FORGOT YOUR DETAILS?

ครั้นเมื่อถึงเวลาเสด็จพระราชดำเนิน ในหลวง (ร.๙) ทรงขับรถด้วยพระองค์เองจากพระตำหนักภูพิงค์ฯ โดยรถยนต์สีฟ้า ยี่ห้อและทะเบียนผมจำไม่ได้ เมื่อมาถึง พี่ช่างภาพคนดังกล่าวกลับไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปถ่ายรูปจากราชเลขาผู้ติดตามพระองค์ ทั้งนี้เนื่องจากการที่จะเข้าเฝ้าฯ เพื่อถ่ายรูปในหลวงนั้น ตามกฎแล้วกล้องทุกตัวจะต้องถูกตรวจสอบว่าไม่ใช่อาวุธหรือสิ่งอื่นใดที่อาจจะเป็นอันตรายแก่ในหลวงและสมเด็จพระราชินีได้ มีแต่ช่างกล้องของสำนักพระราชวังเท่านั้นที่สามารถถ่ายรูปทั้งสองพระองค์ได้ เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้พี่ช่างภาพรู้สึกเสียใจเป็นอันมาก จึงเดินออกมาภายนอก และได้ยกมืออธิษฐานขอหลวงพ่ออยู่ด้านนอกกุฏิ สักครู่ก็มีข้าราชบริพารมาเรียกพี่คนดังกล่าว … บอกว่า “หลวงพ่ออนุญาตให้เข้าไปถ่ายรูปได้ แต่ห้ามอัดเสียง” ยังความปิติดีใจและงุนงงแก่พี่ช่างภาพเป็นอันมาก Post Views: 359
หนึ่งเดียวเท่านั้น … ที่มีผงพระทนต์ของในหลวง รัชกาลที่ ๙ และผงจิตรลดา เป็นมวลสารหลัก พระองค์ที่นำมาลงแบ่งปันกันชมนี้ เป็นพระพิมพ์ใหญ่ เนื้อพิเศษ (เนื้อกรรมการ) สีน้ำตาล แก่ส่วนผสมของกระเบื้องหลังคาโบสถ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และผงจิตรลดา ด้านหน้าโรยผงตะไบพระกริ่งทองคำ เห็นเป็นเกล็ดทองคำกระจายอยู่ ส่วนด้านหลังมีพลอยสีเขียว สีขาว สีน้ำเงินเข้ม และผงตะไบพระกริ่งทองคำฝังกระจายอยู่ในองค์พระ สร้างเฉพาะกรรมการเป็นพิเศษ ไม่เกิน 20 องค์ เท่านั้น สภาพสวยมาก หายากมากๆ พระรุ่นนี้ ชั่วโมงนี้คนเริ่มหายากขึ้นเรื่อยๆ คนเริ่มเก็บสะสมบูชากันเยอะขึ้นมากแล้วครับ Post Views: 236
สมเด็จจิตรลดาขาว ในรัชกาลที่ ๙ ในวงการ คือ สมเด็จศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร ๒๕๑๖ จัดสร้างเมื่อครั้งโอกาส ๕ รอบ สสเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (สมเด็จพระญาณสังสร สมณศักดิ์ในขณะนั้น) พระแท้หมุนเวียนน้อยแล้ว พระที่สายตรงวัดบวรนิเวศวิหารต้องมี เนื้อหาเข้มข้น ด้วยผงจิตรลดา ที่ทรงประทานถวายไว้ พระจึงมีพระนามอีกว่า “จิตรลดาขาว” สมเด็จพระศาสดา ปี ๑๖ ในสมเด็จพระญาณสังวร พุทธคุณล้นเหลือ ครอบจักรวาล สุดยอดในพระหลักอีกองค์หนึ่งของสายวัดบวร ที่ต้องมีครับ สืบด้วยมาจาก “สมเด็จจิตรลดา” พระพิมพ์ฝีพระหัตถ์ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ด้วยที่ทรงพระราชทานผงจิตรลดาส่วนพระองค์มาเป็นส่วนผสมมวลสารหลักในการจัดสร้าง ในสมัยก่อนนั้น จึงได้เรียกว่า “พระสมเด็จจิตรลดาขาว” Post Views: 179
วันนี้มีโอกาสได้ชมสุดยอดพระกริ่ง เป็นพระกริ่งที่ถือได้ว่าเป็นมงคลสูงสุดสำหรับวงการพระเครื่อง ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในแผ่นดิน คือ เป็นพระกริ่งที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งทรงพระผนวชเป็นพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ทรงเททองด้วยพระองค์เอง แทนสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ซึ่งทรงพระประชวร ไม่สามารถทรงประกอบพิธีหลวงและพิธีเททองได้ นั่นคือ พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ หรือ พระกริ่ง 7 รอบ วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2499 พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ หรือ พระกริ่ง 7 รอบ องค์นี้เป็นพิมพ์แต่งเก่ามาแต่เดิม เนื้อทองเหลืองแก่ทองคำ จะเห็นประกายทองคำซึ่งผสมอยู่ทั่วทั้งองค์ การแต่งกริ่งองค์นี้แต่งได้งดงามครับ ผิวแห้งเก่าอมเขียว ทำให้ดูง่าย มีคราบน้ำตาลหรือสนิมทองเหลืองปรากฏอยู่กระจายทั่วทั้งองค์ ยิ่งเป็นจุดที่พิจารณาง่ายอีกจุดหนึ่ง นอกจากนี้ ร่องรอยจากในแม่พิมพ์ก็ยังปรากฏให้เห็น เช่น ร่องหลุมที่ข้อเท้าขวาองค์พระ หรือ จุดกลมด้านหลังองค์พระ เป็นต้น Post Views: 244
“พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ หรือ พระกริ่ง 7 รอบ หนึ่งในพระกริ่งยอดนิยมของวัดบวรนิเวศวิหาร นับเป็นพระกริ่งหนึ่งเดียว ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเสด็จเททองด้วยพระองค์เอง ขณะทรงผนวชอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร” พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ หรือที่วงการพระเรียก “พระกริ่ง 7 รอบ” สร้างเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 ในโอกาสฉลองพระชนมายุครบ 7 รอบ ของ สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) องค์พระราชอุปัชฌาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) และประการสำคัญ ในพิธีเททองหล่อพระกริ่ง ได้ทรงอาราธนาล้นเกล้า ร.9 ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และทรงประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงเป็นองค์ประธานเททองปฐมฤกษ์อันเป็นมหามงคลชัย ดังความที่ได้คัดลอกบางตอนจาก “ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร” ดังนี้ Post Views: 92
พระกริ่งของพระราชา มหามงคลแห่งแผ่นดิน (๑) พระกริ่ง ๗ รอบ หรือ พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ จัดสร้างในมหามงคลโอกาสฉลองพระชนมายุครบ ๗ รอบ ของ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เมื่อครั้งเสด็จฯ ออกทรงพระผนวช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นพระกริ่งที่ทรงด้วยคุณวิเศษเป็นมงคลอย่างสูงสุด และปรากฏขึ้นเพียงครั้งเดียวในแผ่นดิน คือ เป็นพระกริ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งทรงพระผนวช เสด็จฯ ทรงเททองด้วยพระองค์เอง แทนสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ซึ่งทรงพระประชวร ไม่สามารถทรงประกอบพิธีหลวงและพิธีเททองได้ Post Views: 84
ประวัติการสร้าง เมื่อปี พ.ศ. 2508 ทางวัดบวรฯ ได้ดำเนินการจัดงานอันเป็นมหามงคลยิ่ง 4 ประการ คือ วันที่ 24 สิงหาคม 2508 เป็นวันมหามงคลที่พึงจารึกเป็นประวัติการณ์พิเศษ ด้วยสมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ในโอกาสที่มีพระชนมายุเสมอด้วยสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร และได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการกุศลอีก 3 อย่าง ในวันมหามงคลนี้ อันควรเรียกได้ว่า “จาตุรงคมงคล” Post Views: 241
ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ ในการจัดทำ “แฟลช ไดร์ฟ สมเด็จเจ้าฟ้าไอที” โครงการ การจัดทำ “การ์ด ยูเอสบี สมเด็จเจ้าฟ้าไอที” (แฟลชไดร์ฟ ขนาด ๘ GB) ริเริ่มขึ้นจากความตั้งใจของคณะบุคคลเกิดปีมะแม (สหชาติ) จำนวน ๖๐ คน นำโดยนายสุเฑพ ศิลปะงาม และ ดร.วิทูร กรุณา ที่มีเป้าหมายต้องการจัดทำของที่ระลึกเพื่อร่วมเฉลิมฉลองและเชิดชูพระเกียรติ ในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุครบ ๕ รอบ ในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ ซึ่งรัฐบาลและพสกนิกรชาวไทยถือเป็นปีอันเป็นมงคลยิ่ง Post Views: 185
เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘ ณ ห้องเทวกรรมรังรักษ์ สโมสรทหารบก วิภาวดีรังสิต คณะบุคคลที่เกิดปีมะแม นำโดยนายสุเฑพ ศิลปงาม, ดร.วิทูร กรุณา และนายสมบัติ ฤทธิ์ทวี กรรมการผู้จัดการบริษัท อาร์.ที.เอส (ประเทศไทย) จำกัด ได้นำความขึ้นขอพระราชทานพระราชานุญาตเชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ พระฉายาลักษณ์ พร้อมตราสัญญาลักษณ์ ๒ ตรา ๒ แบบ ประดับลงบนการ์ดยูเอสบี (USB) ขนาดเท่าบัตรเอทีเอ็ม เพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชนทั่วไปไว้ใช้งาน พร้อมเป็นสิริมงคล โดยรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย บัดนี้ พระองค์ท่านฯ ทรงพระราชทานพระราชานุญาตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว (ตามหนังสือพระราชทานพระราชานุญาตที่แนบมา) Post Views: 134
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระนามเดิมว่า “พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช” ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาล (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น ( MOUNT AUBURN) รัฐเมสสาชูเขตต์ ( MASSACHUSETTS) ประเทศสหรัฐอเมริกา Post Views: 253
ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย บัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดีมาอวยพรแก่ท่านทุกๆ คน ให้มีความสุข ความเจริญ และความสำเร็จสมประสงค์ในสิ่งที่ปรารถนา ความสุขความเจริญนี้แม้เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง แต่ในวิถีชีวิตของคนเรานั้น ย่อมต้องมีทั้งสุขและทุกข์ ทั้งความสมหวังและผิดหวัง เป็นปรกติธรรมดา ทุกคนจึงต้องเตรียมตัว เตรียมใจ และเตรียมการให้พร้อม อย่าประมาท ในปีใหม่นี้ จึงขอให้ท่านทั้งหลายได้รักษาและสร้างเสริมสุขภาพของตนให้สมบูรณ์ ให้มีกำลังกายที่แข็งแรง มีกำลังใจที่เข้มแข็งหนักแน่น และมีสติรู้เท่าทันอยู่เสมอ จักได้สามารถ นำพาตนให้ผ่านพ้นสถานการณ์ต่างๆ อันไม่พึงประสงค์ จนบรรลุถึงความสุขความเจริญ และความสำเร็จได้ ดังที่ตั้งใจปรารถนา Post Views: 190
“ลูกมีหน้าที่จะต้องเรียนหนังสือให้มีความรู้ เพื่อจะได้ออกมาทำงานเพื่อประเทศชาติต่อไป” พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงสอน ศ.ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ นับแต่นั้นมา ทรงยึดถือพระราชดำรัสนี้มาเป็นแรงบันดาลพระทัย และพลังขับเคลื่อนในการทรงงานเพื่อประเทศชาติ และประชาชนตราบจนถึงทุกวันนี้ โดยทรงตัดสินพระทัยเลือกเรียนสายวิทยาศาสตร์ ตามพระราชประสงค์ของพระราชมารดา แม้จะโปรดด้านศิลปะก็ตาม ภายหลังทรงสำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ ถึง ๔ ปริญญาบัตรแล้ว Post Views: 181
พระราชประวัติ ศาสตราจารย์ พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชธิดาพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเป็นพระโสทรกนิษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ในพระราชวังดุสิต ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระองค์มีพระธิดา ๒ พระองค์ คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ Post Views: 309
“พระราชวังสนามจันทร์” โบราณสถานสวยสดงดงาม มรดกตกทอดจาก “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” มีพระราชพินัยกรรมแสดงพระราชประสงค์ยกพระราชวังสนามจันทร์ให้เป็นสถานที่ตั้ง “โรงเรียนนายร้อยทหารบก” โดยมีใจความว่า … “บรรดาที่ดินตึกรามทั้งใหญ่ น้อย ที่รวมอยู่ในเขตซึ่งเรียกว่า “พระราชวังสนามจันทร์” เป็นสมบัติส่วนตัวของข้าพเจ้าโดยแท้ ไม่ได้รับมฤดกมาจาก สมเด็จพระบรมชนกนารถ มิได้ ข้าพเจ้าได้เก็บทุนในตำแหน่งหน้าที่ พระยุพราช และทุนอื่นๆ สร้างที่สนามจันทร์ และสร้างพระที่นั่งซึ่งเรียกว่า พระพิมานประฐม นั้นขึ้นก่อน ต่อมาเมื่อข้าพเจ้าได้ราชสมบัติแล้ว ข้าพเจ้าก็ได้เอาเงินพระคลังข้างที่ทำนุบำรุงที่นี้ตลอดมาเป็นส่วนตัวทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นจะเอาที่พระราชวังสนามจันทร์ไปรวมเข้ากับกองมรดกใหญ่นั้นหาควรไม่ ข้าพเจ้ามีสิทธิ์ตามกฎหมายเหมือนสามัญชน ที่จะยกที่นี้ให้แก่ผู้ใดก็ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อสิ้นตัวข้าพเจ้าไปแล้ว ข้าพเจ้าขอยกที่นี้ให้แก่รัฐบาลสยามเป็นสิทธิขาด เพื่อทำเป็นโรงเรียนนายร้อยทหารบก” — พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว – Post Views: 384
ไม่ว่าพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ จะปรากฏขึ้นคราวใด ภาพความทรงจำและภาพแห่งความประทับใจของใครหลายๆ คน ก็จะฉายซ้ำขึ้นอีกครั้ง ราวกับว่าเหตุการณ์ เรื่องราว และที่มาของรูปภาพนั้น เพิ่งเกิดขึ้นเพียงเมื่อวาน สามารถเล่าย้อนได้ซ้ำๆ อย่างไม่รู้เบื่อ และไม่มีทีท่าว่าจะลืมเลือน a day BULLETIN จึงอาสาพาคุณไปพบปะพูดคุยกับนักสะสมภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เพื่อค้นความทรงจำร่วมกันอีกครั้ง Post Views: 601
พระชุดเทพมหามงคล สก. โครงการจัดสร้างวัตถุมงคลเฉลิมพระเกียรติ ในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา พ.ศ. 2547 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (สมเด็จพระราชินี ในรัชกาลที่ 9) พระชุดเทพมงคล เนื้อผงพุทธคุณ 1 ชุด มี 5 องค์ 1. พระอิศวะ (พระอิศวร) บูชาเพื่อความก้าวหน้าสมหวัง 2. พระนาราย์ (พระวิษณุ) บูชาเพื่อขอความคุ้มครองและช่วยขจัดภัยพิบัติ 3. พระพรหม บูชาเพื่อขอความสำเร็จ สมหวัง สมปราiถนา 4. พระพิฆเนศ บูชาเพื่อขอความสำเร็จ พ้นจากความขัดข้องทั้งปวง 5. พระฤาษี (พ่อแก่) บูชาเพื่อแสดงถึง ความกตัญญูรู้คุณครูอาจารย์ และบรมครู Post Views: 399
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา : www.smilepra.com | เผยแพร่เมื่อ 1 มิถุนายน 2557 เครดิตภาพ : www.naralai.com, คุณสาโรช ฝากนกทิพย์ หลวงพ่อทวด หลังพระนามาภิไธย สก. เหรียญหลวงพ่อทวด ผลิตจากโรงกษาปณ์อันดับหนึ่งของโลก โมเน่ร์ เดอ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การสร้าง พระหลวงพ่อทวด สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชานุญาต ให้อัญเชิญอักษรพระนามาภิไธย สก. ประดิษฐานที่พระหลวงพ่อทวด Post Views: 385
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา : คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ 22 สิงหาคม 2560 ผู้เขียน : ราม วัชรประดิษฐ์ นับเป็นครั้งสำคัญในประวัติการสร้างพระหลวงปู่ทวด ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชานุญาตให้เชิญพระนามาภิไธย “สก” ประดิษฐาน ณ วัตถุมงคลหลวงพ่อทวด และนับเป็นครั้งแรกที่ “เหรียญพระคณาจารย์” ผลิตจากโรงกษาปณ์อันดับหนึ่งของโลก โมเน่ เดอร์ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส Post Views: 563
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์ | เผยแพร่เมื่อ 10 พ.ค. 2560 ตะลึง! ลังไม้เก่า ของอดีตหลวงปู่วัดดังกลางเมืองเชียงใหม่ ฝนตกใส่ลังแตก พระนานาชนิดทะลัก มีหลวงปู่แหวนรุ่น “เราช่วย” เตรียมนำออกให้พุทธศาสนิกชนเช่าบูชา รายได้บูรณปฏิสังขรณ์วัด และการศึกษาพระเณร Post Views: 202
TOP