FORGOT YOUR DETAILS?

ครั้นเมื่อถึงเวลาเสด็จพระราชดำเนิน ในหลวง (ร.๙) ทรงขับรถด้วยพระองค์เองจากพระตำหนักภูพิงค์ฯ โดยรถยนต์สีฟ้า ยี่ห้อและทะเบียนผมจำไม่ได้ เมื่อมาถึง พี่ช่างภาพคนดังกล่าวกลับไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปถ่ายรูปจากราชเลขาผู้ติดตามพระองค์ ทั้งนี้เนื่องจากการที่จะเข้าเฝ้าฯ เพื่อถ่ายรูปในหลวงนั้น ตามกฎแล้วกล้องทุกตัวจะต้องถูกตรวจสอบว่าไม่ใช่อาวุธหรือสิ่งอื่นใดที่อาจจะเป็นอันตรายแก่ในหลวงและสมเด็จพระราชินีได้ มีแต่ช่างกล้องของสำนักพระราชวังเท่านั้นที่สามารถถ่ายรูปทั้งสองพระองค์ได้ เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้พี่ช่างภาพรู้สึกเสียใจเป็นอันมาก จึงเดินออกมาภายนอก และได้ยกมืออธิษฐานขอหลวงพ่ออยู่ด้านนอกกุฏิ สักครู่ก็มีข้าราชบริพารมาเรียกพี่คนดังกล่าว … บอกว่า “หลวงพ่ออนุญาตให้เข้าไปถ่ายรูปได้ แต่ห้ามอัดเสียง” ยังความปิติดีใจและงุนงงแก่พี่ช่างภาพเป็นอันมาก Post Views: 371
หนึ่งเดียวเท่านั้น … ที่มีผงพระทนต์ของในหลวง รัชกาลที่ ๙ และผงจิตรลดา เป็นมวลสารหลัก พระองค์ที่นำมาลงแบ่งปันกันชมนี้ เป็นพระพิมพ์ใหญ่ เนื้อพิเศษ (เนื้อกรรมการ) สีน้ำตาล แก่ส่วนผสมของกระเบื้องหลังคาโบสถ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และผงจิตรลดา ด้านหน้าโรยผงตะไบพระกริ่งทองคำ เห็นเป็นเกล็ดทองคำกระจายอยู่ ส่วนด้านหลังมีพลอยสีเขียว สีขาว สีน้ำเงินเข้ม และผงตะไบพระกริ่งทองคำฝังกระจายอยู่ในองค์พระ สร้างเฉพาะกรรมการเป็นพิเศษ ไม่เกิน 20 องค์ เท่านั้น สภาพสวยมาก หายากมากๆ พระรุ่นนี้ ชั่วโมงนี้คนเริ่มหายากขึ้นเรื่อยๆ คนเริ่มเก็บสะสมบูชากันเยอะขึ้นมากแล้วครับ Post Views: 245
สมเด็จจิตรลดาขาว ในรัชกาลที่ ๙ ในวงการ คือ สมเด็จศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร ๒๕๑๖ จัดสร้างเมื่อครั้งโอกาส ๕ รอบ สสเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (สมเด็จพระญาณสังสร สมณศักดิ์ในขณะนั้น) พระแท้หมุนเวียนน้อยแล้ว พระที่สายตรงวัดบวรนิเวศวิหารต้องมี เนื้อหาเข้มข้น ด้วยผงจิตรลดา ที่ทรงประทานถวายไว้ พระจึงมีพระนามอีกว่า “จิตรลดาขาว” สมเด็จพระศาสดา ปี ๑๖ ในสมเด็จพระญาณสังวร พุทธคุณล้นเหลือ ครอบจักรวาล สุดยอดในพระหลักอีกองค์หนึ่งของสายวัดบวร ที่ต้องมีครับ สืบด้วยมาจาก “สมเด็จจิตรลดา” พระพิมพ์ฝีพระหัตถ์ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ด้วยที่ทรงพระราชทานผงจิตรลดาส่วนพระองค์มาเป็นส่วนผสมมวลสารหลักในการจัดสร้าง ในสมัยก่อนนั้น จึงได้เรียกว่า “พระสมเด็จจิตรลดาขาว” Post Views: 188
วันนี้มีโอกาสได้ชมสุดยอดพระกริ่ง เป็นพระกริ่งที่ถือได้ว่าเป็นมงคลสูงสุดสำหรับวงการพระเครื่อง ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในแผ่นดิน คือ เป็นพระกริ่งที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งทรงพระผนวชเป็นพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ทรงเททองด้วยพระองค์เอง แทนสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ซึ่งทรงพระประชวร ไม่สามารถทรงประกอบพิธีหลวงและพิธีเททองได้ นั่นคือ พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ หรือ พระกริ่ง 7 รอบ วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2499 พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ หรือ พระกริ่ง 7 รอบ องค์นี้เป็นพิมพ์แต่งเก่ามาแต่เดิม เนื้อทองเหลืองแก่ทองคำ จะเห็นประกายทองคำซึ่งผสมอยู่ทั่วทั้งองค์ การแต่งกริ่งองค์นี้แต่งได้งดงามครับ ผิวแห้งเก่าอมเขียว ทำให้ดูง่าย มีคราบน้ำตาลหรือสนิมทองเหลืองปรากฏอยู่กระจายทั่วทั้งองค์ ยิ่งเป็นจุดที่พิจารณาง่ายอีกจุดหนึ่ง นอกจากนี้ ร่องรอยจากในแม่พิมพ์ก็ยังปรากฏให้เห็น เช่น ร่องหลุมที่ข้อเท้าขวาองค์พระ หรือ จุดกลมด้านหลังองค์พระ เป็นต้น Post Views: 265
“พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ หรือ พระกริ่ง 7 รอบ หนึ่งในพระกริ่งยอดนิยมของวัดบวรนิเวศวิหาร นับเป็นพระกริ่งหนึ่งเดียว ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเสด็จเททองด้วยพระองค์เอง ขณะทรงผนวชอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร” พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ หรือที่วงการพระเรียก “พระกริ่ง 7 รอบ” สร้างเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 ในโอกาสฉลองพระชนมายุครบ 7 รอบ ของ สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) องค์พระราชอุปัชฌาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) และประการสำคัญ ในพิธีเททองหล่อพระกริ่ง ได้ทรงอาราธนาล้นเกล้า ร.9 ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และทรงประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงเป็นองค์ประธานเททองปฐมฤกษ์อันเป็นมหามงคลชัย ดังความที่ได้คัดลอกบางตอนจาก “ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร” ดังนี้ Post Views: 102
พระกริ่งของพระราชา มหามงคลแห่งแผ่นดิน (๑) พระกริ่ง ๗ รอบ หรือ พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ จัดสร้างในมหามงคลโอกาสฉลองพระชนมายุครบ ๗ รอบ ของ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เมื่อครั้งเสด็จฯ ออกทรงพระผนวช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นพระกริ่งที่ทรงด้วยคุณวิเศษเป็นมงคลอย่างสูงสุด และปรากฏขึ้นเพียงครั้งเดียวในแผ่นดิน คือ เป็นพระกริ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งทรงพระผนวช เสด็จฯ ทรงเททองด้วยพระองค์เอง แทนสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ซึ่งทรงพระประชวร ไม่สามารถทรงประกอบพิธีหลวงและพิธีเททองได้ Post Views: 89
ประวัติการสร้าง เมื่อปี พ.ศ. 2508 ทางวัดบวรฯ ได้ดำเนินการจัดงานอันเป็นมหามงคลยิ่ง 4 ประการ คือ วันที่ 24 สิงหาคม 2508 เป็นวันมหามงคลที่พึงจารึกเป็นประวัติการณ์พิเศษ ด้วยสมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ในโอกาสที่มีพระชนมายุเสมอด้วยสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร และได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการกุศลอีก 3 อย่าง ในวันมหามงคลนี้ อันควรเรียกได้ว่า “จาตุรงคมงคล” Post Views: 249
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระนามเดิมว่า “พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช” ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาล (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น ( MOUNT AUBURN) รัฐเมสสาชูเขตต์ ( MASSACHUSETTS) ประเทศสหรัฐอเมริกา Post Views: 266
ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย บัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดีมาอวยพรแก่ท่านทุกๆ คน ให้มีความสุข ความเจริญ และความสำเร็จสมประสงค์ในสิ่งที่ปรารถนา ความสุขความเจริญนี้แม้เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง แต่ในวิถีชีวิตของคนเรานั้น ย่อมต้องมีทั้งสุขและทุกข์ ทั้งความสมหวังและผิดหวัง เป็นปรกติธรรมดา ทุกคนจึงต้องเตรียมตัว เตรียมใจ และเตรียมการให้พร้อม อย่าประมาท ในปีใหม่นี้ จึงขอให้ท่านทั้งหลายได้รักษาและสร้างเสริมสุขภาพของตนให้สมบูรณ์ ให้มีกำลังกายที่แข็งแรง มีกำลังใจที่เข้มแข็งหนักแน่น และมีสติรู้เท่าทันอยู่เสมอ จักได้สามารถ นำพาตนให้ผ่านพ้นสถานการณ์ต่างๆ อันไม่พึงประสงค์ จนบรรลุถึงความสุขความเจริญ และความสำเร็จได้ ดังที่ตั้งใจปรารถนา Post Views: 197
ไม่ว่าพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ จะปรากฏขึ้นคราวใด ภาพความทรงจำและภาพแห่งความประทับใจของใครหลายๆ คน ก็จะฉายซ้ำขึ้นอีกครั้ง ราวกับว่าเหตุการณ์ เรื่องราว และที่มาของรูปภาพนั้น เพิ่งเกิดขึ้นเพียงเมื่อวาน สามารถเล่าย้อนได้ซ้ำๆ อย่างไม่รู้เบื่อ และไม่มีทีท่าว่าจะลืมเลือน a day BULLETIN จึงอาสาพาคุณไปพบปะพูดคุยกับนักสะสมภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เพื่อค้นความทรงจำร่วมกันอีกครั้ง Post Views: 606
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์ | เผยแพร่เมื่อ 10 พ.ค. 2560 ตะลึง! ลังไม้เก่า ของอดีตหลวงปู่วัดดังกลางเมืองเชียงใหม่ ฝนตกใส่ลังแตก พระนานาชนิดทะลัก มีหลวงปู่แหวนรุ่น “เราช่วย” เตรียมนำออกให้พุทธศาสนิกชนเช่าบูชา รายได้บูรณปฏิสังขรณ์วัด และการศึกษาพระเณร Post Views: 222
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ผู้เขียน: พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ พระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” บนพระเครื่อง (2) กล่าวถึง พระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” อันเป็นพระปรมาภิไธยย่อใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณูปการยิ่งใหญ่ เป็นมหาราชของแผ่นดินไทย ผู้ทรงพระอัจฉริยภาพในทุกด้าน ได้รับการยกย่องสรรเสริญและเทิดพระเกียรติจากทั่วโลก เมื่ออัญเชิญมาประดิษฐานบนพระบูชา พระเครื่อง และเหรียญต่างๆ ซึ่งทรงคุณอเนกอนันต์อยู่แล้ว ย่อมสร้างความสิริมงคลและมหามงคลสูงส่งอย่างหาที่สุดมิได้ Post Views: 397
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ผู้เขียน: พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ พระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” บนพระเครื่อง (1) วัตถุมงคล ไม่ว่าจะเป็น พระบูชา พระเครื่อง หรือ เหรียญ ถ้ามีการประดิษฐานอักษร “พระปรมาภิไธย” ของพระมหากษัตริย์รัชกาลใดๆ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ก็ล้วนทรงคุณค่าเป็นที่นิยมอย่างสูงในแวดวงนักนิยมสะสมและพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย … พระปรมาภิไธย คืออะไร? และพระปรมาภิไธยย่อ คืออะไร? Post Views: 412
โครงการจัดสร้างพระบรมรูปและเหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวาระ ๔๓ ปี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๒ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นสถาบันการศึกษาขั้นสูง ที่ได้รับการสถาปนาขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้น ในการก่อกำเนิดและการดำเนินงานของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ตลอดมา ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๐๙ จนถึงปัจจุบัน Post Views: 691
ช้างเผือกเชือกที่ ๙ ในสมัยรัชกาลที่ ๙ ลูกช้างพัง ‘จิตรา’ เป็นช้างต้นคู่พระบารมีแล้ว ไม่นานต่อมา กระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยประชาชนชาวนราธิวาส จึงพร้อมใจกันน้อมเกล้าฯ ถวายช้างสำคัญเชือกนี้ เพื่อเป็นพระราชยานพาหนะคู่พระบารมีตามโบราณราชประเพณีสืบไป Post Views: 1,207
จัดสร้างในปี ๒๕๓๐ เพื่อเฉลิมฉลองในงานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ และฉลองครบรอบ ๒๑ ปี ของสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เหรียญนี้เป็นเหรียญกะไหล่ทองลงยาสีแดง เหรียญนี้เป็นเหรียญที่สภาพสมบูรณ์ สวยมากๆ กะไหล่เก่า ลงยาเดิมๆ เป็นเหรียญที่นักสะสมเหรียญ รัชกาลที่ ๙ นิยมสะสมกันมากรุ่นหนึ่ง ปัจจุบันนี้หาได้ค่อนข้างยากแล้ว Post Views: 409
เหรียญราชอิสริยาภรณ์ คือ เหรียญต่าง ๆ ที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานแก่บุคคลต่างๆ ได้แก่ ข้าราชการบริพาร ข้าราชการทหารที่ออกศึกสงคราม และสำหรับพระราชทานเป็นที่ระลึกในโอกาสสำคัญต่างๆ และที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามที่ทางราชการกำหนด Post Views: 637
“ทุกอย่างอยู่ที่ศรัทธา ถึงจะมีหรือไม่มีพระทนต์ ก็คงไม่แตกต่างกัน แต่ถ้าศรัทธาก็ยินดีจะให้ ขอเพียงให้อาจารย์และทันตแพทย์ทุกคนเป็นคนดี และช่วยสั่งสอนลูกศิษย์และคนอื่นให้เป็นคนดีต่อไป” Post Views: 500
เหรียญครอบครูช่างหลวง เนื้ออัลปาก้า ปี 2550 สุดยอดแห่งความหายาก เหรียญนี้หลายๆ คนเรียกว่า “เหรียญครอบครูช่างหลวง” หรือ “เหรียญในหลวงทรงดนตรี” สร้างเมื่อปี 2550 ในจำนวนที่น้อยมากๆ เพียงไม่กี่ร้อยเหรียญ สร้างแจกเป็นที่ระลึกในพิธีครอบครูช่างหลวง ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของช่างหลวงในสาขาวิชาต่างๆ กันมากมาย ที่ทำงานสืบสานศิลปะเชิงช่างอยู่ในโครงการในพระราชดำริทั่วประเทศ เช่น โครงการหลวง วิทยาลัยในวัง กองช่างสิบหมู่ ศูนย์ศิลปาชีพ โรงเรียนพระดาบส ฯลฯ Post Views: 684
เข็มกลัด ภปร. เข็มกลัด สก. ที่ระลึกเสด็จทรงตัดลูกนิมิตร วัดหนองน้ำเขียว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี 2524 หลวงพ่อจ้อย วัดวังน้ำเขียว ปลุกเสก สุดยอดของความหายาก โดยเฉพาะเข็ม สก. หายากกว่าเข็ม ภปร. หลายเท่า ตั้งแต่เก็บสะสมมา เพิ่งได้คู่นี้เป็นคู่ที่ 2 Post Views: 565
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วัตถุมงคลที่เสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีต่างๆ เป็นปฐมฤกษ์ ๑๐. เหรียญรูปเหมือนพ่อท่านคลิ้ง จันทสิริ วัดถลุงทอง พ.ศ. ๒๕๒๑ จัดสร้างถวายโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนพ่อท่านคลิ้ง ครึ่งองค์เห็นหน้าเฉียง ด้านหลังมีตราสัญลักษณ์ ภ.ป.ร. ประดิษฐานเป็นสิริมงคลอันสูงสุด เพื่อหาทุนสร้างถนนเป็นทางเข้าวัดถลุงทอง ซึ่งก่อนที่จะสร้างเหรียญ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมนมัสการพ่อท่านคลิ้ง และพ่อท่านคลิ้งได้ทูลเกล้าฯ ถวายน้ำพระพุทธมนต์ที่พระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ Post Views: 851
บทความนี้เป็นบทความที่คัดลอกมา ที่มา: ข่าวสดพระเครื่อง | เผยแพร่เมื่อ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วัตถุมงคลที่เสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีต่างๆ เป็นปฐมฤกษ์ นอกจากวัตถุมงคลที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีต่างๆ เป็นปฐมฤกษ์ แล้วก็ยังมีวัตถุมงคลที่ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดสร้างและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์และผู้แทนพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี หรือร่วมประกอบพิธีแทนพระองค์ Post Views: 873
TOP