” “การดำรงชีวิตนั่น ก็หมายถึงการถือของหนักอยู่แล้ว” สารธรรมมงคล ท่านพุทธทาสภิกขุ สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี “พระวชิรสารโสภณ” หรือ “หลวงพ่อจุล อิสสรญาโณ” อดีตเจ้าอาวาสวัดหงษ์ทอง ต.สลกบาตร อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร และอดีตเจ้าคณะอำเภอขาณุวรลักษบุรี วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมคือ “เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจุล รุ่นแรก วัดหงษ์ทอง กำแพงเพชร พ.ศ. 2499”
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: เพจมุมพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๑ เหรียญปั๊มรุ่นแรก พ.ศ. ๒๔๘๑ พระวชิรสารโสภณ (จุล อิสฺสรญาโณ) วัดหงษ์ทอง ตำบลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร มีหลายคนเข้าใจผิดว่าเหรียญปั๊มรูปเหมือนพระวชิรสารโสภณ (จุล อิสฺสรญาโณ) หรือ ‘หลวงพ่อจุล’ แห่งวัดหงษ์ทอง ตำบลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ที่สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในงานถวายของขวัญพระครูวิกรมวชิรสาร พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นเหรียญรุ่นแรกของท่าน ความจริงยังมีเหรียญปั๊มรูปเหมือนและเหรียญปั๊มรูปพระพุทธที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ซึ่งเป็น ‘เหรียญรุ่นแรก’ ของท่าน เข้าใจว่าเป็นเหรียญที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกที่ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ ‘พระครูวิกรมวชิรสาร’
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: khaosod.co.th | เผยแพร่เมื่อ ๒๒ เมษายน ๒๕๖๑ คอลัมน์พระเครื่อง: อริยะโลกที่ ๖ “พระวชิรสารโสภณ” หรือ “หลวงพ่อจุล อิสสรญาโณ” อดีตเจ้าอาวาสวัดหงษ์ทอง และยังเป็นอดีตเจ้าคณะอำเภอขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร เป็นพระเถระที่ชาวบ้านให้ความเลื่อมใสศรัทธามาช้านาน ท่านสร้างโรงเรียนวชิรสารโสภณ และสนับสนุนโรงเรียนสลกบาตร มาเป็นเวลานาน มีนามเดิมว่า “จุล พุทธชาติ” เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 12 เม.ย. 2437 ตรงกับขึ้น 10 ค่ำ ปีมะเมีย ที่บ้านสลกบาตร ต.สลกบาตร
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: cheezebite.com | เผยแพร่เมื่อ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ขอบคุณข้อมูล: เรื่องเล่าชาวสยาม ผู้แนะนำข้อมูลหลวงพ่อสมปรารถนาเพิ่มเติม: อารามไผ่เขียว หลวงพ่อสมปรารถนา เป็นพระพุทธรูปที่ขึ้นชื่อในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ เล่ากันว่า ภายในองค์พระมีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ และร่ำลือกันว่า มีเหล่าเทพเทวดาอารักษ์เฝ้าบริบาลรักษาอยู่หลายหมื่นหลายแสนตน
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: postsod.com | เผยแพร่เมื่อ ๒๑ ฤษภาคม ๒๕๖๓ ขอบคุณข้อมูลจาก: tsood ผู้แนะนำข้อมูลหลวงพ่อสมปรารถนาเพิ่มเติม: อารามไผ่เขียว การไหว้พระเป็นการเคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การสวดมนต์อธิษฐานจิตต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ศรัทธา ที่มีความเชื่อว่าคอยปกป้องคุ้มครอง ชี้นำทางชีวิต เพื่อเป็นการขอบคุณ แสดงความเคารพ และขอพร พระพุทธรูป หรือ รูปเคารพแทนพระพุทธเจ้า ในตำนานเรื่องพระแก่นจันทน์ ได้พรรณนาเรื่องพระพุทธรูปองค์แรกไว้ว่า ครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษาเพื่อโปรดพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์แห่งเมืองสาวัตถี ทรงรำลึกถึงพระพุทธองค์เป็นอย่างมาก จึงโปรดฯ ให้ช่างหาไม้แก่นจันทน์หอมที่ดีที่สุด มาแกะสลักเป็นพระพุทธรูปอันงดงาม มีพุทธลักษณะคล้ายพระพุทธองค์ แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานยังพระราชมณเฑียร
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: oknation.net สรณะคนดัง: “วิชัย วลาพล” ปลดหนี้ ๑๐๐ ล้าน ด้วยคาถาชินบัญชร เรื่อง: สุทธิคุณ กองทอง ภาพ: อนันต์ จันทรสูตร การพนันเป็นกิจกรรมที่คนไทยจำนวนมากนิยมชมชอบ ถึงแม้ว่าจะเป็นการขัดต่อคำสอนในพุทธศาสนาอย่างชัดเจนก็ตาม การเล่นหวย ไพ่ ลูกเต๋า หรือการพนันสนุกเกอร์ บิลเลียด ไก่ชน กัดปลา แม้แต่การทายเลขป้ายทะเบียนรถยนต์หรือทายเลขธนบัตร ก็เป็นสิ่งที่กระทำกันอย่างแพร่หลาย
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: komchadluek.net พักยกวันอาทิตย์: หลงเสน่ห์มนต์ขลังพระเครื่อง เรื่องเล่าจาก ‘ป๋อ’ สู่ ‘อาร์ต’ เรื่อง: ณัฏฐิรา หลอดแก้ว ภาพ: วริศรา วุฒิกุล ละคร “หงษ์สะบัดลาย” กำลังมันหยด จนมีหลายคนถามกันมาเยอะมากว่า “ระบิล” หรือ “ป๋อ” ณัฐวุฒิ สกิดใจ พระเอกของเรื่อง มีของดีของเด่นอะไรถึงได้หลบกระสุน หลบระเบิดได้ตลอด แหม … ถามกันมาเยอะแบบนี้ “ป๋อ” เลยชวน “อาร์ต” พศุต บานแย้ม และ “พักยก คมชัดลึก” ไปเปิดกรุพระเครื่องของรักของหวงที่คอยคุ้มภัยให้ “ระบิล” รอดปลอดภัยกันเลย
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ampoljane.com ผู้เขียน: อำพล เจน พิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารศักดิ์สิทธิ์ ปีที่ 14 ฉบับที่ 340 วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2540 มีข่าวรับอรุณแรกของปีนี้ที่น่าสนใจข่าวหนึ่ง เป็นข่าวที่มากับโทรศัพท์ตอนเช้าตรู่ ปลุกผมลุกออกจากที่นอน คนโทรฯ คือ คุณกฤช จันทร์กระจ่าง บ้านอยู่ลำลูกกา คนใจบุญอีกคนหนึ่งที่เอาผ้าป่าไปทอดที่วัดแก่งตอยเป็นประจำทุกปี ครั้งล่าสุดเพิ่งทอดไปเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2539 นี่เอง …

มหาฤาษี รุ่น 8

บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ampoljane.com ผู้เขียน: อำพล เจน ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารศักดิ์สิทธิ์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 289 วันที่ 16 มกราคม 2537 หมายเป็นรุ่นสุดท้าย รุ่น 8 แห่งพระมหาฤาษีพรหมมุตตมะ เลข ๘ คือ อัฏฐะอรหันตา เคยประหลาดใจกันบ้างไหมครับ พุทธพานิชย์ทุกวันนี้ช่างเร้าใจพิลึก กลยุทธ์การขายดูไม่สะอาด เกลื่อนกล่นด้วยความมดเท็จ ปลิ้นปล้อน สับปรับ หลอกลวง หรือเข้าข่ายต้มตุ๋นกันก็เอา ขอแต่ขายพระให้ได้ วัตถุมงคลหรือของขลังทั้งปวง ล้วนสำเร็จด้วยอำนาจแห่งการประพฤติศีลปฏิบัติจิตจนบริสุทธิ์ของผู้พากเพียรอยู่ในป่าเขา ไม่เห็นแก่เป็นหรือตาย จึงได้จิตขลังมาเสกของขลัง เรียกว่าเป็นของที่สำเร็จขึ้นด้วยความดีงามของท่านทั้งปวง
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ampoljane.com ผู้เขียน: อำพล เจน มีผู้สับสนสงสัยถามไปถึงผมมากว่าพระฤาษี รุ่น 7 เป็นรุ่นเดียวกับที่โฆษณาอยู่ทั่วไปว่าเป็นรุ่นฉลองอายุ 96 ปี หรือรุ่นสร้างบันไดใช่หรือไม่ คำตอบคือ ไม่ใช่ …. ต่อไปจะได้อธิบายถึงกระบวนการจัดสร้างพระฤาษี รุ่น 7 ชื่อของพระฤาษีรุ่น 7 คือ “ฤาษีพรหมมุตตมะ” เป็นชื่อเป็นนามที่เกิดจากคำ 2 คำ “พรหมา+อุตตมะ” เรียกว่าเป็นพระฤาษี 2 อาจารย์ สำเร็จเป็นองค์พระฤาษีที่สมบูรณ์ด้วยอำนาจและบารมีของ “หลวงปู่พรหมา เขมจาโร” สำนักสวนหิน สุดแดนสยามตะวันออก กับ “หลวงพ่ออุตตมะ อุตฺตมรมฺโภ (พระราชอุดมมงคล)” วัดวังก์วิเวการาม สุดแดนสยามตะวันตก เป็นนิมิตหมายแห่งทิวาอันแจ่มใส นับแต่อาทิตย์อุทัยที่อุบลราชธานี ตราบวาระอาทิตย์อัสดงที่กาญจนบุรี
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ampoljane.com ผู้เขียน: อำพล เจน ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารศักดิ์สิทธิ์ฉบับที่ 269 วันที่ 16 มีนาคม 2537 อิสีขลังผู้ชาญพระเวทย์ แห่งลุ่มแม่น้ำโขง สำนักสวนหินแก้ว ภูกระเจียว บ.ดงนา อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี ผมรู้สึกว่าที่นั่นที่อันหลวงปู่พรหมา เขมจาโร พำนักอยู่ประจำคือที่แห่งไกลปืนเที่ยง ผมเคยซึมซับภูมิประเทศแถบริมโขงละแวกนั้นมาหลายปี จึงเข้าใจได้ถึงความกันดารและปลอดเปลี่ยวผู้คน สิ่งที่เคยเป็นเหล่านี้จะยังคงสภาพเดิมจนปัจจุบันหรือเปล่าก็เป็นเรื่องที่ ผมไม่อาจคาดหมายได้ ดังนั้นความกระฉับกระเฉงจะออกเดินทางไปหาหลวงปู่จึงถูกชะลอไว้ก่อน เพื่อคอยทีในโอกาสอันเหมาะสมต่อไป
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ampoljane.com ผู้เขียน: อำพล เจน ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารศักดิ์สิทธิ์ พ.ศ. 2536 อิสีขลังผู้ชาญพระเวทย์แห่งลุ่มแม่น้ำโขง หลวงปู่พรหมา เขมจาโร (สำนักสวนหินแก้ว ภูกระเจียว อุบลราชธานี) หมดแล้วครับ พระนาคปรกใบมะขาม รุ่นแรกของหลวงปู่พรหมา เขมจาโร ทั้งเนื้อทองเหลืองและทองแดงมีเหลืออยู่อย่างละ 1 องค์ ให้ผมเก็บไว้ดูเป็นที่ระลึกเท่านั้น ผู้มีศรัทธาหลายท่านบุกเข้าถึงบ้านผม ทั้งอ้อน ทั้งขู่เพื่อจะรีดเอาพระนาคปรก ซึ่งหมดแล้วให้ได้ ผมต้องทำเป็นหูหนวกไม่ได้ยิน และสวดคาถาใจแข็งเป็นหินเข้าไว้
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา พระเครื่องคนดัง: เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์ | เผยแพร่เมื่อ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๘ เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำน้อยกับพลังศรัทธาของ “ณัฐเศรษฐ รัตนพิภพ” “พระครูสุภัทรธรรมโสภณ” หรือ “หลวงพ่อทรง ฉันทโสภี” วัดศาลาดิน (วัดมอญ) ต.ม่วงเตี้ย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง เมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ได้รับการขนานนามจากลูกศิษย์ว่า “เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำน้อย”
TOP